ภูมิภาค
"ดร.เสกสรร นิยมเพ็ง" นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ พัฒนาเมือง-สร้างคุณภาพชีวิต
วันอาทิตย์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564, 10.07 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

หากจะเอ่ยถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ทุกคนมักจะเกิดอาการหนักใจเพราะว่าสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเกิดความเสื่อมโทรม และ เกิดภาวะมลพิษอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง หรือ แม้แต่มลพิษทางดิน เมื่อเกิดสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยทั้งร่างการและจิตใจของมนุษย์ เพราะเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และ นับวันปัญหามลพิษต่าง ๆ มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
ดร.เสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ กล่าวว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของเพชรบูรณ์ “เมืองอยู่สบาย” เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงมากมายของโครงการ “พัฒนาเมือง”ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ที่ไม่ใช่แค่การพัฒนาแต่ คือ การริเริ่ม เติมเต็ม ผสมผสาน ปรับปรุง และ ฟื้นฟู ทุกองค์ประกอบภายในเขตเทศบาลให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและก้าวทันกับวิถีของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไขและสร้างภูมิคุ้มกันคือด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่มากมาย ที่เกิดจากการเพิ่มของประชากร และ ประชากรแฝง เมื่อผู้คนมากขึ้น ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างรวดเร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.jpg)
ปัจจุบันเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ๆ เพื่อรองรับและการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยได้ตระหนักถึงปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ สุขอนามัยของประชาชนจึงได้ผลักดันโครงการการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย แบบกลุ่มอาคาร ให้เกิดขึ้นจนประสบผลสำเร็จในการบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับเมือง สมกับเป็น “เพชรบูรณ์ เมืองอยู่สบาย” บนเนื้อที่กว่า 108 ไร่ ของบ่อขยะเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งรองรับขยะในเขตเทศบาล และ ขยะจากพื้นที่ต่าง ๆในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นระบบการกำจัดขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ โดยใช้ระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ภายในประกอบด้วยบ่อขยะ บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อกำจัดสิ่งปฏิกูล บ่อขยะของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ปัจจุบันอยู่ในระยะฝังกลบที่ 3 (เนื่องจากบ่อที่ 1และ2 เต็มแล้ว) คาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณขยะได้ ภายใต้นโยบาย ดร.เสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ที่ต้องการลดปริมาณขยะที่ฝั่งกลบจึงได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องคัดแยกขยะ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญมากต่อการลดปริมาณขยะ คือการคัดแยกขยะใหม่จะสามารถคัดแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะที่จะถูกฝังกลบได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบได้อย่างมากและเป็นการขยายเวลาในการใช้งานบ่อขยะให้ยาวนานมากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ยังได้มีการแปลงขยะให้เป็นปุ๋ย ด้วยเทคโนโลยี MBI อีกหนึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเพิ่มมูลค่าให้ขยะมูลฝอย โดยการนำขยะมูลฝอยไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีการบำบัดขยะ ด้วยวิธีทางกลและชีวิภาพ เป็นการแก้ไขขยะล้นเมืองในระยะยาว จึงได้ดำเนินการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีการบำบัดขยะ เพื่อบริหารจัดการกำจัดขยะอย่างถูกสุขลักษณะ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งการนำขยะมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยลดปริมาณขยะได้เป็นจำนวนมาก
.jpg)
ทั้งนี้ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ยังได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดแผนรณรงค์”แยกก่อนทิ้ง” เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ ปลายทาง ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มอบนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยรณรงค์ให้ครัวเรือนลดปริมาณขยะตามหลักการ 3 ช ใช้น้อย/ใช้ซ้ำ/นำกลับมาใช้ใหม่ สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการลดขยะต้นทางของประชาชน
“ปัจจุบันสวนสาธารณะหนองนารี เป็นแหล่งน้ำสำรองใช้ผลิตน้ำประปา เพื่ออุปโภคบริโภคของเมืองเพชรบูรณ์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญใจกลางเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดสภาพเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถนำน้ำดิบมาผลิตน้ำประปาได้ โดยมีปัญหาวัชพืชหมักหมมเป็นเวลานานเริ่มตื้นเขินและมีการระบาดของวัชพืช จอกแหนและผักตบชวาเต็มพื้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำสวนสาธารณะหนองนารีเป็นอย่างมาก เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง ฟื้นฟู คุณภาพน้ำ และพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะหนองนารีเป็นสถานที่ท่องเที่ยว จึงได้ดำเนินการโครงการปรับปรุงสวนสาธารณะหนองนารีและเพื่อการผลิตน้ำประปาในกรณีจำเป็น โดยได้กำหนดแนวทางร่วมกันเพื่อดำเนินการขุดลอกและพัฒนาต่อไป “
.jpg)
ดร.เสกสรร กล่าวอีกว่า ทีมคณะผู้บริหาร ฯ และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคูคลอง เพื่อการบริหารจัดการน้ำในตัวเมืองเพชรบูรณ์ต่อเนื่อง ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเดือนร้อนให้พี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม จึงได้มีนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชิงบูรณาการ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน อย่างเช่น โครงการก่อสร้างพนังกั้นน้ำท่วม บริเวณวัดพระแก้ว และ วัดไตรภูมิ จุดยุทธศาสตร์สำคัญที่จะรับมือกับปัญหาน้ำท่วมเป็นด่านแรกก่อนเข้าเขตพื้นที่เศรษฐกิจ โดยจุดนี้เกิดจากการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนที่มีบ้านเรือนริมแม่น้ำป่าสัก บริเวณหน้าวัดไตรภูมิ ที่ต้องเสียสละในการให้ความยินยอมในการรื้อถอนบ้านซึ่งกีดขวางพนังกั้นน้ำ เพื่อดำเนินการก่อสร้างพนักกั้นน้ำให้สำเร็จ และ กระผมในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ได้มอบเงินส่วนตัวสนับสนุนในการสร้างบ้านใหม่ให้กับประชาชนทดแทนบ้านหลังเดิมที่ต้องรื้อถอนออกไป โดยหลังจากการสร้างพนังกั้นน้ำบริเวณนี้จึงสำเร็จปัญหาน้ำทะลักเข้าเมืองก็หมดไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการ ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการป้องกันน้ำท่วมเข้าสู่ใจกลางเมืองทิศตะวันตก ตั้งแต่วัดโพธิ์เย็นถึงวัดไตรภูมิ ก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมบริเวณศาลเจ้าแม่ บริเวณซอยเพชรเจริญ 11 ถึง สะพานพัฒนา 19 บริเวณสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดเพชรบูรณ์ และตั้งแต่โรงน้ำแข็งไพศาลถึงป้อมตำรวจ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาดอัตราสูบ 0.25 ลบ.ม./วินาที จำนวน 2 เครื่อง เพื่อดำเนินการปล่อยน้ำเข้าเมืองและสูบน้ำออกจากเมืองได้ด้วยเช่นเดียวกัน ระยะที่สอง การป้องกันน้ำท่วมเข้าสู่ใจกลางเมืองเพิ่มเติมจากวัดไตรภูมิถึงวัดพระแก้ว และการจัดทำรางระบายน้ำขนาดใหญ่ และ บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยให้ไหลออกจากตัวเมือง โครงการนี้มีพื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ การก่อสร้างพนังกั้นน้ำบริเวณริมแม้น้ำป่าสักบริเวณวัดพระแก้ว การก่อสร้างพนังกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำป่าสักป่าสักบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ และการก่อสร้างรางส่งน้ำบริเวณคลองตลุก และ ในช่วงปลายปี 2561 เป็นต้นไป ได้ดำเนินการก่อสร้างพนั่งป้องกันน้ำท่วมเพิ่มเติมจากวัดโบชน์ชนะมารถึงวัดโพธิ์เย็น และ ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการดำเนินการจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมทางทิศตะวันออกโดยการก่อสร้างพนังป้องกันน้ำท่วมช่วงหน้าสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปจนถึงวัดประตูดาวอีกด้วย
.jpg)
นอกจาก ปัญหาน้ำท่วมจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งแม่น้ำป่าสัก ที่ได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว การพัฒนาคูคลองในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งในเขตในเขตตัวเมืองเพชรบูรณ์ เช่น หลังโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านในเมือง ถึงสะพานครัวเกษตร และ บริเวณคลองศาลาหลังเรือนจำถึงสะพานหลังวัดภูเขาดิน ต่อเนื่องจากสะพานหลังวัดภูเขาดิน ถึง แยกเทศบาล และในอนาคตจากตลาดสดเทศบาล 2 ผ่านวัดช้างเผือก จนสุดเขตเทศบาลและจากบริเวณจากหอวัฒนธรรมนครบาลถึงโรงพยาบาลเมืองเพชรและโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ต่อไป ซึ่งจะเป็นเมืองที่พัฒนาคูคลอง “คลองสวยน้ำใส” อย่างแท้จริง
จากการวางแผนการบริหารจัดการน้ำของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สามารถดึงน้ำจากลำน้ำป่าสักที่มีปริมาณมากในช่วงฤดูฝนเข้าสู่ตัวเมืองเพชรบูรณ์ ไล่น้ำเสียออกจากตัวเมืองผ่านคูคลองคอนกรีตที่ได้มาตรฐาน และ เก็บน้ำดีจากน้ำป่าสักเป็นแก้มลิงของเมืองเพชรบูรณ์ได้เป็นอย่างดี ส่วนกรณีที่ฝนตกหนักในตัวเมืองคูคลองมีน้ำสูงขึ้น ยังสามารถดึงน้ำจากคูคลองตัวเมืองไปยังลำน้ำป่าสักได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ และ การเชื่อมโยงระบบการส่งน้ำเข้าออกเมืองอย่างเป็นระบบได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- หนุ่มก่อสร้างน้อยใจแฟนทิ้ง ดื่มเหล้าย้อมใจก่อนใช้สายไฟผูกคอดับ 3 พ.ค. 2568
- หงส์สุพรรณจัดใหญ่! แห่เรือฉลองแชมป์แบบไทย ยิ่งใหญ่ 4 พค.นี้ 3 พ.ค. 2568
- ปธ.หอการค้าสมุทรสงครามคนใหม่ ชู 8 นโยบายสำคัญ พร้อมกำหนดวันจัดงานเทศกลากินปลาทูฯ 3 พ.ค. 2568
- ผู้ว่าฯตราดเปิดโครงการ Trat International Sailing & Water Sport Festival ดันศูนย์กลางเมืองเรือใบ 3 พ.ค. 2568
- พ่อเมืองประจวบฯ นำเดินแบบผ้าไทยตระการตา ในงาน “มหัศจรรย์เมืองสามอ่าว” 3 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
เตือนภัย! อ้างเป็นสื่อดังตระเวนขอบริจาคหมื่นแลกเหรียญที่ระลึก 21:14 น.
- “พิชัย” ลุยร้อยเอ็ด ติดตามโครงการพักหนี้ระยะ 2 หนุนเกษตรกรฟื้นฟูอาชีพ 21:04 น.
- บึ้มสนั่น! ถังเคมี 200 ลิตรระเบิด เจ้าของโรงสีอาการโคม่า 20:57 น.
- รองผู้ว่าประจวบฯ ร่วมพิธีเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก เฉลิมพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ 20:20 น.
- สุดคุ้ม! ร้านนักเรียนลานสักใจป้ำ ปักชื่อ-ตราโรงเรียนฟรีไม่คิดเงินเพิ่ม 20:08 น.