วันเสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 10:09 น.

ภูมิภาค

โคราชพร้อมเปิดงานมหกรรมเปิดโลกรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว

วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 13.59 น.

 

 

นครราชสีมา เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2564) ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเฉลิมพระเกียรติ บ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา หรือพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ จังหวัดนครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี, ผศ.ดร.อดิศร นาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช ดำเนินการจัดความพร้อมการจัดงานมหกรรมเปิดโลกรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว ครั้งที่ 7โคราช จีโอพาร์ค เฟสติวัล (Khorat Geopark Festivel )โดยนายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดอย่างเป็นทางการ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 26 ก.พ. 2564 กับนิทรรศการส่งสริมการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยามหกรรมปิดโลกรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว ครั้งที่ 7โคราช จีโอพาร์ค เฟสติวัล (Khorat Geopark Festivel) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ อปท. ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนพี่น้องประชาชนทั่วไปกลุ่มเป้าหมายร่วมงานไม่น้อยกว่า 1,000 คน งานมีระหว่างวันที่ 26-28 ก.พ. 2564

 

 

นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รงอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา มีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาที่สำคัญ และได้รับการขนานนามว่าเป็น ดินแดนแห่งเทือกเขาเควสต้าและฟอสซิล เนื่องมาจากมีความหลากหลายทางชีวภาพของฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พบช้างดึกดำบรรพ์มากที่สุดในโลกถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลของโลก รวมทั้งยังพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 4 สกุลพบแหล่งฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน และยังมีภูมิประเทศเขาเควสตาหินทรายคู่ขนาน และมีความยาวถึง 1,640 กิโลเมตรผ่านประเทศไทย สปป.ลาว และกัมพูชา อุทยานธรณีโคราช เป็นอุทยานธรณีระดับประเทศแห่งที่ 2 มีความโดดเด่นหลากหลาย ทั้งลักษณะภูมิประเทศเควสต้าหรือเขารูปอีโต้ที่มีการยกตัวของที่ราบสูงโคราช ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงาม นอกจากนี้แหล่งซากดึกดำบรรพ์ได้รับการรับรองโดยการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ โดยฉพาะอย่างยิ่งชากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ ซึ่งมีความหลากหลาย โดยพบมากที่สุดถึง 10 สกุล ได้แก่ โปรไดโนธีเรียม, ไดโนธีเรียม, กอมโฟธีเรียม, เตตระโลโฟคอน, ไซโนมาสโตดอน, โปรตานันดัส, สเตโกโลโฟดอน, สเตโกดอน, ไซโกโลโฟดอน และเอลีฟาส รวมทั้งการค้นพบฟอสซิลสัตว์สกุลชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด อาทิ จระเข้, แรดไร้นอ, ลิงไม่มีหาง, เต่า และ ไดโนเสาร์ ซึ่งแหล่งไดโนเสาร์ มีการพบฟอสซิลมากกว่า 1,000 ชิ้น ฟันมากกว่า 300 ชิ้น พบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 4 สกุลมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ราชสีมาซอรัส, สุรนารีเอ, สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami), สิรินธรน่า โคราชเอนซิส (Khoratous jintasakuli)" และสยามแรปเตอร์ สุจน์ติ (Siamraptor suwati)

 

 

ทั้งนี้สำหรับงานมหกรรมเปิดโลกธรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยวครั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีพร้อมดำเนินกิจกรรมและนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาในพื้นที่ศักยภาพอุทยานธรณี โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย กิจกรรมท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์ค ผ่านบูธนิทรรศการ "ท่องเที่ยวอุทยานธรณีโคราช” และ "ท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติ ด๊ะดาดในอิสาน" กิจกรรมประกวด "แฟนซีจีโอพาร์ครักษ์โลก" เน้นความสร้างสรรค์และความสวยงาม พร้อมรับรางวัล ชมห้องปฏิบัติกรด้านซากดึกดำบรรพ์ และสวนไม้กลายเป็นหิน "ถนนเดินกะหมู่ ดูตลาตอุทยานธรณี" มีการจัดจำลองวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นอุทยานธรณีโคราช การจำหน่ายอาหารพื้นถิ่น และสินค้าผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาอุทยานธรณีโคราชที่นำเอาความโดดเด่นทางธรณีวิทยา มาดัดแปลงให้เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์อุทยานธรณีโคราช กิจกรรมประกวดวาดภาพภายใต้ธีมงาน "ช้างสี่งาชูตระหง่าน ไดโนเสาร์อลังการสู่อุทยานธรณีโลก" การแสดงศิลปวัฒนธรมท้องถิ่นเพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับผู้เข้าร่วมงาน

 

 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค