วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:17 น.

ภูมิภาค

โคราชดันแผนนายกฯให้ ก.มหาดไทยกับ ก.ทรัพยากรธรรมชาติฯ จัดทำแผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะตามแนวทางประชารัฐ

วันอังคาร ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564, 20.16 น.

นครราชสีมา วันนี้( 21 กันยายน 2564 ) ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริการส่วนจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานประชุมพร้อมทั้งเปิดโครงการ “จัดการของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดนครราชสีมา” ตามนโยบาย “ จังหวัดสะอาด โคราชไร้ขยะ “ ประจำปีงบประมาณ 2546 ที่สำนักกองช่าง อบจ.นครราชสีมา และจัดกิจกรรม 3 จุด ประกอบด้วย ลานหน้าศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมเทศบาลเมืองเมืองปัก อ.ปักธงชัย , ลานหน้าศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมเทศบาลเมืองสีคิ้ว , ลานหน้าศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลสูงเนิน โดยร่วมกับรองนายก อบจ.นครราชสีมา ส.อบจ. 14 อำเภอ จาก 32 อำเภอ อาทิเช่น อำเภอเมือง , อ.สูงเนิน , อ.ปักธงชัย , อ.สีคิ้ว , อ.วังน้ำเขียว , อ.ดานขุนทด , อ.เทพารักษ์ , อ.ปากช่องฯ โดยมีนายวุฒิชัย วงศ์ปัญญา ปลัด อบจ.นครราชสีมา , นายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ ประธานสภา อบจ.นครราชสีมา และนายธีระชัย เทพนอก ผอ.กองช่าง อบจ.นครราชสีมา หัวหน้าส่วน อบจ.นครราชสีมา ท้องถิ่น อบต. เจ้าหน้าที่เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล พนักงานเก็บกวาดขยะ เจ้าหน้าที่ลำเลียงขนส่งขยะมูลฝอยร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน พร้อมปล่อยขบวนรถที่จัดเก็บขยะอันตรายจากชุมชน ขยะที่มีการปนเปื้นของสารเคมีที่ส่งผลระทบต่อสุขภาพของประชาชน  

 


           

ทั้งนี้ อปท.ทุกแห่งในจ.นครราชสีมาได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)ในการรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนของ อปท.แต่ละแห่ง เพื่อมอลให้แก่ อบจ.นครราชสีมานำไปผดำเนินการกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการตามโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนชาวจ.นครราชสีมามีส่วนร่วมในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนโดยให้สอดคล้องกับชุมชนได้มีการจัดตั้งจุดคัดแยกขยะของเสียอันตรายชุมชนละร้อยละร้อยและรวบรวมนำไปกำจัดตามหลักวิชาการ และเพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการคัดแยกขยะของเสียอันตรายจากชุมชนและรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนใน จ.นครราชสีมาไปกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการ โดยได้กำหนดการเก็บขยะอันตรายชุมชนที่ อปท.รวบรวมไว้ใน 14 อำเภอ จาก 32 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครราชสีมา , อ.ขามทะเลสอ , อ.ปักธงชัย , อ.สูงเนิน , อ.สีคิ้ว , อ.ปากช่อง , อ.โนนไทย , อ.โชคชัย , อ.หนองบุญมาก , อ.วังน้ำเขียว , อ.เทพารักษ์ . อ.เสิงสาง , อ.ครบุรี และ อ.ด่านขุนทด จำนวน 176 อปท. โดยว่าจ้างบริษัทเอกชนใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรีในการกำจัดขยะอันตรายชุมชนโดวิธีทำให้เสถียรและฝังกลบอย่างถูกวิธีและเกิดความปลอดภัย สำหรับของเสียอันตรายชุมชน ไม่ใช่ขยะติดเชื้อ อาทิ หลอดไฟฟลูออเรสเซ้นหรือหลอดนีออน , ถ่านไปฉาย , ขวดสารเคมี , ขวดน้ำยาล้างหองน้ำ , ขวดย่าฆ่าแมลง , ภาชนะบรรจุสารเคมีทางการเกษตร , แบตเตอรี่รถยนต์ , แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ , กระป๋องสเปร์ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , ยา และเครื่องสำอางหมดอายุ เป็นต้น  
 


          

ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล กล่าวว่า โครงการนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทโอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะตามแนวทางประชารัฐ ระยะเวลา 1 ปี โดยใช้หลัก 3 RS การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับใช้ใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในภาพรวมของประเทศลงร้อยละ 5 จากอัตราการเกิดขยะมูลฝอย รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศและแผนปฏิบัติการกำจัดขยะจังหวัดสะอาด โดยเฉพาะนโยบายของ อบจ.นครราชสีมาในการพัฒนาเมือง การบำรุงรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้ได้รับการจัดการที่ดีมีคุณภาพ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวและเป็นการแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียอันตรายจ.นครราชสีมา ของ อบจ.นครราชสีมาจึงได้จัดโครงการ “ เมืองสะอาด คนในชาติมีสุข “ รณรงค์จัดการของเสียอันตรายชุมชนจ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2557 วันสิ่งแวดล้อมไทย
 


          

ทั้งนี้จ.นครราชสีมาในวันสิ่งแวดล้อมไทยปีนั้นสามารถรวบรวมของเสียอันตรายชุมขนได้จำนวน 9.9 ตัน และวันที่ 4-6 มิ.ย. 2559 รณรงค์รวบรวมของเสียอันตรายชุมขนได้ถึง 5 ตัน ต่อมาปี 2560 รวบรวมนำไปกำจัดได้ 23 ตัน โดยเราเป็นจังหวัดที่รวบรวมของเสียอันตรายชุมขนได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจาก จ.เชียงใหม่ และในปี 2561 อบจ.ได้รวบรวมของเสียอันตรายไปกำจัดได้ 32 ตัน และในปี 2562 ที่ผ่านมาสามารถรวบรวมของเสียอันตรายชุมชนได้ 32.72 ตัน และปี 2563 รวบรวมนำไปกำจัดได้มากขึ้นถึง 32.80 ตัน

 

หน้าแรก » ภูมิภาค