วันพุธ ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:21 น.

ภูมิภาค

อธิบดี DSI ลงพื้นที่ตรวจสอบรุกที่ป่าสงวนฯบางขนุน หลังรับเป็นคดีพิเศษ

วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 19.38 น.
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง กรณี ที่ทางวิทยาลัยเทคนิคถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่บุกรุกพื้นที่ของวิทยาลัยฯ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน (คดีพิเศษที่ 59/2564)
 
นายไตรยฤทธิ์ เปิดเผยว่า เนื่องจากตนได้มีการมาปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในวันนี้จึงได้ถือโอกาสลงมาดูพื้นที่จริงบริเวณสวนป่าบางขนุนที่มีเศสที่เป็นคดีพิเศษอยู่ซึ่งทางกรมได้รับเป็นคดีเมื่อไม่นานมานี้ทั้งนี้เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย  ซึ่งทางคดีนี้ก็มีพนักงานสอบสวนอยู่แล้วตนในฐานะผู้บังคับบัญชาก็มีหน้าที่ในการกำกับดูแลแต่ว่าไม่สามารถแทรกแซงในคดีได้เพียงแต่เร่งรัดให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายซึ่งตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทำคดีอย่างตรงไปตรงมา
 
ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวได้ถูกประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2507 ต่อมาภายหลังกรมอาชีวศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางขนุน ท้องที่ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต แห่งที่ 2 (วิทยาลัยเทคนิคถลาง) เนื้อที่รวม 142 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา กำหนดเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2540 - 22 มกราคม 2570 โดยได้ลงนามในบันทึกรับทราบและรับรองที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขแนบท้ายประกาศกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 และนอกจากนั้น ที่ดินดังกล่าวอธิบดีกรมป่าไม้ยังได้กำหนดให้เป็นสวนป่าอยู่ด้วยต่อมา พบว่ามีราษฎรเข้ายึดถือครอบครองและทำประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ป่าดังกล่าวด้วยการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ชนิดต่าง ๆ ภายหลังจากมีการประกาศเป็นที่ดินของรัฐ และไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและสวนป่าที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมเนื้อที่ประมาณกว่า 2,600 ไร่ โดยมีราษฎรบุกรุก จำนวนกว่า 200 ราย
 
คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำการสืบสวนตามมาตรา 23/1 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกรณีดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์คดีพิเศษ ตามประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 7)  พ.ศ.2562 เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 จึงได้ทำการสอบสวนเป็นคดีพิเศษ โดยมอบหมายให้กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ ร่วมสืบสวนสอบสวนพิสูจน์ความผิดเพื่อที่จะบังคับใช้กฏหมายต่อไป    

หน้าแรก » ภูมิภาค