วันพุธ ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 08:45 น.

ภูมิภาค

“บิ๊กแจ๊ส” มอบโล่ประกวดแบบสร้างแลนด์มาร์คใหม่ปทุมนายกนครรังสิต

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 20.21 น.

วันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่เทศบาลนครรังสิต ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจาง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการแสดงผลงาน และพิธีมอบโล่เกียรติยศ ประกาศเกียรติคุณ และทุนการศึกษาโครงการประกวดแนวคิดการออกแบบ The Landmark Rangsit "ปทุมธานีเมืองแห่งสายน้ำจากพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 5" บริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ระดับนิสิตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี โดยมีร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

 


   

ภายในพิธีฯ มี พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง ประธานอนุกรรมการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการฯ พร้อมด้วย พระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย คณะที่ปรึกษาโครงการฯ ฝ่ายสงฆ์ คุณสุดาลักษณ์ ชินวิรารัฒน์ ประธานชมรมรักษ์บวร รักษ์ศีล 5 ปทุมธานี ในอุปถัมภ์พระธรรมรัตนาภรณ์ รองประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ผู้บริหารขององค์กรภาคีเครือข่ายภาคเอกชนผู้สนับสนุนทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนดำเนินงานโครงการฯ เข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการแสดงผลงาน และพิธีมอบโล่เกียรติยศ ประกาศเกียรติคุณ และทุนการศึกษาของโครงการประกวดแนวคิดการออกแบบ The Landmark Rangsit "ปทุมธานีเมืองแห่งสายน้ำจากพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 5" ภายใต้โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนสาธารณะ เพื่อน้อมรำลึกพระเกียรติคุณ สำหรับโครงการการประกวดแนวคิดการออกแบบฯ มีนิสิตนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในจังหวดปทุมธานี 4 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยรังสิต เข้าร่วมโครงการฯ โดยผลการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม RSU Profressional + จากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมด้วยทุนการศึกษารวม 200,000 บาท เป็นทุนการศึกษา 100,000 บาท และทุนการศึกศาเพื่อพัฒนาต่อยอดแนวคิดการออกแบบเพิ่มเติมอีก 100,000 บาท, รางวัลชมเชย รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 4 ทีม ประกอบด้วย ทีม หนึ่งหก สองสี่ หนึ่งสาม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ทีม The Empty จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ทีม BU_V จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ทีม BU_V 05 จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมด้วยทุนการศึกษาทีมละ 20,000 บาท ทุนการศึกษาพัฒนาผลงานเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 10,000 บาท และรางวัลชมเชย รอบคัดเลือก จำนวน 4 ทีม ประกอบด้วย ทีม PLEARN จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ทีม 23.69 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ทีม SKSA จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ทีม G 62 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมด้วยทุนการศึกษาทีมละ 10,000 บาท

 


ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่า เนื่องจากเรามีการดำเนินการเตรียมสร้างอนุสาวรีย์ เพราะเราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นเกียรติที่พระองค์ท่านได้พระราชทานชื่อ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นชื่อของพระองค์ท่าน และปีนี้เป็นปีที่ 126 เดิมเรามองจะสร้างอนุสาวรีย์และสวนสาธารณะ  เมื่อเราได้ปรึกษากับภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน และภาคต่าง ๆ รวมถึงคณะสงฆ์ด้วยเราจึงมีความคิดที่เปลี่ยนไป โดยมีเพิ่มการมีส่วนร่วมจากทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อมีส่วนร่วมในการออกแบบ เมื่อเราเห็นผลงานที่ออกมาแล้ว รู้สึกเกินคาด รู้สึกทึ่งจริง ๆ เมื่อน้องนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยได้ออกแบบมาทำให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างกันได้แสดงไอเดียมากมาย เราจะนำไอเดียเหล่านี้มาใช้เพื่อให้อิงกับยุคสมัย จะเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีลานอเนกประสงค์ เป็นปอดของชาวนครรังสิตและเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดปทุมธานีต่อไป

 


     


ส่วนกรณีที่ คณะกรรมาธิการ กระจายอำนาจฯ มีมติส่งเรื่องถึง มหาดไทย พิจารณาเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศนั้น ในส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับที่คณะกรรมาธิการ การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ มีมติส่งเรื่องถึง มหาดไทย พิจารณาเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งต้องขออนุญาตเรียนว่าจะให้เสนอความคิดเห็นส่วนตัวตนเองมองว่าในปัจจุบันนี้การที่เราทำงานในองค์กรของเรากับหน่วยงานอื่นๆค่อนข้างจะติดขัดก็จะมีปัญหาเล็กๆน้อยๆคือเหมือนคล้ายๆกับว่าต่างคนต่างมีหน้าที่ที่จะทำของตัวเองก็ทำให้การที่ประสานงานหรือทำงานที่ให้เชื่อมโยงกันจะยากซึ่งก็มองว่าตามที่เราจะบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ดีเราก็จะต้องร่วมมือกันผนึกกำลังกันให้ไปในแนวทางเดียวกันและทำงานสำเร็จไม่ใช่ว่าต่างคนต่างทำสิ่งหนึ่งที่จะมีการจัดตั้งหรือจัดทำอย่างนั้นขึ้นมาก็จะทำให้การบริหารจัดการเป็นเนื้อเดียวกันซึ่งมองว่าตรงนี้จะมีประโยชน์อย่างมากกับประชาชนจริงๆจากที่ได้เห็นประสบการณ์มา เช่นการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.และเมืองพัทยาที่เป็นพื้นที่ปกครองพิเศษก็จะเห็นว่าการบริหารจัดการเขาเป็นแนวทางเดียวกัน อย่างเช่นตัวนายกเองก็เป็นลูกหลานคนปทุมธานีซึ่งก็เห็นและเข้าใจการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนปทุมธานีเป็นมาอย่างไรเคยเห็นฟิวเจอร์ตั้งแต่เด็กๆเห็นรังสิตมาตั้งแต่เด็กๆว่ามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนามากน้อยเพียงใด ตนเองเชื่อว่าคนในพื้นที่ก็ต้องเข้าใจในบริบทของเขาอยู่แล้วหรือของแต่ละพื้นที่มากกว่า ถ้าเราอยู่ที่นี่ไปทำงานที่อื่น ก็จะไม่เข้าใจท้องถิ่นนั้นๆเท่ากับประชาชนเจ้าของพื้นที่เขาเอง.

หน้าแรก » ภูมิภาค