วันอาทิตย์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 13:02 น.

ภูมิภาค

"มข."จับมือ"โลตัส" ส่งเสริมการเลี้ยงแมลงสำหรับผลิตโปรตีนทางเลือกให้กับชุมชน

วันพฤหัสบดี ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 19.15 น.

ขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste โดยใช้ประโยชน์จากอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย ในร้านอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารปรุงสำเร็จ ส่งต่อให้แก่เกษตรกรเพื่อเป็น อาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน อันเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่ด้วยการนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับกรรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

 

 

 

วันนี้ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ที่ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับมอบหมายจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ร่วมลงนามกับนายบุญชัย ชีพอารนัย ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก ภาคเหนือ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ในพิธีลงนามบันทึกข้อดกลงความร่วมมือขับเคลื่อนนวัดกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มคำ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Crcular Economy) ต่อยอดโครงการกินได้ไม่ทิ้งกันของไลตัส เพื่อลดชยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030(Zero food waste to landfl! by 2030) ผู้ลงนามเป็นพยาน ประกอบด้วย รศ.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข. และ นางนภัสจิรา อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้จัดการอาวุโส แผนกความยั่งยืนองค์กร บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด โดยมี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง สาขาวิชากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา, ดร.ชุตินันท์  ชูสาย อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ และผู้บริหารบริษัท เอก-ชัยดีสทริบิวชั่น ชิสเทม จำกัด ร่วมเป็นเกียรติในพิธี และ สื่อมวลชนทุกแขนง ที่ให้ความสนใจร่วมทำข่าวในครั้งนี้
   

 

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า "โครงการแมลงโปรตีน ที่ริเริ่มโดย ศ.ดร. ยุพา หาญบุญทรง สาขาวิชากีฎวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแมลงสำหรับผลิตโปรตีนทางเลือกให้กับชุมชนเป็นอาชีพและพึ่งพาตนเอง ลดต้นทุนอาหารสัตว์ สร้างผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้ 'BCG Economy Model' และพัฒนาให้เป็นแหล่งวัตถุดิการผลิตอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีโรงเรือนต้นแบบการวิจัยและการผลิตแมลงอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ณ หมวดแมลงอุตสาหกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มข.ซึ่งเป็นต้นแบบของการผลิตแมลงโปรตีนเพียงแห่งเดียวในขณะนี้ ที่สามารถผลิตแมลงโปรตีนที่มีปริมาณและคุณภาพสูงได้ตลอดทั้งปี และมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรหรือผู้สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน
   

 

ศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าโดยความร่วมมือกับโลตัสในครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อน ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวล้อม ตามแนวทางความยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะประสานและคัดเลือกเกษตรกรในเครือข่ายที่เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนให้พื้นที่ต่างๆในการรับบริจาคและจัดสรรอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายจากสาขาของโลตัส และช่วยให้คำแนะนำเกษตรกรด้านวิชาการและเทคนิคของกระบวนการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน รวมถึงร่วมมือกับโลตัสในการขยายผลของโครงการต่อไป
  

 

ศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวต่อว่าบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้นี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นต้นไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง และ ดร.ชุตินันท์  ชูสาย อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเป็นหัวหน้าโครงการและผู้ดำเนินโครงการ ในการทำหน้าที่ประสานและคัดเลือกเกษตรกรในเครือข่ายที่เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนให้ขึ้นที่ต่างๆ เพื่อให้มีโอกาสในการรับบริจาคและจัดสรรอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายภายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารของบริษัท ให้คำแนะนำแก่เกษรกรในด้านวิชาการและเทคนิคของกระบวนการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนจากอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายภายในฐเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารห้างสรรพสินค้าของบริษัท และร่วมมือกับบริษัทในการขยายผลของโครงการ ซึ่งรวมถึงองค์ความรู้ และเครือข่ายเกษตรกร ผู้เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางความยั่งยืน
  

ศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวท้ายสุดว่าด้านโลตัส จะบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากโลตัส 30 สาขาในจังหวัดขอนแก่น และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly - BSF) นำร่องสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกร ภาคอีสาน 24 ราย ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ทางการเกษตรกว่าครึ่ง เตรียมขยายผลสู่การสนับสนุนเกษตรกรทั่วไทย

   

 

ส่วนนายบุญชัย ชีพอารนัย ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก ภาคเหนือ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวว่าโลตัส ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกแบบ omni-channel มุ่งมั่นที่จะทำให้ลูกค้าของเรา “รู้สึกดีดีทุกวัน ที่โลตัส” ผ่านการจำหน่ายสินค้าคุณภาพสูงในราคาที่เอื้อมถึง และการให้บริการแบบไร้รอยต่อทั้งในสาขากว่า 2,300 แห่ง และช่องทางออนไลน์ ควบคู่ไปกับสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของทุกภาคส่วนโลตัส มุ่งเน้นการจำหน่ายอาหารคุณภาพสูง ผ่านการเป็น Inspiring Fresh & Food Destination หรือการเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ
 

นายบุญชัย กล่าวอีกว่าในฐานะห้างค้าปลีกที่จำหน่ายอาหารในปริมาณมาก เราตระหนักถึงบทบาทของเราในการช่วยลดขยะอาหาร โดยเริ่มจากภายในธุรกิจของเราเอง ภายใต้เป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เรามุ่งหน้าลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030 โลตัส ได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขาของเรา ตั้งแต่ปี 2017 ภายใต้โครงการ กินได้ไม่ทิ้งกัน โดยเริ่มนำร่องจากการนำอาหารส่วนเกินที่ยังรับประทานได้ ส่งมอบให้ผู้ที่ยากไร้ ในกรุงเทพและปริมณฑลร่วมกับมูลนิธิ SOS และเดินหน้าขยายโครงการไปสู่พื้นที่อื่น ๆ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว อาทิ โครงการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับสวนสัตว์ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

   

นายบุญชัย กล่าวเสริมว่าในวันนี้ โลตัสมีความยินดีที่ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนำอาหารส่วนเกิน อาทิ ผัก ผลไม้ และอาหารสดประเภทอื่น ๆ จากโลตัสกว่า 30 สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริจาคให้กับเกษตรกรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำไปใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ซึ่งปลอดภัยต่อพืชและชุมชน ไม่เป็นพาหะนำโรค และสามารถใช้ทดแทนอาหารสัตว์สำเร็จรูป โดยสามารถช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้กว่า 50% นอกจากนี้ มูลหนอนและซากแมลงวันลายเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วยเช่นกัน

  

 

ด้าน น.ส.สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัสประเทศไทย กล่าวว่า "ในฐานะธุรกิจคัาปลีกแบบomnichanne! ที่มุ่งน้นการจำหนำยอาหารคุณภาพสูง โลตัส ตระหนักถึงบทบาทของเราในการช่วยลดขยะอาหาร โดยเริ่มจากภายในธุรกิจของเราเอง ภายใต้เป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เรามุ่งหน้าลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030 โลตัส ได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขาของเรา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ภายใต้โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน โดยเริ่มนำร่องจากโลตัสสาขาใหญ่ในกรุงเทพ และปริมณฑล โดยร่วมมือกับมูลนิธิ SOS ในการนำอาหารส่วนเกินที่ยังรับประทานได้ ส่งมอบให้ผู้ที่ยากไร้ แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม"
   

"ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โลตัส เดินหน้าขยายโครงการไปสู่พื้นที่อื่น 1 รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรในการหาทางออกในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว อาทิ โครงการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับสวนสัตว์ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร รวมถึงการร่วมมือในครั้งนี้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนำอาหารส่วนเกิน อาทิ ผัก ผลไม้ และอาหารสดประเภทอื่น ๆ จากโลตัส 30 สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริจาคให้กับเกษตรกรในเครื่อข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำไปใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly- BSF) ซึ่งเป็นแมลงที่ปลอดภัยต่อพืชและชุมชน ไม่เป็นพาหะนำโรค และตัวหนอนยังมีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งโปรตีน โอเมก้า วิตามินและแร่ธาตุ นำไปใช้ประโยชน์ทางกาเกษตรได้ตลอดวัฏจักรหนอน-ดักแด้-แมลง สามารถเสริมสัตว์สำเร็จรูป และมูลหนอนยังนำไปเป็นปุ๋ยชีวภาพได้"

 

"ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในเตือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา โลตัส ได้บริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำไปเลี้ยงแมลงโปรตีนแล้วกว่า 10,000 กิโลกรัม คิดอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักเนื้อหนอน (อัตราแลกเนื้อ) เท่ากับกว่า 3,400 กิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำหนอนเหล่านี้เสริมในอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ไปได้กว่า 50% นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยจากมูลหนอนอีกกว่า 2,200 กิโลกรัม และซากแมลงโปรตีน ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วยเช่นกัน ความตั้งใจของเราคือการขยายผลโครงการแมลงโปรตีนไปสู่กลุ่มเกษตรกรอื่น เพื่อนำแมลงโปรตีนและผลพลอยได้ไปใช้ในการเกษตร รวมถึงศึกษาแนวทางต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแมลงโปรตีนทางการเกษตรเพิ่มเติมต่อไป"

หน้าแรก » ภูมิภาค