วันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 10:19 น.

ภูมิภาค

นักวิชาการ 3 ม.ดัง เปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ใช้ประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ แห่งแรกของไทย

วันอังคาร ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566, 16.57 น.

นักวิชาการจาก3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ แปลผลอายุร่างกาย จากผลตรวจเลือด แห่งแรกในประเทศไทย      

 

วันนี้17 มกราคม 2566 ที่ อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)  ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิด แถลงข่าวความสำเร็จและการเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แปลผลอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ ตับ ไต หัวใจ ตับอ่อนจากผลตรวจเลือด ซึ่งสะท้อนภาวะร่างกายแบบเข้าใจง่ายรองรับการใช้งานในกลุ่มสถานบริการสุขภาพ/บริษัท health technology รวมถึงการใช้งานรายบุคคลในรูปแบบแอพลิเคชั่นและเวบไซด์ โดยมี ผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศค้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ พร้อมด้วยศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.),ศ.พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนทีมนักวิจัย และท่ามกลางสื่อมวลชนที่สนใจ ทำข่าวผลงานวิจัยในครั้งนี้   

 

 

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าวันนี้มีโครงการที่ดีหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญหรือ Al for healthcare ซึ่งทีมนักวิจัยมาจากหลากหลายคณะ ทำงานร่วมกันโดยใช้ข้อมูลสุขภาพที่มีอยู่ซึ่งครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากเขตสุขภาพ 7 8 9 10 โดยใช้เหมืองข้อมูลสุขภาพดี 59,675 ชุด และฐานข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพเชิงลึก จนกระทั่งนำมาสู่การใช้ได้จริงในการประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ 4อวัยวะได้แก่ ตับ ตับอ่อน ไต ห้วใจ มีความแม่นยำเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน ร้อยละ 83.7 ในเพศหญิง และ 81.5ในเพศชาย ตัวโปรแกรมนี้เป็นตัวช่วยให้บุคคลระมัดระวังเรื่องการพักผ่อน พฤติกรรมและการบริโภค โดยหวังว่าโปรแกรมนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยรวมของประเทศได้”   

 

ด้าน ผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศค้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์(Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ที่มีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแกนนำ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561-2564 แก่คณะวิจัยในรูปแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มวิจัยที่มี ศาสตราจารย์พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ โดยมีทีมวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

ในหลายคณะได้แก่คณะเทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ศิริราช วิทยาศาสตร์และวิทยาลัยคอมพิวเตอร์นวัตกรรมHealth A! ที่จะมาช่วยประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผลการตรวจสุขภาพของตนโดยง่าย ผ่านแอพลิเคชันมือถือ โดยช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพกายที่ดีต่อไป ซึ่งเป็นเทรนต์ใหม่ด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ A! เป็นส่วนช่วยในบริการด้านนี้ เมื่อมีการใช้งานจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางแล้ว ในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกอยู่กับประขาชนและระบบของสาธารณสุขของประเทศที่ เนันสาธารณสุขเชิงป้องกัน ที่จะช่วยลดภาระงบประมาณด้านนี้ของประเทศและรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”   

 

ด้านผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศค้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์(Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ที่มีมหาวิทยาลัยมหิตลเป็นแกนนำ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561-2564 แก่คณะวิจัยในรูปแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มวิจัยที่มี ศาสตราจารย์พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ โดยมีทีมวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิตล

 

 

ในหลายคณะได้แก่คณะเทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ศิริราช วิทยาศาสตร์และวิทยาลัยคอมพิวเตอร์นวัตกรรมHealth A! ที่จะมาช่วยประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผลการตรวจสุขภาพของตนโดยง่าย ผ่านแอพลิเคชันมือถือ โดยช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพกายที่ดีต่อไป  

 

ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ A! เป็นส่วนช่วยในบริการด้านนี้ เมื่อมีการใช้งานจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางแล้ว ในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกอยู่กับประขาชนและระบบของสาธารณสุขของประเทศที่ เนันสาธารณสุขเชิงป้องกัน ที่จะช่วยลดภาระงบประมาณด้านนี้ของประเทศและรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”    

 

 

ส่วน ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า “Health AI เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ยกระดับเป็นนวัตกรรมจนสู่การเปิดบริการเชิงพาณิชย์ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายศูนย์ชุดตรวจวินิจฉัยโรค โดย บพข.ให้การสนับสนุนงานประมาณดำเนินงานของศูนย์พัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานทางเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด

 

หน้าแรก » ภูมิภาค