วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 15:03 น.

ภูมิภาค

ปภ.ตราดเตือนอย่าพึ่งขนของลงจากที่สูง ระวังน้ำท่วมอีกรอบ

วันอังคาร ที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2566, 16.48 น.

นายเจริญ รัตนบรรณสกุล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์ฝนตกของจังหวัดตราดจะลดลง แต่ฝนยังมีตกอยู่ต่อเนื่อง แต่ยังไม่นักในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่ในอีก 2-3 วัน หรือตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2566 เป็นต้นไป ปริมาณฝนตกจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 กันยายน 2566 ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบระดับน้ำในคลองหลายแห่งในอำเภอบ่อไร่ และเขาสมิงมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น และอาจจะไหลเข้าท่วมบ้านเรือนเหมือนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้น ประชาชนในอำเภอเขาสมิง และบ่อไร่ ในหลายตำบลที่เก็บทรัพย์สินอยู่ในที่สูงอย่าเพิ่งนำลงมาจากที่สูงเนื่องจากยังมีความเสี่ยงในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมยังมีโอกาสสูงที่จะเกิดน้ำท่วมซ้ำอีกครั้งในช่วงนี้ 

“อำเภอเกาะช้าง และอำเภอเกาะกูดจะต้องเฝ้าระวังแม้จะเป็นพื้นที่เกาะและเมื่อฝนตกลงลงมาน้ำสามารถระบายได้ดี แต่หากปริมาณฝนตกมากจะเกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาและอาจจะมีสิ่งของขวางทางน้ำไหลจึงควรจะต้องเร่งแก้ปัญหาหรือรื้อสิ่งของที่ขวางทางน้ำให้หมดเพื่อให้เกิดการระบายน้ำได้ดีขึ้น ส่วนอำเภออื่นๆก็ต้องเฝ้านระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำจากไหลจากภูเขาบรรทัดลงมาเช่นกัน”

นายเจริญ กล่าวว่า แต่สิ่งที่ชาวตราดและเกษตรกรต้องระวังก็คือ การขาดแคลนน้ำทั้งภาคการเกษตรกรรมและภาคบริการเนื่องจากในปี 2566 ฝนตกลงมาน้อยกว่าปี 2565 มากและสถิติพบว่าในปี 2565 ถึงเดือนสิงหาคม 2565 มีปริมาณน้ำฝนกว่า 3,000 มม. และทั้งปีจังหวัดตราดมีปริมาณมากเกิน 4-5,000มม.แต่ในปี 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2566 มีฝนตกลงมาเพียง 2,000 มม.ซึ่งเหลืออีก 1-2 เดือนอาจจะไม่ถึง 3-4,000 มม.ซึ่งปี 2567 จะเกิดผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรเนื่องจากต้องใช้น้ำมาก โดยเฉพาะทุเรียนที่ต้องใช้น้ำมาก ซึ่งในช่วงฤดูแล้งหากไม่ช่วยกันประหยัดน้ำอาจจะส่งผลกระทบมากกับประชาชนชาวตราดได้เช่นกัน ซึ่งเกษตรกรจะต้องมีการขุดสระหรือขุดบ่อเพื่อเก็บน้ำ และหากขาดน้ำมากอาจจะต้องตัดใจปล่อยให้ต้นทุเรียนหรือผลไม้ตายก็ต้องทำ หรือการรดน้ำเพื่อรักษาต้นไม้แบบวันเว้นวันก็ต้องทำ วันนี้จึงต้องรีบเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ในช่วงขาดน้ำจริงๆ

ขณะที่นายบัณฑิต กูลพฤกษี สมาชิกสภาเกษตรกรจ.ตราดและปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่า ปริมาณน้ำสะสมของจังหวัดตราดจาก 7 อ่างเก็บน้ำสำคัญ และประตูน้ำ รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดเล็กยังมีเพียงพอในพื้นที่ชลประทานตราด แต่ในพื้นที่นอกเขตชลประทานจะเกิดปัญหา โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกผลไม้ซึ่งต้องใช้น้ำมาก ซึ่งทุเรียนเกษตรกรมีการปลูกเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และทุเรียนจำเป็นต้องใช้น้ำมาก ซึ่งเกษตรกรรายใหญ่น่าจะเตรียมการไว้ระดับหนึ่งแล้ว แต่เกษตรกรรายย่อยและปลูกในพื้นที่สูงทางราชการจะต้องเข้ามาช่วย เพราะในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ปี 2567 จะใช้น้ำมาก ทั้งนี้ควรจะสร้างพื้นที่เก็บน้ำในพื้นที่ด้วย

หน้าแรก » ภูมิภาค