วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 22:55 น.

ภูมิภาค

"สทร." จับมือ"มข."ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบราง 


วันเสาร์ ที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2566, 11.47 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.)ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศูนย์การทดสอบคุณภาพและมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานในระบบราง รวมทั้งการเชื่อมโยงไปสู่องค์กรเครือข่ายที่มีระบบทดสอบคุณภาพ และมาตรฐานต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีส่วนร่วมในความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบรางร่วมมือตลอดจนถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางระหว่างหน่วยงาน

 


เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ที่ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ.ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ,รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,รศ.ดร.โชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ,รศ.ดร.วสันต์  ธีระเจตกูล ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ,นายปกรณ์ เกตุแย้ม นักวิเคราะห์วิชาการอาวุโส , นายณัฐชนน ทองเพิ่มสมสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ และคณะผู้บริหาร ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมงาน

 

 

รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น รู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.)ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศูนย์การทดสอบคุณภาพ และมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานในระบบราง รวมทั้งการเชื่อมโยงไปสู่องค์กรเครือข่าย ที่มีระบบทดสอบคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีส่วนร่วมในความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบราง เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ภายในประเทศ รวมทั้งความร่วมมือเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางระหว่างหน่วยงาโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรอบและวิธีการทำงาน เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ รวมถึงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาศักยภาพและทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง

 

 

ด้าน ผศ.ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. ในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวงคมนาคม มีพันธกิจ สนับสนุนการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ เป็นหมายที่สำคัญของ สทร. คือ การพัฒนาและถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยีระบบราง เพื่อสนับสนุนการยกระดับประสิทธิภาพการเดินรถ และสร้างความขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ หรือ Local Content ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแต่พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แต่ต้องผลักดันไปสู่การผลิตและใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม เกิดเป็นห่วงโซ่อุปทานการผลิตในประเทศไทยรวมถึงผลักดันให้เกิดการส่งออกไปสู่ตลาดโลก หรือห่วงโซ่คุณค่าของระบบรางในระดับโลก (Global Value Chain)

 

 

ผศ.ดร.สันติ กล่าวอีกว่าความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์การทดสอบคุณภาพและมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานในระบบราง และรวมไปถึง 1.) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์จริง 2.) การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ (Local Content) 3.) การพัฒนาศักยภาพและทักษะของบุคลากร ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง เชื่อมั่นว่าความร่วมมือภายใต้ "บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ " ในครั้งนี้เป็นหมุดหมายสำคัญของประเทศในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบรางของประเทศ ให้มีความก้าวหน้าด้วยพลังของทุกภาคส่วน และเป็นพลังที่มีความยั่งยืนต่อไป.
 

หน้าแรก » ภูมิภาค