วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:58 น.

ภูมิภาค

คพ. เลือก อบต.ดอนแก้ว นำร่องดำเนินงานตาม“ข้อเสนอรูปแบบการคัดแยกและเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท”

วันอังคาร ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566, 11.56 น.

เมื่อ​วันที่​ 12 ก.ย.66 ทฝ ที่องค์การบริหารส่วน ตำบลดอนแก้ว นายนพดล ณเชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว พร้อมคณะฯ ให้การต้อนรับ นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ,) พร้อมคณะรวมไปถึงสื่อมวลชนจากส่วนกลางพร้อมบรรยายสรุปการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

อบต.ดอนแก้ว มีพื้นที่ 48.53 ตร.ม. (21,846 ไร่) มีประชากร 16,267 คน (8,603 ครัวเรือน) ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน มีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท อบต.ดอนแก้ว เป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอย โดยมีกลไก ได้แก่ 1.สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะเปียก ขยะแห้งทั่วไป (ขยะทั่วไป) ขยะแห้งที่ใช้ประโยชน์ได้ (ขยะรีไซเคิล) และขยะอันตราย โดย อบต. ไม่มีการแจกและตั้งถังขยะในชุมชน 2.สนับสนุนให้ประชาชนดำเนินการจัดการขยะด้วยตนเอง โดยใช้ระบบการเก็บค่าธรรมเนียมขยะที่แตกต่างกัน 4 ราคาในรูปแบบ “บุฟเฟ่ต์ขยะ” โดยถ้าจัดการเองได้มาก ค่าขยะจะถูกลง ดังนี้ 1) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ทำปุ๋ยหมักเอง นำขยะแห้งมาวางจุดรวบรวมเอง = ไม่เสียค่าธรรมเนียม 2) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ทำปุ๋ยหมักเอง ให้อาสามาเก็บขยะแห้งที่บ้าน = 50 บาท/เดือน 3) ครัวเรือนคัดแยกขยะ นำขยะแห้งมาวางจุดรวบรวมเอง ให้อาสามาเก็บขยะเปียกที่บ้าน = 70 บาท/เดือน 4) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ให้อาสามาเก็บขยะแห้งและขยะเปียกที่บ้าน = 90 บาท/เดือน 3.สร้างทีมงานจิตอาสาและทีมงานจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยให้มี “คณะทำงานจัดการขยะในชุมชน” และ “อาสาสมัครจัดเก็บขยะ” เพื่อช่วยการจัดการขยะและสร้างรายได้ให้กับผู้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน ด้วยเหตุนี้ อบต.ดอนแก้ว จึงถูกคัดเลือกเป็นหนึ่งในสี่พื้นที่นำร่องในการดำเนินงานตาม “ข้อเสนอรูปแบบการคัดแยกและเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท” ที่ คพ. จัดทำร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมอนามัย

ทางด้านนายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ,) เปิดเผยว่า แนวนโยบายภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570) แนวคิดการบริหารจัดการขยะ “ขยะ” ต้องไม่ใช่ “ขยะ” แต่“ขยะ” คือ “ทรัพยากร”ที่ต้องหมุนเวียนนำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

นายพิทยา กล่าวว่า คพ.ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมอนามัย ได้คัดเลือก อบต.ดอนแก้ว ซึ่งเป็น 1 ใน 4 พื้นที่ เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินงานตาม “ข้อเสนอรูปแบบการคัดแยกและเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท” จุดเด่นในการจัดการขยะมูลฝอยของ อบต.ดอนแก้ว คือการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะเปียก ขยะแห้งทั่วไป (ขยะทั่วไป) ขยะแห้งที่ใช้ประโยชน์ได้ (ขยะรีไซเคิล) และขยะอันตราย โดย อบต. ไม่มีการแจกและตั้งถังขยะในชุมชน 

อบต.ดอนแก้ว สนับสนุนให้ประชาชนดำเนินการจัดการขยะด้วยตนเอง โดยใช้ระบบการเก็บค่าธรรมเนียมขยะที่แตกต่างกัน 4 ราคาในรูปแบบ “บุฟเฟ่ต์ขยะ” โดยถ้าจัดการเองได้มาก ค่าขยะจะถูกลง ดังนี้ 1) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ทำปุ๋ยหมักเอง นำขยะแห้งมาวางจุดรวบรวมเอง ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ทำปุ๋ยหมักเอง ให้อาสามาเก็บขยะแห้งที่บ้าน เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท/เดือน 3)ครัวเรือนคัดแยกขยะ นำขยะแห้งมาวางจุดรวบรวมเอง ให้อาสามาเก็บขยะเปียกที่บ้าน เสียค่าธรรมเนียม 70 บาท/เดือน และ4) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ให้อาสามาเก็บขยะแห้งและขยะเปียกที่บ้าน เสียค่าธรรมเนียม 90 บาท/เดือน ด้วยเหตุนี้ อบต.ดอนแก้ว จึงถูกคัดเลือกเป็นหนึ่งในสี่พื้นที่นำร่องในการดำเนินงานตาม “ข้อเสนอรูปแบบการคัดแยกและเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท” ที่ คพ. จัดทำร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมอนามัย

อบต.ดอนแก้ว ได้สร้างทีมงานจิตอาสาและทีมงานจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยให้มี “คณะทำงานจัดการขยะในชุมชน” และ “อาสาสมัครจัดเก็บขยะ” เพื่อช่วยการจัดการขยะและสร้างรายได้ให้กับผู้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน ด้วยเหตุนี้ อบต.ดอนแก้ว จึงถูกคัดเลือกเป็นหนึ่งในสี่พื้นที่นำร่องในการดำเนินงานตาม “ข้อเสนอรูปแบบการคัดแยกและเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท” ที่ คพ. จัดทำร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมอนามัย นายพิทยา กล่าว

หน้าแรก » ภูมิภาค