วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 14:55 น.

ภูมิภาค

ชาวอำนาจเจริญ ไม่กินปลาร้าดิบ ปลอดโรคปลอดภัย มะเร็งท่อน้ำดีและตับ

วันอังคาร ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566, 13.50 น.

จังหวัดอำนาจเจริญ จัดเวทีแลกเปลี่ยนครัวเรือน ชาวอำนาจเจริญ ไม่กินปลาร้า ก้อยปลาดิบ ปลอดโรค ปลอดภัย จากมะเร็งท่อน้ำดีและตับ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมีส่วนราชการ ข้าราชการ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

ด้วยจังหวัดอำนาจเจริญ มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับ เป็นอันดับ 1. ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ซึ่งเริ่มตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้นมา แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตปีละ 200 – 250 ราย ซึ่งมากกว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนถึง 1.5 – 5 เท่า สาเหตุเกิดจากพยาธิใบไม้ตับและและการได้รับสารเคมีที่สำคัญ คือ สารไนโตรซามีน ที่สะสมจากการหมักดอง เช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ผักกาดดอง จากากรสอบสวนโรค พบว่า คนที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับเพียงร้อยละ 2 ที่ยังกินก้อยปลาตะเพียนดิบ และส่วนใหญ่พบว่า ไม่กินก้อยปลาดิบ แต่หลายคนยังกินปลาร้าดิบ โดยเฉพาะในร้านส้มตำ มักจะมีการปนเปื้อนปลาร้าต่วง ซึ่งเป็นการหมักที่มีความเค็มไม่ถึงร้อยละ21 ระยะเวลาเพียง 4 – 5 วัน ทำให้กลิ่นปลาร้าหอมน่ารับประทาน ซึ่งในความเป็นจริงการที่จะทำให้ปราศจากตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ ต้องทำให้มีความเค็มมากกว่าร้อยละ 21 หรืออย่างน้อยเกลือ 1 ใน 5 ของจำนวนปลาทั้งหมด และ หมักอย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน ด้วยพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อให้ชาวอำนาจเจริญ ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี การรณรงค์ไม่กินก้อยปลาตะเพียน ปลาร้าดิบ และ การรณรงค์ให้ร้านส้มตำ ต้มปลาร้าสุกก่อนปรุง ภายใต้การตรวจประเมินมาตรฐาน”ร้านส้มตำปลาร้าสุก ปลอดโรค ปลอดภัย จังหวัดอำนาจเจริญ” ซึ่งจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจังหวัดแรกที่ดำเนินการร้านส้มตำปลาร้าสุก ปลอดโรค ปลอดภัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 เป็นต้นมา มีร้านส้มตำในจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนรับรอง จำนวนทั้งสิ้น 464 ร้าน

สำหรับการจัดเวทีแลกเปลี่ยน ครัวเรือน ชาวอำนาจเจริญ ไม่กินปลาร้า ก้อยปลาดิบ ปลอดโรค ปลอดภัย จากมะเร็งท่อน้ำดี และตับ ครั้งนี้ จึงเป็นการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน ข้อตกลงร่วมกัน( MOU) รายครัวเรือน ชาวอำนาจเจริญปลอดพยาธิทุกครัวเรือน ไม่กินปลาร้าดิบ ในปี พ.ศ.2566 และเครือข่ายผู้เข้าร่วมมหกรรมประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน,บุคคลากรสาธารณสุขระดับอำเภอและระดับตำบล รวมทั้งสิ้น 250 คน

หน้าแรก » ภูมิภาค