ภูมิภาค
ผู้ว่าฯนครพนมควงนักธุรกิจไทย ศึกษาเส้นทางไทย-ลาว-เวียดนาม ดันขนส่งสินค้าทางทะเล ย่นระยะและประหยัด
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

สืบเนื่อง ช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา นายจู ดึ๊ก หยุง กงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ณ จังหวัดขอนแก่น ครั้งเดินทางเป็นประธานเปิดงานรำลึก 10 ปี สถาปนาความสัมพันธ์ความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ และ 47 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนาม-ไทย ที่อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม พิพิธภัณฑ์ประธานโฮจิมินห์ บ้านนาจอก ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม พร้อมเชื้อเชิญนักธุรกิจไทยเดินทางไปยังประเทศเวียดนาม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขนส่งสินค้าทางทะเล โดยใช้ท่าเรือหวุ๋งอ๋าง เมืองกี่แอ็ง จังหวัดกว่างบิงห์ เป็นเส้นทางเลือกแห่งใหม่ ในการขนส่งสินค้าจากจังหวัดนครพนม และภาคอีสานตอนบนของไทย ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเชื่อมโยงสู่ทะเลจีนใต้ ไปยังประเทศจีนและเอเซียตะวันออก ที่สามารถย่นระยะทางในการขนส่ง และถึงปลายทางเร็วกว่าปกติ
ดังนั้น นายวันชัย จันทร์พร ผวจ.นครพนม จึงเชิญสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครพนม และ หอการค้าจังหวัดนครพนม ร่วมโครงการสำรวจพัฒนาการของเส้นทาง และ ด่านพรมแดนไทย-ลาว-เวียดนาม เพื่อประเมินศักยภาพทางการค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว
ประจวบกับวันที่ 14-16 กันยายน ที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดนครพนม ได้เป็นเจ้าภาพประชุมคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2566 ถัดมาอีก 2 สัปดาห์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครพนม จัดประชุมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2/2566 โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมคณะเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย และถือเป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมเดินทางไปยังประเทศเวียดนาม เพื่อสำรวจเส้นทางการขนส่งทางทะเล กำหนดออกเดินทางในวันที่ 1-4 ตุลาคม 2566
โดยข้ามสะพานมมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) ใช้เส้นทาง R 12 (ท่าแขก-ด่านจาลอ) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางขนส่งจากไทยสู่เวียดนามและจีนที่สั้นที่สุด และถือเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อภาคอีสานของไทยกับนานาประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าที่นิยมขนส่งผ่านเส้นทางนี้ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ สินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าการเกษตร ปิโตเลียม โคเนื้อ โคนม และผลิตภัณฑ์จากนม
หลังคณะศึกษาเส้นทางถึงเมืองฮาติงห์ (Ha Thih) เวียดนาม ก็ประชุมร่วมกันระหว่างผู้แทนจังหวัดฮาติงห์ ในหัวข้อ “การร่วมมือส่งเสริมการค้า การขนส่งสินค้าระหว่างด่านนครพนม-ด่านเกาแตรว (Cau Treo Border Gate) และการร่วมมือผลักดันการใช้ท่าเรือหวุ๋งอ๋าง (Vung Ang) ให้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าจากนครพนมและภาคอีสานตอนบน เชื่อมโยงสู่ทะเลจีนใต้ไปยังประเทศจีนและเอเซียตะวันออก
จากนั้นคณะ ผวจ.ฯ และนักธุรกิจของไทยก็เดินทางไปชมโรงงานผลิตเหล็กครบวงจร บริษัทฟอร์โมซา จ.ฮาติงห์ (Fomosa Ha Thih) ซึ่งอยู่ในเขตท่าเรือหวุ๋งอ๋าง และเป็นพื้นที่รักษาความปลอดภัยขั้นสูง ก่อนจะเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายโดยหัวหน้าผู้รับผิดชอบพื้นที่ท่าเรือหวุ๋งอ๋าง
ฝ่ายเวียดนามให้ข้อมูลว่า ทศวรรษที่ผ่านมาท่าเรือหวุ๋งอ๋างได้รับการจับตามองจากกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งทางทะเลเป็นอย่างมาก เนื่องจากตั้งอยู่บนพิกัดที่มีความสะดวกในการเชื่อมโยงไปยังเส้นทางขนส่งทางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนั้นอ่าวหวุ๋งอ๋าง มีความลึกโดยธรรมชาติตั้งแต่ 11-22 เมตร จึงเอื้ออำนวยต่อการรองรับเรือขนส่งสินค้า ที่มีระวางบรรทุกระหว่าง 50,000-300,000 DWT และเรือขนส่งคอนเทนเนอร์ ที่มีระวางบรรทุก 4,000 TEU โดยท่าเรือแห่งนี้มีศักยภาพในการเชื่อมโยงกับพื้นที่ประเทศลาวตอนกลาง นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมโยงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) โดยใช้เส้นทาง R 12 ด้วยระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตรเท่านั้น
ทางด้าน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมฯ เปิดเผยว่า ซึ่งเราเองต้องเน้นเส้นทางโลจิสติกส์ มองย้อนไปที่ประเทศไทยวันนี้เราต้องส่งของไปจีนและทั่วโลก ถ้าเราใช้เส้นทางมาท่าเรือหวุ๋งอ๋าง ซึ่งเป็นอีกเส้นทางหนึ่งในการขนส่ง โดยเฉพาะวันนี้เราเดินทางจากนครพนมมาที่ฮาติงห์ จะเห็นได้ว่าปัญหาอยู่ที่ถนนมันขรุขระมาก ถ้ารัฐบาลยื่นมือมาช่วยลาวในการสร้างถนน เพราะรัฐบาลลาวไม่มีงบประมาณที่จะมาทำ จะเป็นการให้กู้ยืม หรือจะเก็บค่าผ่านทาง ก็สามารถขยายเส้นทางได้ ระยะทาง 100 กว่ากิโลเมตร วันนี้เราต้องใช้เวลาถึง 5-6 ชั่วโมง ถ้ามีการปรับปรุงถนน คาดใช้เวลาแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งประหยัดเวลาและค่าขนส่งได้เยอะฯ
ขณะเดียวกัน นายสมยศ ชาญจึงถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า ได้เห็นเส้นทางการขนส่งมูลค่าเป็นแสนล้าน แต่ถนนที่มาประมาณ 160 กิโลเมตร ถนนค่อนข้างแคบ มีช่วงสั้นๆประมาณ 16 กิโลเมตรเป็นทางขึ้นเขา เป็นถนนที่มีปัญหาเนื่องจากชำรุดขาดการซ่อมบำรุง ถือเป็นปัญหาอุปสรรคในเรื่องการใช้เส้นทางตรงนี้
สำหรับท่าเรือหวุ๋งอ๋าง ถ้ามองทางกายภาพก็มีสถานภาพเส้นทางขนส่งจากทะเลจีนใต้ไปประเทศจีน อนาคตก็คงต้องช่วยกันผลักดันให้เป็นเส้นทางขนส่งที่ถูกลง ผู้ประกอบการสามารถใช้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเลือก ในการขนส่งสินค้าในภาคตะวันเฉียงเหนือของเรา ฯ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- คปท.-เครือข่ายประชาชน 4 จังหวัดชายแดนอีสานใต้บุกปราสาทตาเมือนธม ให้กำลังใจทหารปฏิบัติหน้าที่รักษาชายแดน 13 พ.ค. 2568
- นายอำเภอสบเมยลงพื้นที่ตรวจสะพานเจ้าปัญหา หลังผู้ปกครอง-นักเรียนปีนบันไดไม้ทุกลักทุเล 13 พ.ค. 2568
- ตลาดไม่ตันฝักคูนเก็บง่ายรายได้ดีชี้ชาวบ้านมองข้ามวันละ 2 พัน 13 พ.ค. 2568
- เศร้า! พรานป่ายิงจนท.อุทยานดับ คาดเข้าใจผิดเป็นหมูป่า 13 พ.ค. 2568
- สุดดราม่า! เลือกตั้งนายกเทศบาลบ้านแก่ง “คะแนนเท่ากัน” ตัดสินด้วยจับสลาก-“จันทร์เพ็ญ” คว้าชัย 13 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
รถขนทรายลืมยกดั้มลงเกี่ยวเสาไฟหักโค่นประกายไฟไหม้หญ้า 20:46 น.
- ตร.ศรีมหาโพธิเข้ม! ปล่อยแถวสกัดทุจริตเลือกตั้ง 14 เทศบาลปราจีนฯ 20:34 น.
- ปทุมธานี เปิดเส้นทางการท่องเที่ยว คลองหมายเลข 3 ผลักดันชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 20:25 น.
- “ปธ.สหกรณ์ครูขอนแก่น” แจงคดีเรียกคืนทรัพย์หลายสิบล้าน 19:57 น.
- โค้งสุดท้าย! ร้านขายชุดนักเรียนยอดขายตกฮวบ! งัดโปรเด็ดลดราคาพร้อมปักฟรี 19:15 น.