วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 17:21 น.

ภูมิภาค

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสู่ ซอฟต์พาวเวอร์ งานเกษตร 100 ไร่ ราชภัฏโคราช 66

วันศุกร์ ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 16.15 น.

นครราชสีมา เมื่อวันนี้ (15 ธันวาคม 2566) ที่ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร 100 ไร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตำบลไชยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดพิธีเปิดงาน เกษตร 100 ไร่ ราชภัฏโคราช 66 ภายใต้แนวคิด “สืบสาน รักษา ต่อนยอด ศาสตร์พระราชา ต่อการ พัฒนาความมั่นคงทางด้านอาหาร “ครั้งที่ 8 โดยได้รับเกียรติจาก นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นายประเสริฐ บุญชัย สุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา, นายปรีชา ลิ้มอั่ว ผจก.ทั่วไปฯศูนย์การค้าเดอะมอลล์โคราช คณาจารย์ บุคลากร ม.ราชภัฎฯ ทหาร พลพัฒนาที่ 2 กองทัพภาคที่ 2 ตำรวจ สภ.โพธิ์กลาง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย นักเรียน นักศึกษา สถานศึกษาร่วมพิธี พร้อมได้ร่วมกันปลูกต้น ทานตะวันหลังนา เป็นสัญลักษณ์ของ 100 ไร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เยี่ยมชมทุ่งดอกไม้ นานาพันธุ์ และโซน Goat and Sheep Land ป้อนนมแพะแกะ

 


 
 ทั้งนี้โครงการ “งานเกษตร 100 ไร่ ราชภัฏโคราช 66” จัดขั้นในระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2566 - วันที่ 7 มกราคม 2567 เพื่อแสดงศักยภาพของ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆภายในงาน อาทิ การจัดทำแปลงไม้ดอกไม้ประดับนานา พันธุ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร นักท่องเที่ยวจะ ได้รับชมสวนผักตามฤดูกาล โซนเห็ดเศรษฐกิจ สนุกสนานกับโชน มหัศจรรย์แพะแกะ Goat and Sheep Land และ มหกรรมแพะอีสาน ชิมผลิตภัณฑ์จากแพะ และการจัดตู้ปลาสวยงาม

 


 
          

ทั้งนี้การจัดโครงการดังกล่าวในปีนี้ภายใต้โครงการ ท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความสุข ครั้งที่ 8 ภายในงานมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ ชมความงามของทานตะวันหลังนา ดอกไม้สีสันบานสะพรั่งเต็มในพื้นที่ 100 ไร่ , การประกวดตู้ปลาสวยงาม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการฟาร์มแพะ และการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านแพะสู่ผู้ใช้ประโยชน์โดยมีหน่วยงานวิจัยร่วม คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ละหน่วยงานเอกชน อีก 10 หน่วยงาน มีกิจกรรมชิมช็อปผลิตภัณฑ์จากแพะ เป็นต้น ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ระยะเวลาของกิจกรรม ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2567 โดยคาดการณ์ผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 200,000 คน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินโครงการครั้งนี้จะได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกแห่งหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา และเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับผู้สนใจได้เป็นอย่างดี
 


           

นายสุวัจน์ฯ กล่าวว่า กิจกรรมของ ม.ราชภัฎนครราชสีมานับเป็น SOFT POWER (ซอฟต์พาวเวอร์) โดยเฉพาะ จ.นครราชสีมาอุดมสมบูรณ์ไปด้วย SOFT POWER (ซอฟต์พาวเวอร์) อาหารโคราช, เพลงโคราช, ผ้าไหมโคราช ,มวยไทยโคราช, ภาษาโคราช ฉะนั้นเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ความเข้าใจ มีนางงามโคราช ต่อยอดในเรื่องของ SOFT POWER (ซอฟต์พาวเวอร์)โคราช ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ฉะนั้นต่อไป จ.นครราชสีมาจะต้องเป็นจังหวัดที่มีหารเติมโตทางด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์ของ SOFT POWER (ซอฟต์พาวเวอร์)และโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเดินทางมาที่ จ.นครราชสีมา มอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงจะทำให้ผู้คนมา จ.นครราชสีมาง่ายขึ้น และถ้าเกิดมีการพัฒนาเรื่องอุทยานธรณีโลก ให้มี UNESCO ยูเนสโกลูบ มีเส้นทางนักท่องเที่ยว เชื่อมโยงทั้งอุทยานธรณีโลก มรดกโลก พื้นที่สงวนชีวะมณฑลของความเป็นจังหวัด 3 มงกุฎของ UNESCO ยูเนสโกจะยิ่งใหญ่มาก

 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค