วันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 17:49 น.

ภูมิภาค

ชวนสื่อฯขอนแก่น เปิดพาข้าวชาวอีสาน "เฮือนคำนาง"

วันเสาร์ ที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 18.07 น.

พาข้าวเฮือนคำนาง"พาข้าว"คือสำรับอาหารเป็นศูนย์รวมวัตถุดิบ เป็นศูนย์รวมภูมิปัญญาเป็นศูนย์รวมของครอบครัว ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประจำถิ่น หลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย และเป็นส่วนสำคัญของอารยะธรรมของมวลมนุษยชาติ

 


   

เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2567 ที่ เฮือนคำนาง เลขที่ 322 หมู่ที่ 3 บ้านโนนม่วง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้มีพิธีทำบุญขึ้นเฮือนใหม่ และชิมพาข้าวเฮือนคำนาง ปรุงประกอบไปด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศตามฤดูกาลของผืนแผ่นดินอีสานปรุงประกอบไปด้วยเหตุผล และภูมิศาสตร์ ภูมิศิลป์ จากศิลปะวัฒนธรรมอีสาน (Isanculture) สู่ศิลปะวิทยาการด้านอาหารอีสาน( Isangastronomy)มอบเป็น 'พาสวย' มื้อพิเศษ มอบแด่แขกเมืองผู้ทรงเกียรติ โดยมีน.ส.ณัฏฐภรณ์ คมจิต (คำนาง) เป็นผู้บริหาร ตลอดจน รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น,นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น, ตลอดจน 8 องค์กรเศรษฐกิจ และสื่อมวลชนร่วมในพิธี ดังกล่าว

 


   

น.ส.ณัฏฐภรณ์ คมจิต (คำนาง) กล่าวว่า เฮือนคำนาง โดย เชฟคำนาง ณัฏฐภรณ์ คมจิตเฮือนคำนาง คือบ้านของ คำนาง ณัฏฐภรณ์ คมจิตลูกสาวชาวอีสาน ที่เปิดเฮือนเป็นประตูสู่วัฒนธรรมอีสาน ให้ผู้คนได้รู้จักผืนแผ่นดินอีสานมากขึ้นทุกมิติ โดยมีคำนาง เป็นวิทยากรให้ความรู้ในบรรยากาศ 'พาข้าว' ด้วยแนวคิด เสิร์ฟอีสานผ่านพาข้าว ณ เฮือนคำนางคำนาง เป็นลูกสาวชาวอีสานเลือดร้อย เกิดในครอบครัวที่มีคุณปู่เป็นหมอยาสมุนไพร

 


   

คำนาง เป็นนักวิจัยอิสระ ศึกษาค้นคว้า รวบรวมศิลปะวัฒนธรรมอีสาน และนำเสนอออกมาผ่านอาหาร ด้วยการปรุงเมนูจากวัตถุดิบพิเศษและเลิศรส ตามวิถีภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น จากวัตถุดิบพิเศษตามฤดูกาล รังสรรค์และนำเสนอผ่านพาข้าว มอบความงดงามอิ่มเอม แด่แขกผู้มาเยือนแผ่นดินอีสานตามแบบอย่างบรรพบุรุษ จนเป็นที่ยอมรับในวงการอาหาร ผู้คนส่วนใหญ่จึงรู้จักในนาม"เชฟคำนางแห่งเฮือนคำนาง"

 


   

ด้วยใจรักและภาคภูมิใจในบ้านเกิด คำนางได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับอาหารอีสาน ตามแบบฉบับภูมิปัญญาอีสานแท้ ใช้วิธีสื่อสารผ่านงานเขียนหลากหลายประเภท เช่น สารคดี บทความ เรื่องสั้นนวนิยาย บทภาพยนตร์ ปกิณกะ เพื่อให้ผู้คนต่างถิ่น เปิดใจกับอาหารอีสานมาก ทั้งศาสตร์และศิลป์ในวิถี และวัฒนธรรมของอาหารอีสาน เช่น บทความที่ตีพิมพ์ในคอลัมน์บอกฮักด้วยพาข้าว คอลัมน์ขวัญข้าวชาวอีสาน และเป็นผู้เขียน Isan gastronomy ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์องค์การมหาชน (CEA) นอกจากนั้นยังเป็นวิทยากรพิเศษ ทั้งตามสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมขับเคลื่อนวัฒนธรรมอาหาร เพื่อบอกโลกว่า ผืนแผ่นดินอีสานงดงามและรุ่มรวยไปด้วยภูมิปัญญาและวัฒนธรรม


Facebook : เฮือนคำนางTel : 086 - 4789193.

หน้าแรก » ภูมิภาค