วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 13:22 น.

ภูมิภาค

ชาวบ้านผวาหนัก! ไฟป่าอุตรดิตถ์เริ่มรุนแรง หวั่นลามเข้าที่ทำกิน-ที่อยู่อาศัย

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568, 16.28 น.

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจากสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นพิษpm 2.5 รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  ล่าสุด เกิดเหตุการณ์ไฟป่าลุกลามที่ อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์  ช่วงหัวค่ำของคืนวันที่ 29 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา จนชาวบ้านเป็นกังวลกลัวไฟป่าจะลามเข้าในพื้นที่ทำกิน และ  บ้านเรือนที่อาศัยอยู่ของราษฎร  ที่สำคัญเวลาเกิดเหตุไม่เห็นมีหน่วยงานราชการใดเข้าไปดำเนินการโดยเฉพาะพื้นที่ของป่าไม้และที่สำคัญก็ไม่รู้ที่จะแจ้งหน่วยงานใดเบอร์โทรอะไรโดยไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้เลยทั้ง ๆ  ที่เป็นนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล ศูนย์บัญชาการดับไฟป่า อยู่ที่ไหนหน่วยงานใดรับผิดชอบสั่งการในสถานการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม  ชาวบ้านจึงอยากฝากไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดหวัดอุตรดิตถ์ และ หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้ ปัจจุบันจังหวัดอุตรดิตถ์  ยังไม่มีหน่วยงานไหนออกมาขับเคลื่อนอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะไฟป่าที่เกิดขึ้นในเขตป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ ฯ เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันโดยเฉพาะกลางคืนจะเห็นแนวไฟตามยอดดอยชัดเจนมาก แต่ไม่เห็นเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการดับไฟป่าเลย

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้มอบนโยบายและข้อสั่งการในการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ดังนี้  1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด สั่งการหน่วยงานดำเนินการทุกมาตรการอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในทุกมิติ และพิจารณาออกประกาศกำหนดการควบคุมการเผาล่วงหน้า และบังคับใช้กฎหมายในการห้ามเผาอย่างจริงจัง เคร่งครัด และเด็ดขาด  2. ยกระดับมาตรการป้องกันปราบปรามเพื่อควบคุมการเผาในพื้นที่อย่างจริงจัง ใช้กลไกท้องถิ่นและท้องที่ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลและจัดทำบัญชีผู้มีพฤติกรรมการเผา ร่วมกันสอดส่อง ป้องปราม ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น หากพบการเผาในพื้นที่ให้ดำเนินการยับยั้งการเผาในทันที กรณีพบการเผาในพื้นที่ป่าให้พิจารณาปิดปากสงวนแห่งชาติ  3. ยกระดับมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ช่วยออกหน่วยบริการให้คำแนะนำข้อปฏิบัติในการป้องกันตนเอง จัดหาอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก จัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) ห้องปลอดฝุ่น คลินิกมลพิษ ไว้บริการประชาชน เป็นต้น

หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่องให้พิจารณาประกาศใช้มาตรการ Work From Home อย่างจริงจัง  4. ยกระดับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ในการระดมสัพพะกำลังเจ้าหน้าที่ ยุทโธปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย และทรัพยากรอื่นๆให้พร้อมสนับสนุนในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ กรณีมีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนทรัพยากรในการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว  และ  5. กรณีสถานการณ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหรือเกินข้างมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อำนวยการจังหวัดใช้ระบบบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน ยกระดับการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ให้ฝนบัญชาการเหตุการณ์จังหวัดประสานบูรณาการทรัพยากรร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่.
 

หน้าแรก » ภูมิภาค