วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 10:40 น.

ภูมิภาค

ประมงเชียงรายแจง "ปลาผิดปกติ" เป็นเคสเก่า ย้ำปลาตลาดปลอดภัย มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง รวมทั้งปลาน้ำกก

วันศุกร์ ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2568, 14.58 น.

กรณีที่มีภาพปลามีอาการผิดปกติถูกเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ และความกังวลจากข่าวการตรวจพบสารหนูในแม่น้ำกก อันอาจเชื่อมโยงกับกิจกรรมเหมืองฝั่งประเทศเมียนมา ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคปลาน้ำจืด

นายณัฐรัฐ พรเดชอนันต์ ประมงจังหวัดเชียงราย ให้สัมภาษณ์ว่า ปลาที่มีลักษณะผิดปกติในภาพ เป็นปลาแข้จากแม่น้ำโขงที่พบเมื่อปี 2567 และพบในฝั่ง สปป.ลาว โดยมีลักษณะตุ่มเนื้อสีม่วงแดง คาดว่าอาจติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Iridoviridae (สกุล Lymphocystivirus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง โดยเกิดจากการที่ปลาเป็นแผลแล้วไปติดเชื้อดังกล่าว จากข้อมูลนักวิชาการประมงที่ลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง ซึ่งพบเพียงตัวอย่างเดียว (หรือปลาตัวเดียวเท่านั้น)

ทั้งนี้ โรคลิมโฟซิสติส (Lymphocystis disease) เพราะมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคลิมโฟซิสติส: เช่น ตุ่มหรือก้อนเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำ: ที่ปรากฏบนครีบและลำตัวของปลา ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของโรคนี้ สีของตุ่ม: ที่มีลักษณะสีแดงอมม่วง สอดคล้องกับลักษณะที่สามารถพบได้ในโรคลิมโฟซิสติส การกระจายของตุ่ม: ที่พบได้หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะบริเวณครีบ สาเหตุของโรคลิมโฟซิสติส: เชื้อไวรัส: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Iridoviridae สกุล Lymphocystivirus ปัจจัยกระตุ้น: สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความเครียด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศ  ทำให้ปลาอ่อนแอและง่ายต่อการติดเชื้อ

เมื่อวันที่ 23 เมษายน เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำกก อ.เชียงแสน แต่ยังไม่พบปลาที่มีอาการผิดปกติ จึงยังไม่สามารถเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมได้ หากประชาชนพบปลาที่มีลักษณะผิดปกติ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ที่เบอร์ 081-954-9639 หรือ 063-197-4526

นายณัฐรัฐ พรเดชอนันต์ ประมงจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ทางสำนกงานประมงจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ปลา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 โดยซื้อปลาจากชาวประมงในแม่น้ำกก จุดใต้ฝายเชียงราย ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย จำนวน 1 กิโลกรัม (ไม่รวมไส้ปลา)  เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนักในเนื้อปลา (แคตเมี่ยม ตะกั่ว และสารหนู) โดยได้ Central Lab บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) ตรวจวิเคราะห์

ผลการวิเคราะห์โลหะหนักในปลาตัวอย่าง พบว่าค่าสารหนู (As) ปริมาณ >0.13 mg/kg ปรอท (Hg) 0.090 mg/kg และไม่พบ แคดเมียม(Cd) และ ตะกั่ว (Pd) ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานสารตกค้างของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 (ฉบับที่ 414) และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

ทั้งนี้ สารหนู ในปลาตัวที่เก็บตัวอย่า มี 0.13 มก ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่ามาตราฐาน (มาตราฐานอยู่ที่ 2 มก. ต่อปลา 1 กิโลกรัม) ดังนั้นอยากให้ทุกคนมั่นใจว่า ปลาในแม่น้ำกก ยังสามารถนำมาบริโภคได้ปลาที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นปลาเลี้ยง เช่นปลานิล ปลาทับทิม เป็นหลัก และปลาจากแม่น้ำกก มีน้อยมาก

หน้าแรก » ภูมิภาค