วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 17:26 น.

ภูมิภาค

วางขายแล้วกระท้อนหวาน ของดีลพบุรีได้รับรองGI

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 19.41 น.

ลพบุรีไม่ได้ดังแค่ลิง แต่ยังมี แต่ยังมีของดีที่ขึ้นชื่ออย่าง “กระท้อนหวาน” ที่เป็นของดีขึ้นชื่อ แถมยังมีประวัติศาสตร์ว่า “กระท้อน” มีต้นกำเนิดจากที่นี่ ไปพิสูจน์ความอร่อยกันเลย
 

จังหวัดลพบุรี พูดมาแล้วคงนึกถึงลิง หรือศาลพระกาฬ เป็นสิ่งแรกๆ แต่เชื่อไหมว่า ลพบุรี จริงๆ แล้วยังมีของดีเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่พูดชื่อไปแล้วต้องร้องอ๋อ กันแน่ๆ นั่นก็คือ กระท้อนหวานที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดของจังหวัดและได้รับรองจากGI เรียบร้อยแล้ว และตอนนี้เริ่มออกผลวางจำหน่ายกันแล้วที่บริเวณนชริมถนนสายลพบุรี-บ้านแพรก หากใครที่ใช้รถใช้ถนนผ่านเส้นทางดังกล่าวสามารถแวะอุดหนุนกันได้เลย เพราะว่าชาวสวนนำผลผลิตมาวางจำหน่ายขายตรงให้กับลูกค้า โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ในราคา ที่เป็นกันเอง เริ่มต้นจากโลละ 70 บาท ลูกใหญ่ ไปจนถึง 4 กิโล 100 บาทกันเลยที่เดียว ซึ่งในช่วงนี้ถือเป็นรุ่นแรกของกระท้อน

 


โดยจังหวัดลพบุรี มีชื่อเสียงมายาวนานเรื่องกระท้อน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี แถมได้รับการยกนิ้วให้ว่ามีรสชาติดีที่สุดในโลก คือ พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์ทับทิม พันธุ์นิ่มนวล และพันธุ์อีล่า แต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันดังนี้
 

พันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของ ต.ตะลุง มีรสหวาน เปลือกนิ่ม และเม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย รสชาติอร่อย เป็นกระท้อนที่จําหน่ายได้สูงสุด เป็นที่นิยม บริโภคมากที่สุด เนื้อจนถึงเปลือก รสชาติหวานอมเปรี้ยวกลมกล่อม ไม่ฝาด ปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวาน
 

พันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของ ต.ตะลุง มีรสหวาน เปลือกนิ่ม และเม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย รสชาติอร่อย เป็นกระท้อนที่จําหน่ายได้สูงสุด เป็นที่นิยม บริโภคมากที่สุด เนื้อจนถึงเปลือก รสชาติหวานอมเปรี้ยวกลมกล่อม ไม่ฝาด ปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวาน

 


พันธุ์อีล่า เป็นพันธุ์ที่มีผู้นิยมปลูกและบริโภคกันมาก ตลาดมีความต้องการสูง ราคาแพง จะออกดอกและเก็บเกี่ยวช้ากว่าพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 30 วัน ซึ่งนับตั้งแต่ดอกบานถึง เก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน กระท้อนพันธุ์นี้มีผลขนาดใหญ่ โดยโตเต็มที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม
 
 
พันธุ์ทับทิม กระท้อนสายพันธุ์ดั้งเดิม ของ ต.ตะลุง แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก ความนิยมปลูกน้อยกว่าพันธุ์อื่น ผลเล็กกว่ากระท้อนอื่น 3-4 ลูก/กก.ได้เนื้อหนาเป็นปุยฟู รสหวาน หากได้ชิมติดใจไม่แพ้สายพันธุ์อื่นแน่นอน
 

ปัจจุบันกระท้อนหวานตะลุง ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2561 โดยกระท้อนยังสามารถนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าอื่นๆ ได้ เช่น กระท้อนแช่อิ่ม กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนกวน กระท้อนหยี เป็นต้น

 


ยิ่งใหญ่แบบนี้ ก็เพราะตามประวัติแล้ว “กระท้อนหวาน” ลพบุรี มีต้นกำเนิดเมื่อปี 2489 โดย “ปู่พร้อม ยอดฉุน” นำต้นกระท้อนจากนนทบุรีมาปลูกในพื้นที่ตำบลตะลุง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า พันธุ์นิ่มนวล และเริ่มขยายพันธุ์จนเรื่อยมา ซึ่งผลที่ได้ผลกระท้อนออกมามีคุณภาพที่ดีมาก แถมรสชาติอร่อย หวานกว่ากระท้อนจากแหล่งปลูกอื่น เพราะที่ลพบุรีมีต้นทุนด้านดินที่ดีเหมาะกับกระท้อนมาก เพราะริมแม่น้ำลพบุรีเป็นดินน้ำไหลทรายมูล ดินทรายหวาน ทำให้ผลผลิตที่อออกมารสชาติถูกใจผู้บริโภค จากนั้นจึงเป็นที่สนใจของเกษตรกรนำมาปลูกขยายพันธุ์กระท้อนหวาน ขอฃ 3 ตำบลริมแม่น้ำลพบุรี ได้แก่ ตำบลตะลุง ตำบลโพธิ์เก้าต้น และตำบลงิ้วราย นับแต่นั้น “กระท้อนหวาน”

หน้าแรก » ภูมิภาค