วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 15:40 น.

ภูมิภาค

แห่ส่องเลขเด็ดพิธีเททองหล่อหัวใจพระศรีอริยเมตไตรย์รอบหนึ่งพันปี

วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 10.47 น.

พระพรหม วชิรานุวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค3 เจ้าอาวาสวัด บพิตรพิมุขวรวิหาร กรุงเทพ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีเททองหล่อหัวใจพระศรีอริยเมตไตรย์ เพื่อบรรจุลงในพระศรีอริยเมตไตรย์จำลอง ซึ่งทางวัดได้จัดหล่อขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบนับพันปีหลังทำพิธีหล่อ หลวงพ่อพระศรีอริยเมตรไตรย์องค์ประดิษฐานประจำวัดไลย์องค์แรก โดยจัดขึ้นที่ บริเวณ ณ ลานวิหารพระศรีอาริย์ วัดไลย์ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี  ซึ่งมีประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี และทั้งประเทศเข้าร่วมพิธีกันเป็นจำนวนมาก

สำหรับพิธีเททองหล่อหัวใจพระศรีอารย์เมตไตรยและเททองหล่อพระศรีอารย์ฯจำลอง ในครั้งนี้ก่อนพิธีเททอง ได้มีพิธีบวงสรวงเมื่อเวลา18.09 นาฬิกา และพิธีสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเวลา 18.19 นาฬิกา โดยมี พรหมวชิรานุวัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3เจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร เป็นประธานพิธีเททองหล่อหัวใจพระศรีอริยเมตไตรย์ และหล่อองค์จำลองพระศรีอารย์ในรอบหนึ่งพันปี  โดยมี พระครูสมุห์พรเทพ จนฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา  รักษาการเจ้าอาวาสวัดไลย์ ประธานจัดงานพิธีเททองหล่อหัวใจพระศรีอารย์ เพื่อให้ประชาชนและพุทธศาสนิกชนได้กราบไหวบูชาโดยมีพระเกจิชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมพิธีนั่งปลุกเสกกลางแสงจันทร์ โดยได้มีชาวบ้านต่างเข้ามาร่วมพิธีพร้อมส่งเลขเด็กในการเททองหล่อหัวใจพระศรีอริยเมตไตรย์ในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่ได้เลขกันไปอย่างเช่นเลข 12-21 ซึ่งชาวบ้านจะได้นำไปเสี่ยงโชคกันในงวนวันที่16พค.2568 นี้
 
สำหรับ วัดไลย์   อายุมากกว่าหนึ่งพันปี ก่อสร้างมาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยาคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัยขอบเรืองอำนาจในลธโว้ธานี ตั้งอยู่อยู่ริมน้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า "วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา
 
หากจะกล่าวว่า วัดไลย์ เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์พอ ๆ กับมีคุณค่าทางจิตใจแก่ชาวลพบุรีก็คงจะไม่ผิดนัก เนื่องด้วยอายุอานามของวัดที่เก่าแก่ เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีลายภาพของเก่าปั้นเรื่องทศชาติและเรื่องปฐมโพธิ์ อันงดงาม และเป็นสถานที่ประดิษฐานพระศรีอาริย์ จนกระทั่งเกิดไฟไหม้พระวิหารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระศรีอาริย์ลงมาปฏิสังขรณ์ที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันได้ก่อสร้างวิหารสำหรับ ประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นมาใหม่ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจัตุรมุขแลดูสง่างาม ภายในวัดยังมีมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองลพบุรีให้ชมอีกมากมาย เช่น พระวิหาร สถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น ที่มีประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช ภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติและเรื่องปฐมสมโพธิ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ วิหารรูปมณฑปยอดปรางค์ และพิพิธภัณฑ์ประจำวัด ซึ่งมีของเก่ามากมายให้ได้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ เป็นต้น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์และชิ้นงานโบราณคดี นอกจากนี้ ทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 วัดไลย์จะมีประเพณีชักพระศรีอาริย์  โดยมีการจัดขบวนอัญเชิญพระศรีอาริย์ขึ้นบุษบกและช่วยกันชักลากแห่ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตำนานพระศรีอาริยเมตไตรย วัดไลย์ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
 
พระศรีอริยเมตไตรย" ประดิษฐานวัดไลย์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มีพุทธลักษณะศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 92 เซนติเมตร สูง 107 เซนติเมตร วัสดุสำริดลงรักปิดทอง รูปหล่อพระศรีอาริย์ หรือพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งหล่อแบบพุทธสาวก คือ ศีรษะโล้น ไม่มีเปลวรัศมี ลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญนั่งขัดสมาธิคล้ายปางมารวิชัย
 
ตามตำนานเล่าว่า ได้หล่อขึ้นแทนองค์พระศรีอริยเมตไตรยซึ่งได้เคยจุติลงมาเกิดในท้องถิ่นและบวชอยู่ ณ วัดไลย์แห่งนี้ หลังจากที่ได้บำเพ็ญกิจแห่งพุทธศาสนาจนบริบูรณ์แล้ว ก็ดับขันธ์กลับสู่ภพภูมิสวรรค์ชั้นดุสิตชาวบ้านทั้งหลายมีความโศกเศร้าเสียใจอาลัย ในพระศรีอาริย์เป็นอย่างยิ่งจึงร่วมใจกันสร้างรูปเหมือนของท่านไว้สักการะแทนสืบมารูปหล่อพระศรีอาริย์ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ เป็นรูปสร้างใหม่ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากเกิดไฟป่าไหม้พระวิหาร รูปพระศรีอาริย์ชำรุดมาก

หน้าแรก » ภูมิภาค