วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 14:56 น.

ภูมิภาค

โรงพยาบาลสุรินทร์ จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการแพทย์เฉพาะทางด้าน โสต ศอ นำสิก

วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 17.03 น.

วันที่ 15 พ.ค. 68 นายแพทย์ชวมัย สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ ดำเนินการจัดโครงการ ความร่วมมือทางวิชาการแพทย์เฉพาะทางด้าน โสต ศอ นำสิกเรื่อง “ยกระดับสุขภาพโรคทำงหูและการได้ยินของประชาชน” เพื่อป้องกันโรคที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินถาวร ในทารกแรกเกิดส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และคุณภาพชีวิตระยะยาว พบว่าร้อยละ 60 ของการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้โดยการตรวจประเมินการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด การวินิจฉัยและรักษาภายในอายุ 6 เดือน จะท าให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูด อารมณ์และสังคมเหมาะสมและปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคทางหูน้ำหนวกเรื้อรังและโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบเรื้อรังในทุกช่วงวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการได้ยิน การทรงตัว การติดเชื้อทางระบบประสาท และการใช้ชีวิตในระยะยาว

โรงพยาบาลสุรินทร์ มีการดำเนินการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในทุกรายตั้งแต่ปี 2564 ในชื่อ “ตรวจหู ให้รู้ว่าหนูได้ยิน” เพื่อตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดให้ได้รับการรักษาฟื้นฟูการได้ยินภายในอายุ 6 เดือน โดยความร่วมมือของหลายหน่วยงานได้แก่ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม, กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม และกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก การตรวจการได้ยินทารกแรกเกิด ที่หอทารกแรกเกิด, ทารกแรกเกิดวิกฤต และห้องตรวจโสต ศอ นาสิกโดยในปี 2567 โรงพยาบาลสุรินทร์ มีเด็กเกิดมีชีพ 3569 คน เข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยิน OAE ทุกราย 100% ตรวจไม่ผ่าน 1.85% ลดลงจากปี 2565 (3.92%) และ ปี 2566(2.91%) ตามล าดับ และเด็กที่ตรวจคัดกรองไม่ผ่าน เข้ารับการตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง AABR 100% พบความผิดปกติการได้ยินระดับก้านสมอง 7 คน (0.19%) ได้ส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อการรักษาต่อไป

ในจังหวัดสุรินทร์มีโรงพยาบาลเครือข่ายในการตรวจคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดอีก 6 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลปราสาท โรงพยาบาลศรีขรภูมิ โรงพยาบาลท่าตูม โรงพยาบาลสังขะ โรงพยาบาลรัตนบุรี และโรงพยาบาลล าดวน และมีแผนพัฒนาเพิ่มโรงพยาบาลตรวจในอนาคตครั้งนี้กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสุรินทร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการ “ยกระดับสุขภาพโรคทางหูและการได้ยินของประชาชน” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านโรคหู โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรม

เชิงปฏิบัติการการตรวจคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิด และการผ่าตัดโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังแก่ผู้ป่วย จ านวน 20 ราย ท าให้เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย พัฒนาความรู้ด้านวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลสุรินทร์ และโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9 รวมถึงพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการร่วมกันพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
 

หน้าแรก » ภูมิภาค