วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 05:46 น.

ภูมิภาค

รองผู้ว่าฯนครศรีธรรมราช เปิดโครงการมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 10.00 น.

วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 นายสมชาย ลีหล้าน้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้ นายวิทยา  เขียวรอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นประธานเปิดโครงการมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  โดยมี นายพิทยา  เเต่งเกลี้ยง รองนายเเพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช  ว่าที่ ร.ท. สนั่น  พิบูลย์รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ปลัดอาวุโสอำเภอจุฬาภรณ์  ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรจุฬาภรณ์  สาธารณสุขอำเภอและภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุข ร่วมพิธีดังกล่าวข้างต้น  

ในการนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรด้านสาธารณสุข และติดตามผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยผู้เเทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์บรรยายสรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ  รวมถึงปัญหา/อุปสรรค ในการขับเคลื่อนงานตามภารกิจในพื้นที่

รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวขอบคุณบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เเละภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ที่ช่วยกันขับเคลื่อนงานนโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุขและนโยบายจังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ให้ความสำคัญด้านการสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่  โดยเล็งเห็นว่าโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพ เป็นหน่วยงานด้านการสาธารณสุขที่มีความสำคัญเเละมีความใกล้ชิดกับประชาชน ดังนั้น ในการให้บริการจึงขอให้บริการด้วยมิตรไมตรีอันดี เพื่อสร้างความประทับใจ ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชน รองผู้ว่า ฯ ได้เน้นย้ำให้บูรณาการ ในการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญของจังหวัด  3 เรื่อง  ได้แก่  
     
1. การป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดนครศรีธรรมราชภายใต้โครงการนครศรี โมเดล  2. การบริหารจัดการขยะในพื้นที่โดยขอให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอร่วมกับโรงพยาบาล ในการรณรงค์ ขอความร่วมมืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ประชาสัมพันธ์ให้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือนควบคู่กับการเป็นที่ปรึกษา เเละในการดูเเลสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ 3. ปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ขอให้มีการบูรณาการการทำงานผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อขับเคลื่อนงานการดูแลสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ((NCDs) การลดอุบัติเหตุทางถนน  การรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตร เป็นต้น โดยมุ่งเน้น การสร้างการรับรู้ การดูแลสุขภาพมากกว่า การรักษาเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพเป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป 

หน้าแรก » ภูมิภาค