การเมือง
"แผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องเล็ก" โยธาฯ ตรวจแล้วเกือบ 9 พันอาคารทั่วไทย ย้ำปลอดภัย 94%
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

จากเหตุแผ่นดินไหวช่วงปลายเดือนมีนาคม กรมโยธาธิการฯ ระดมทีมตรวจสอบร่วมกับวิศวกรทั่วประเทศ ยืนยันอาคารกว่า 8,300 หลังปลอดภัยใช้งานได้ แต่อาคาร 66 หลังต้องระงับใช้ทันที เตือนประชาชนอย่าละเลยการตรวจสอบ พร้อมเปิดสายด่วนให้คำปรึกษาและรับแจ้งตลอดเวลา
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2568 แถลงการณ์ ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ประจำวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2568
ขอรายงานผลการดำเนินการในวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568
ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.) ณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระรามที่ 6 ได้ร่วมกับสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่มีการแจ้งว่าได้รับความเสียหาย โดยมีการแบ่งอาคารในการตรวจสอบ ออกเป็น 3 กลุ่ม และขอรายงานผลการดำเนินงานตามการแบ่งกลุ่มอาคาร ดังนี้
อาคารกลุ่มที่ 1 ได้แก่ อาคารสาธารณะ อาคารชุมนุมคน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารราชการ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบร่วมกับ สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับการร้องขอ
สรุป ดำเนินการตรวจสอบอาคารภาครัฐ สะสมตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม – 11 เมษายน 2568 จำนวน 234 หน่วยงาน จำนวน 649 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 589 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จำนวน 58 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จำนวน 2 อาคาร
อาคารกลุ่มที่ 2 ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ โรงแรม คอนโดมิเนียม หอพัก ห้างสรรพสินค้าที่เป็นของภาคเอกชน อาคารเหล่านี้ เป็นอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารทุกปีอยู่แล้ว ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองมีผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียน จำนวนมากกว่า 2,600 ราย สามารถค้นหาผู้ตรวจสอบอาคารได้ผ่านเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง โดยกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานรับผิดชอบแจ้งเจ้าของอาคารให้ดำเนินการตรวจสอบอาคาร ตามหนังสือสั่งการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้สั่งการใหกรุงเทพมหานคร ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น แจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ตามมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรมตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัย รวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป และป้าย ให้ดำเนินการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของตัวอาคารโดยด่วน และรายงานผลการตรวจสอบให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น (กรุงเทพมหานคร) ทราบ พร้อมมาตรการควบคุมกรณีพบว่าอาคารมีความชำรุดในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้พักอาศัยและผู้ใช้อาคาร หากเจ้าของอาคารไม่ดำเนินการจะมีโทษตามกฎหมาย ซึ่งกรุงเทพมหานครได้แจ้งเจ้าของอาคารภาคเอกชนที่ต้องทำการตรวจสอบตามกฎหมายแล้ว จำนวนประมาณ 11,000 แห่ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบอาคารและรายงานให้กรุงเทพมหานครทราบ ซึ่งมีการแจ้งว่าได้มีการตรวจสอบแล้วจำนวน 3,518 แห่ง
อาคารกลุ่มที่ 3 ได้แก่ อาคารบ้านพักอาศัย ตึกแถว ห้องแถว และอาคารทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่พี่น้องประชาชนผ่าน Traffyfondue ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2568 ได้รับแจ้งทั้งหมด 19,270 เรื่อง และดำเนินการแล้วเสร็จ 18,367 เรื่อง
สำหรับอาคารในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้สั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบอาคาร ร่วมกับวิศวกรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและวิศวกรอาสาของเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันดำเนินการเช่นเดียวกับส่วนกลางและให้คำปรึกษาแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยสั่งการให้มีการตรวจสอบอาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล หรืออาคารหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้อาคาร ปัจจุบันได้มีผลการตรวจสอบอาคารในส่วนจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 8,235 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 7,780 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จำนวน 391 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จำนวน 64 อาคาร
สรุปผลการตรวจสอบอาคารภาครัฐที่ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว ตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม – 11 เมษายน 2568 ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมทั้งสิ้น จำนวน 8,884 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จำนวน 8,369 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จำนวน 449 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จำนวน 66 อาคาร นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองมีช่องทางให้เจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร หรือพี่น้องประชาชน สามารถรับทราบข้อมูลต่าง ๆ และให้คำปรึกษาผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของกรมฯ สื่อมวลชน โทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดสายด่วนสำหรับขอรับคำปรึกษาและแจ้งเหตุที่หมายเลข 1531 / 02 299 4191 และ 02 299 4312
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- กองทัพไทยไม่ถอย! ส่ง F-16 ร่วมภารกิจชายแดนตะวันออก สถานการณ์ขยายวงกว้าง 24 ก.ค. 2568
- กกต.เปิดระเบียบการแต่งตั้งผู้ช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งซ่อมสส.ศรีสะเกษ เขตเลือกตั้งที่ 5 24 ก.ค. 2568
- "ณพลเดช" หนุนเรือฟริเกตกองทัพเรือ 2 ลำ เผยสนับสนุนกองทัพป้องแผ่นดินไทยเต็มที่จากเขมร 24 ก.ค. 2568
- วิกฤติชายแดนเดือด! ทบ.แจงกัมพูชาเปิดฉากยิง ทหารไทยตอบโต้ – เหยียบกับระเบิดเจ็บสาหัส ไทยปิด 4 ด่านสำคัญ 24 ก.ค. 2568
- เดือดถึงเวทีโลก! กต.ประณามกัมพูชา ยิงรุนแรง–วางระเบิดซ้ำ แถลงกร้าว "ไม่ทนอีกต่อไป" 24 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
ปั้นข่าวไร้ข้อเท็จจริง! "พลพีร์" ซัด "ทักษิณ" ปมเหน็บ "อนุทิน" เรียก ขรก.ไปรับ ลงพื้นที่ศรีสะเกษ 20:31 น.
- ชาวพุทธตั้งคำถามในสังคมไทยร่วมสมัย "สตางค์–สตรีเป็นภัยของพระสงฆ์หรือแค่วาทกรรม" 18:01 น.
- "ทักษิณ" เดือด! หากพิสูจน์ได้ระเบิดใหม่มาจากกัมพูชา ต้องประท้วงทันที ย้ำชัดไม่คุย "ฮุนเซน" อีก หวั่นถูกอัดเทปซ้ำ 17:46 น.
- แม่ทัพภาคที่ 2 ชี้เป็นการละเมิดอธิปไตย ยืนยันกับระเบิดกว่า 100 ลูกไม่ใช่ของไทย – เตรียมยื่นเรื่อง UN ผ่านอนุสัญญาออตตาวา 17:23 น.
- "ธีรรัตน์" เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูพานน้อย แลนด์มาร์คทางธรรมชาติของจังหวัดหนองบัวลำภู 17:10 น.