วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 11:12 น.

การศึกษา

ไชโยพบแล้ว!แผนขัดขวางปัญญาประดิษฐ์(AI)ครองโลก

วันอาทิตย์ ที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2561, 22.02 น.

ไชโยพบแล้ว!แผนขัดขวางปัญญาประดิษฐ์(AI)ครองโลก

 

ขณะนี้ทั้งโลกต่างหวั่นเกรงว่า หากปล่อยให้มีการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligenc) หรือเอไอ(AIX อย่างก้าวกระโดดเรื่อยไป ในที่สุดสักวันหนึ่งมนุษย์จะต้องตกเป็นทาสของเอไอที่มีความสามารถล้ำเกินคนไปหลายขุม จึงทำให้มีผู้เสนอแผนการยับยั้ง เอไอ เสียแต่วันนี้  ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์สองรายคือ ดร. มิเกล ทราซซี จากมหาวิทยาลัยซอร์บอน์ของฝรั่งเศส และดร. โรมัน ยัมโปลสกี จากมหาวิทยาลัยลุยส์วิลล์ของสหรัฐฯ ได้เสนอแนวคิดลงในบทความที่เผยแพร่ทางคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org


 

นักวิทยาศาสตร์สองรายสามารถทำให้ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถทำได้ทุกอย่างเหมือนกับใช้สมองมนุษย์ (Artificial General Intelligence - AGI ) มีความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น หลังลดทอนขีดความสามารถในการคิดคำนวณและความจำลงบ้าง แม้ในปัจจุบันมนุษย์จะยังไม่สามารถสร้างปัญญาประดิษฐ์ในระดับดังกล่าวขึ้นมาได้ก็ตาม

 

ปัจจุบันนี้มีแชตบ็อต (Chatbot) ที่เป็นโปรแกรมสนทนาอัตโนมัติทางออนไลน์ ซึ่งถูกตั้งค่าการทำงานให้พูดจาผิดพลาดได้บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบางครั้ง เพื่อให้ฟังดูเป็นธรรมชาติเหมือนพูดคุยกับคนจริง ๆ มากขึ้น

 

แผนการดังกล่าวคือการสร้าง "ความโง่ประดิษฐ์" (Artificial Stupidity) ขึ้นมาต่อกรกับเอไอ โดยใส่รหัสของความโง่ประดิษฐ์ลงในโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างข้อจำกัดในการทำงานและประมวลผลบางอย่าง โดยกำหนดให้เอไอมีความสามารถในบางเรื่องไม่เหนือไปกว่ามนุษย์

 

"การทำให้เอไอมีข้อด้อยทางสติปัญญานั้นทำได้หลายทาง เช่นการป้อนอคติแบบเดียวกับที่มนุษย์มีลงไปในกระบวนการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ หรืออาจวางโปรแกรมให้เอไอมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยม เพื่อที่จะได้ไม่พยายามพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งอาจเป็นหนทางก่อกำเนิดเอไอที่มีความชั่วร้ายได้" บทความดังกล่าวระบุ
 


อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางรายมองว่า การใช้ "ความโง่ประดิษฐ์" กับเอไอนั้น จะต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ไปลดทอนความสามารถของปัญญาประดิษฐ์มากจนเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ปล่อยให้เอไอพัฒนาตนเองไปอย่างสุดขั้ว จนมนุษย์ไม่สามารถจะเข้าใจและติดตามได้ทันเช่นกัน ด้านดร. สจวร์ต อาร์มสตรอง จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดแสดงความเห็นว่า แผนการใช้ "ความโง่ประดิษฐ์" นั้นไม่เพียงพอที่จะควบคุมเอไอเอาไว้ได้ เพราะมันอาจลอบทำสำเนาตนเอง ขณะที่ยังไม่ถูกตั้งขีดจำกัดทางสติปัญญาเอาไว้ และอาจลอบพัฒนาตนเองไปในทางที่มนุษย์คาดไม่ถึงจนได้ (ที่มา: ภาพและข้อมูลจาก https://www.bbc.com/thai/international-45349416?ocid=socialflow_facebook,วันที่30 ส.ค.2561) 

 

ขณะที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย จ.เชียงราย ได้แนะว่า  เอไอ ต้องสามารถตอบสนองด้านสันติภาพ Ai ต้องไม่รับใช้ความรุนแรงและสงคราม ซึ่งโลกนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เวลาจะพัฒนาสิ่งใดจะมีผลกระทบเกิดขึ้น เพื่อให้สังคมโลกตระหนัก ถ้าเราพัฒนาที่ปราศจากสติจะนำไปสู่ความล้มสลายของมนุษยชาติ เราจึงต้องตระหนักในเรื่องสติสมาธิภาวนา ปัจจุบันความต้องการของคนต่างชาติต้องการมาเรียนสติมาธิภาวนา คนทั้งโลกต้องการสมาธิภาวนา เพราะสติสมาธิภาวนาเป็นฐานของสันติภาพ(ที่มา : "พระว.วชิรเมธี"ชี้พัฒนาAIต้องตอบสนองด้านสันติภาพ http://www.banmuang.co.th/news/education/123596,วันที่ 31 ส.ค.2561)

 

ขณะเดียวกันประเทศสังกัด UK ได้ว่างกรอบจริยธรรมข้อมูลของ Department for Digital, Culture, Media & Sport โดยระบุว่า Data Ethics คือสาขาที่เกิดขึ้นใหม่ของจริยธรรมที่ใช้ซึ่งอธิบายการตัดสินและวิธีการที่เราทำเมื่อสร้างวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างเหมาะสม และต้องใช้วิธีการแบบองค์รวมผสมผสานการปฏิบัติที่ดีในเทคนิคคอมพิวเตอร์จริยธรรมและการประกันข้อมูล

 

Data Science ในมุมของ Data Ethics: คือการใช้ Data Science อย่างเหมาะสม โดย Data Scienceหมายถึง การวิเคราะห์โดยใช้วิธีการอัตโนมัติเพื่อดึงความรู้จากข้อมูลครอบคลุมเทคนิคต่างๆมากมาย
โดยต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางสังคมของข้อมูลและอัลกอริธึมที่ใช้ปฏิบัติและขั้นตอนการประกันคุณภาพที่ต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างดี

 

จริยธรรมข้อมูลมีทั้งหมด 7 ข้อคือ 1. ต้องเริ่มด้วยความต้องการของผู้ใช้ที่ชัดเจนและประโยชน์สาธารณะ   2.  ตระหนักถึงกฎหมายและหลักปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 3.  ใช้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ 4. เข้าใจข้อจำกัด ของข้อมูล 5. ตรวจสอบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและ skillset 6. ทำให้งานของคุณโปร่งใสและรับผิดชอบ  7.ฝั่งความรับผิดชอบในการใช้ข้อมูลเข้าไปด้วย (ที่มา: ดูรายละเอียดได้ที่ Guidance- Data Ethics Workbook https://www.gov.uk/government/publications/data-ethics-workbook/data-ethics-workbook,เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 ส.ค.2561,อ้างในเฟซบุ๊ก Datalent Team,วันที่2ก.ย.2561)

หน้าแรก » การศึกษา