วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 04:59 น.

การศึกษา

'มจร'ระดมปราชญ์ถกนำพระไตรปิฏก สู่วิถีปฏิบัติในชีวิตและสังคมไทยยุคดิจิทัล

วันจันทร์ ที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 16.07 น.

สถาบันพระไตรปิฏก มจร ระดมปราชญ์ถก เตรียมพัฒนาติปิฏกาจารย์อธิบาย ตีความ เพื่อตอบปัญหาและข่มปรัมปวาท  พร้อมนำลงสู่วิถีของการปฏิบัติในชีวิต และสังคมไทยยุคดิจิทัล

 

วันที่ 5 สิงหาคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา สถาบันพระไตรปิฏกศึกษา และ วิทยาเขตบาลีศึกษาพุทธโฆส มจร นำโดยพระศรีศาสนบัณฑิต,ผศ. ผู้อำนวยการสถาบันพระไตรปิฏกศึกษา  ได้จัดสัมมนาเชิงพัฒนา เรื่อง "พระไตรปิฏกคงอยู่ พระพุทธศาสนายั่งยืน"  ทั้งนี้ พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดี  และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมแสดงความเห็นและให้ข้อสังเกตเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และนำพระไตรปิฏกลงสู่วิถีของการปฏิบัติในชีวิต และสังคมไทย

ทั้งนี้มหาจุฬาฯ ได้จัดตั้งสถาบันพระไตรปิฏกศึกษาขึ้น ในปี 2560 เพื่อสนองตอบพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ที่มุ่งให้มหาจุฬาฯ ศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง อีกทั้งมุ่งให้สถาบันพระไตรปิฏกศึกษาได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย จัดหลักสูตรระยะสั้น และตอบคำถามสังคมที่สนใจและมีข้อขัดแย้งประเด็นต่างๆ ในพระไตรปิฏกกับปัญหาสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาติปิฏกาจารย์เพื่อทำหน้าที่ในศึกษาวิจัย และเป็นหลักในการนำเสนอหลักการที่แท้จริงในพระไตรปิฏกแก่สังคมต่อไป 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันนี้หลายวงการได้นำปัญญาประดิษฐ์  ( artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ (จินตามยปัญญา)  ข้อมูล (Data) แล้วสังเคราะห์พัฒนา(ภาวนามยปัญญา) เป็นนวัตกรรมต่างๆ รวมถึงในวงการพระพุทธศาสนาอย่างเช่นประเทศจีนนำได้ว่าผู้เป็นนำด้านการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ โดยพัฒนาเป็นหลวงพ่อทำหน้าที่เทศน์แทนพระเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้พัฒนาเป็นเจ้าแม่กวนอิมและมีการจัดแสดงเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชาโลก 

และในการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกที่ประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพก็ได้ออกปฏิญญาฮานามออกมาโดยระบุที่จะนำปัญญาประดิษฐ์มาเป็นเครื่องมืองานพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เชื่อแน่ว่าจะทำให้งานตีความ วิเคราะห์ สังเคราะห์หลักธรรมในพระพุทธศาสนาแล้วประยุกต์ใช้วิถีชีวิตประจำวันเหมาะกับยุคดิจิทอลมากขึ้นและมีพลัง
  

หน้าแรก » การศึกษา