วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 15:52 น.

การศึกษา

"อธิการบดี มจร"ย้ำงานวิจัยต้อง ยึดหลักอริยสัจ 4 สังคมต้องการ

วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564, 16.40 น.

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "หลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนากับงานเขียนการวิจัย" ซึ่งจัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มจร ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้สนใจประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร นิสิตทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค และบุคคลทั่วไป  เพื่อเป็นการบริการวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัย มจร โดยมีประเด็นสำคัญตอนหนึ่งว่า การทำวิจัยเกี่ยวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมควรเกิด 2 ระดับ คือ 1)ได้แนวทางปฏิบัติ  และ 2)เป็นแรงจูงใจให้เกิดการปฏิบัติ 

"ส่วนในกรณีงานวิจัยแบบ How to ควรเดินตามกรอบของอริยสัจ 4  ถือว่ามีความชัดที่สุดแล้วในบรรดาหลักธรรมประกอบด้วย  วิเคราะห์สภาพปัญหาให้ชัดเจน ศึกษาสาเหตุที่แท้จริง  หาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง จึงนำไปสู่เป้าหมาย"   อธิการบดี มจร กล่าวและว่า

นักวิชาการต้องเขียนเก่งมิใช่พูดเก่ง พูดเก่งแต่เขียนไม่เก่งยังไม่ชื่อว่าเป็นนักวิชาการ หลักในการทำวิทยานิพนธ์ถือว่าส่วนหนึ่งของการศึกษา มิใช่อุดมคติมากจะทำให้ไม่จบ การทำวิทยานิพนธ์ต้อง 1) เรื่องที่เราถนัด  2) เรื่องที่เราชอบ 3) เรื่องที่สังคมต้องการ อย่างกรณีโปรแกรมหลักสูตรที่ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว 

ความจริงเรารับระดับอาจารย์และผู้มีประสบการณ์จริงๆ  เช่น กรณีจบปริญญาตรีแล้วมาเรียนต่อในระดับปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยจะต้องเข้มงวดที่สุดรวมถึงหลักสูตรที่จัดหลักสูตรลักษณะนี้ ควรเข้มงวดด้านการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ จึงขอให้นักวิจัยทุกท่านจงศึกษาให้ลึกซึ้งแล้วออกไปช่วยเหลือสังคม  การจัดฝึกอบรมด้านการวิจัย ถือว่าเป็นการบริการวิชาการ ซึ่งท่านอธิการบดีชื่นชนบัณฑิตวิทยาลัยในการจัดโครงการ จึงขอให้รวบรวมคำบรรยายคำสอนของครูอาจารย์เพื่อยกระดับไว้เพื่อการศึกษาต่อไป       

พระสุธีรัตนบัณฑิต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร  ได้ยกตัวอย่างงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนาให้สอดรับการวิจัยระดับประเทศ มหาวิทยาลัย และเป็นงานวิจัยรับใช้สังคมต่อไปว่า  งานวิจัยในระดับนิสิตและคณาจารย์จะต้องยกระดับเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ลงพื้นที่จริง ลงพื้นที่ทำกิจกรรมจริง สำรวจพื้นที่ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการ สร้างการมีส่วนร่วม สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ลงไปพัฒนามิติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาคนในทุกระดับ งานวิจัยต้องได้องค์ความรู้ ได้กระบวนการ ได้นวัตกรรม และนำไปใช้ในสังคม เป็นงานวิจัยรับใช้สังคมเป็นงานวิจัยขึ้นห้างมิใช่งานวิจัยขึ้นห้าง ถือว่าเป็นการยกระดับการวิจัยให้มีคุณภาพ การวิจัยของหลักสูตรสันติศึกษาจึงสามารถตอบโจทย์ของหลักสูตร มหาวิทยาลัย กระทรวง ประเทศ ซึ่งมุ่งให้นิสิตทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ เชิงพัฒนากับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ พัฒนาคนในพื้นที่ชุมชน ลงพื้นที่วิจัยจริงในพื้นที่ นับว่าเป็นงานวิจัยที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและรับใช้สังคมต่อไป  


     
กลุ่มวิจัยปี 2563  เป็นแผนวิจัยแบบบูรณาการ จึงมีแผนการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์โดยใช้หลักคำสอนทางศาสนา  21  โครงการ เพราะเรายังมีความขัดแย้งในระดับศาสนา รวมถึง การเมืองประเด็นการวิจัยเชิงสันติภาพ ประเด็นความไม่สงบสุข คือ 1 )กลุ่มความไม่สงบเชิงรุนแรง ภัยสงคราม เช่น การก่อการร้าย ล้างเผ่าพันธุ์  2)กลุ่มความไม่สงบสุขเชิงคุกคาม ภัยคุกคาม เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เศรษฐกิจ 3)กลุ่มไม่สงบสุขภายใน ภัยภายใน เช่น อบายมุข ทุจริต กิเลส  4)กลุ่มความไม่สงบสุขในกลุ่มชุมชน องค์กร สังคม เครือข่าย เช่น ดาบสองคมของเทคโนโลยี ความไม่ไว้วางใจ  

งานวิจัยสันติศึกษาจะต้องลงไปแก้ปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกัน ประเด็นการวิจัยเพื่อสันติภาพจึงสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นวิจัย ประกอบด้วย   
     
1) ประเด็นการวิจัยสันติภาพ คือ  การจัดการผู้อพยพ การสร้างสันติภาพ การเจรจาไกล่เกลี่ย การสร้างนวัตกรรมทางการเมือง การวิจัยยุติความรุนแรง การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม 
     
2) ประเด็นการวิจัยสันติภาพ คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ การคุ้มสิทธิมนุษยชน การสร้างความสมดุลทางดศรษฐกิจ สังคม   
     
3) ประเด็นการวิจัยสันติภาพ คือ การสร้างพลังแห่งขันติ การพัฒนาสติ การสร้างกุศลธรรม การลดอัตตา การยอมรับความเป็นจริง 
      
4) ประเด็นการวิจัยสันติภาพ คือ การสร้างความไว้วางใจในองค์กร การสร้างองค์กรแห่งสติ สันติ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การเปลี่ยนจากพวกกูเป็นพวกเรา ความหลากหลาย
      
แนวทางการพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อสันติภาพ จะต้อง 1)ออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม 2)กำหนดประเด็นการวิจัยตามประวัตถุประสงค์ 3)การทำแผนปฏิบัติการวิจัยให้เป็นขั้นตอน 4)การวางแผนการเขียนรายบทและวิเคราะห์ให้เหมาะสม 5)การพัฒนาเชิงพื้นที่  การออกแบบวิจัยจึงต้องรู้เป้าหมายการวิจัยของเราให้ชัดเจน กำหนดขอบเขตเนื้อหาวัตถุประสงค์การวิจัยให้ชัด การวิจัยของเราเป็นงานวิจัยแบบใด เช่น คุณภาพ วิจัยเชิงปฏิบัติการ และ ทดลอง กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้ข้อมูล และออกแบบการวิจัยที่ตอบโจทย์การวิจัย

หน้าแรก » การศึกษา