การศึกษา
ม.มหิดล วิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ "เพอรอฟสไคต์"
วันเสาร์ ที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2564, 16.01 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ม.มหิดล วิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ "เพอรอฟสไคต์"
ผศ. ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 27 พ.ศ.2563 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จากผลงานวิจัย เรื่อง "เทคโนโลยีเพอรอฟสไคต์สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับใช้ในอาคาร" ซึ่งการสร้างองค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากเพอรอฟสไคต์ (Perovskite) ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษที่นำมาดัดแปลงเพื่อให้สามารถใช้กับพื้นที่ที่มีแสงน้อย หรือภายในอาคาร ทำงานโดยเมื่อมีแสงในอาคารมากระทบแล้วจะทำให้เกิดการแตกตัวของประจุไฟฟ้าตามหลักการของทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) ซึ่งใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยในระดับไมโครวัตต์ เหมาะสำหรับเซ็นเซอร์ (Sensors) หรืออุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ ในโรงงาน หรือบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โดยจะทำให้เซ็นเซอร์สามารถทำงานได้สอดคล้องกับการทำงานของมนุษย์ หรือผู้ใช้ (User) ซึ่งจะทำงานเฉพาะเวลาที่มีการเปิดไฟเท่านั้น
ข้อดีของการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ คือ เป็นพลังงานสะอาด และสามารถพัฒนาให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าแบตเตอรี่ ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิต และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการสามารถลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อนได้ ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ ได้มีการวางแผนพัฒนางานวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน การผลิตเป็นนวัตกรรม และการนำไปทดสอบก่อนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อใช้จริง ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับสารเคมีองค์ประกอบ และกำลังจะรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นขอจดสิทธิบัตรต่อไป นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นอาจารย์ยังได้ส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมพัฒนางานวิจัย จนเมื่อสามารถผลิตเป็นชิ้นงาน และผ่านการทดสอบคุณภาพแล้ว จะผลักดันต่อยอดสู่การทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา ตามแนวคิดของมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ Entrepreneurial University เพื่อการมุ่งสู่ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยอันดับโลกต่อไปอีกด้วย
ผศ. ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามปณิธาน "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่ได้สร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย และพัฒนาต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมคุณภาพที่ใช้งานได้จริงอย่างครบวงจร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงความตั้งใจในการทำงานวิจัยและพัฒนานักศึกษาว่า เกิดจากแนวคิด "The Better Version of Oneself" คือ การช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบของตัวเอง ให้ดีขึ้นให้มากที่สุด ในเวลาอันจำกัด เพื่อให้ทันและเพียงพอต่อการผลิตทรัพยากรที่สำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประเทศ และนานาชาติ ในโลกยุคดิสรัปชัน
Email ข่าวการศึกษา เยาวชน ศิลปวัฒนธรรม saowaporn@hotmail.com และ bat_mamsao@yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- "ปฏิญญาโฮจิมินห์" พุทธศาสนิกชนทั่วโลกประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน หนุนศักดิ์ศรีมนุษย์และสันติภาพถ้วนหน้า 8 พ.ค. 2568
- นักเรียนปลอดภัย ห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด 8 พ.ค. 2568
- คณาจารย์นิติศาสตร์ร่วมหารือผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น แก้ปัญหาไฟฟ้า ถนน ตำบลพลูเถื่อน 8 พ.ค. 2568
- สมัครเรียนปริญญาตรี วันนี้! ความสำเร็จสร้างได้ ที่ ม.รามคำแหง 8 พ.ค. 2568
- มก. เปิดแล้ว ! หลักสูตรพลเมืองเข้มแข็งสำหรับผู้นำอาวุโส รุ่นที่ 1 8 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
เยาวชนวิทย์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ชนะเลิศ Thailand Junior Water Prize 2025 15:48 น.
- "ศุภชัย" ชี้มหาวิทยาลัยต้องไม่ใช่แค่ “แหล่งสอนหนังสือ” แต่ต้อง “ลงไปอยู่ในใจของชุมชน” เป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหา สร้างโอกาสใหม่ให้กับชุมชน 11:14 น.
- น้ำมันหอมระเหย “ดอกมะลิลา”สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลาย 10:32 น.
- คิกออฟ TU Care & Ageing Society ธรรมศาสตร์’ ประกาศความพร้อมเป็นกำแพงพิงหลังใน”สังคมสูงวัย” 07:07 น.
- อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำเจ้าอาวาสวัดดอนยางร้องขอออกโฉนดที่ดิน 18:43 น.