การศึกษา
"โสภณ" ลั่น"ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ต้อง ปฏิวัติการศึกษา เท่าเทียม ทั่วถึง ทันยุค เพื่อพลิกโฉมการศึกษาไทย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 นายโสภณ ซารัมย์ สส.พรรคภูมิใจไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะประธานกรรมาธิการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ดร. สฤษดิ์ บุตรเนียร สส.พรรคภูมิใจไทย จังหวัดปราจีนบุรี กรรมาธิการ พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการ ประชุมสรุปร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ณ วังยาวรีสอร์ท จังหวัดนครนายก
นายโสภณกล่าวว่าเป็นการยกร่าง พรบ. ที่ต้องตอบโจทย์อนาคตของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างคุณภาพให้กับผู้เรียน การจัดการศึกษาของประเทศจำเป็นต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงของประชากร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงต้องปฏิวัติการศึกษา เท่าเทียม ทั่วถึง ทันยุค เพื่อพลิกโฉมการศึกษาไทย
คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดประชุม เสวนา การยกร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ โดยลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และได้นำข้อมูลมาวิภาค นับ 10,000 คนทั่วประเทศ ร่วมกันหลายภาคส่วน อาทิ คณะกรรมาธิการ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำองค์ต่างๆ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และในระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2567 ได้นำข้อมูลจากการวิภาคที่ผ่านมาหลายครั้ง นำมาหาข้อสรุปทบทวนในแต่ละประเด็น มีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1. ระบบการศึกษา ได้ปรับปรุงให้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ในระบบ กับ การศึกษาตามอัธยาศัย และได้เน้นให้เกิดความชัดเจน ทั่วถึง มีคุณภาพ
2. การถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ของ สพฐ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ สถานที่ ให้ใช้ร่วมกันให้เกิดความคุ้มค่าและมีคุณภาพ
4. หลักสูตร ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลาง ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา
5. สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภารงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา ทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และจะดำเนินการให้ลงตัวที่สุด
6. สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภาระงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และได้รับปรับโครงสร้างดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น
7. การศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสถานศึกษา กับสถานประกอบการ หรือสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาศให้กับผู้เรียนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่ง เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะในการทำงาน ค้นพบตนเอง ผู้จัดการศึกษา มีใบรับรองผลการศึกษาตามความเหมาะสม ร่างพรบ.ชุดนี้เป็นความร่วมมือจากทุกพรรคการเมือง ใช้เวลา 1 ปี ถือว่าเป็นการพลิกโฉมการศึกษาไทย นายโสภณกล่าว
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- "2 สมเด็จ" รับเป็นเจ้าภาพจัดพิธีกุศลศพ "เณร" เหยื่อโจรใต้ ผู้ว่าฯสงขลา ประกาศยุทธการ "ยุติความรุนแรงในพื้นที่ทุกรูปแบบ" 23 เม.ย. 2568
- “รมช.สุรศักดิ์” เผย กระทรวงศึกษา ไฟเขียว ยกเลิกบังคับแต่งชุดลูกเสือ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง 23 เม.ย. 2568
- วัดพระธรรมกายจัดสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญภาวนา เพื่อสันติภาพ - แผ่เมตตาให้ ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวไทยเมียนมาร์- 23 เม.ย. 2568
- “สมุดไทยนันโทปนันทสูตรคำหลวง”- หนังพระเจ้าช้างเผือก-เอกสารการก่อตั้งประชาคมอาเซียน” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ปี 68 23 เม.ย. 2568
- ถกแก้ปัญหาการให้วีซ่าแก่นักศึกษาต่างชาติ 23 เม.ย. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
วธ.เปิด “มหกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” วันแรกคึกคัก เจรจาธุรกิจ 70 คู่ ขยายตลาดสินค้าท้องถิ่นสู่สากล 18:15 น.
- มูลนิธิรามาธิบดีฯ รับมอบเงินสมทบทุน สร้างอาคารโรงพยาบาล 12:59 น.
- “เทคโนโลยีช่วยทุเรียนไทย" จากห้องแล็บราชมงคลสุวรรณภูมิ สู่สวนจันทบุรี 10:48 น.
- กรมศิลป์มอบเงินชดเชยการโยกย้ายชุมชนรอบโบราณสถานวัดช้าง อยุธยา 08:19 น.
- "วธ." เปิดเกมรุก Soft Power ไทย ดันผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมเจาะตลาด HoReCa 17:34 น.