วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 08:30 น.

การเมือง

กมธ.เหมืองแร่ฯสภาบุกสระบุรี หวังแก้ไขฝุ่นPM2.5เหมืองหินอย่างยั่งยืน

วันอังคาร ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 16.38 น.

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางศึกษาดูงานเรื่อง "การประกอบกิจการเหมืองแร่ การกำกับดูแลและการฟื้นฟูเหมืองแร่ ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี" ซึ่งนายประทวน สุทธิอำนวยเดช ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ เผยว่า ได้มาศึกษาตามอำนาจหน้าที่ของกรรมาธิการโดยศึกษาดูงานใน 3 ประเด็น คือ

1.ประเด็นการศึกษา (การกำกับดูแล ผลกระทบ จากขบวนการ ทำเหมืองแร่ และโรงโม่หิน) การอยู่ร่วมกันระหว่างเหมืองแร่ กับประชาชน การมีส่วนร่วม ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จากพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และผู้ประกอบการฯ เป็นผู้ให้ข้อมูล

2.ประเด็นการคัดค้าน การออกประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ ตำบลพุคำจาน (อำเภอ หน้าพระลาน) โดยประชาชน คาดว่า จะได้รับผลกระทบ จากการทำเหมืองแร่ ปัญหาฝุ่นละออง PM 10 และปัญหาด้านผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเรื่องราว การอนุญาต อยู่ในขั้นพิจารณา ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.ประเด็น การฟื้นฟูเหมือง เก่าในเขตพื้นที่ อ.บ้านหมอ ที่มีการทำเหมืองมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปี เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ถ้ามีการจัดการ และพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนในพื้นที่ ได้ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้าน บริโภค อุปโภค การเกษตร และการท่องเที่ยวโดยมีตัวอย่างของทางจังหวัดภูเก็ตที่มีการฟื้นฟูเหมืองแร่เก่า และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างดี โดยให้มีเจ้าภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบในการพัฒนาพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ทั้งนี้จากประเด็นการทำเหมืองที่มีประชาชนมาร้องเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องฝุ่นละอองที่มากกว่า PM2.5 แน่นอนว่าจะต้องมีการวางแผนและบูรณาการร่วมกัน ทั้งผังที่ดินที่ขอบเขตเหมืองจะสามารถมีได้ และเช่นกันขอบเขตของประชาชนที่อยู่ในระยะปลอดภัยจากการทำเหมืองก็ควรมีการกำหนดเช่นกัน ส่วนมาตรฐานการทำเหมืองรวมถึงผู้ประกอบการย่อยหิน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องมีมาตรฐานในการทำให้ฝุ่นละอองที่จะมีโอกาสฟุ้งกระจายให้มีมาตรฐานดังในต่างประเทศ อีกทั้งระบบขนส่งก็ควรมีมาตรฐานรถที่ต้องปิดคลุมให้มิดชิดหรือ หากจะเป็นไปตามมาตรฐานโลกก็ควรเป็นรถประเภทที่ออกแบบมาเพื่อขนถ่ายโดยตรง อีกทั้งระบบราชการจะต้องเข้มงวดทั้งการออกสัมปทานบัตร การรัดกุมของการตรวจจับของจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มีรถบรรทุกไม่มีมาตรฐานเข้ามาบรรทุกทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การช่วยเหลือและระบบเยียวยา จากภาครัฐทั้งในแง่เครื่องมือที่จะทำให้ฝุ่นลดน้อยลงที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้ผลดีรับรองคุณภาพมาแล้ว พร้อมกับการจัดเตรียมระบบสุขภาวะและพยาบาลให้ประชาชนในพื้นที่เขตทำเหมืองให้มีวิถีชีวิตที่ดี

หน้าแรก » การเมือง