วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 08:14 น.

การเมือง

วัคซีนโควิด-19 ชิโนแวคจากจีนถึงไทยแล้ว

วันพุธ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 10.05 น.

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานรับวัคซีน ป้องกันโควิด-19 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน "วัคซีนโควิด-19 คืนรอยยิ้ม ประเทศไทย" ล็อตแรก 2 แสนโดส ถูกขนส่งโดยเที่ยวบินขนส่งสินค้า TG 675 เส้นทางปักกิ่ง–กรุงเทพมหานคร ที่ได้เดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ใน เวลา 05.50 น. (เวลาท้องถิ่น) ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามกำหนดการในเวลา 10.05 น. ณ เขตปลอดอากรและคลังสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข, นายสาธิต ปีตุเตชะ รมช.สาธารณสุข, นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม, Mr.Yang Xi อุปทูต รักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และคณะผู้บริหารของทุกหน่วยงานเข้าร่วมในพิธี

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วัคชีนล็อตแรกวันนี้มาจาก ซิโนแวก ไลฟ์ซายน์ จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน (Sinovac Life Sciences Co.,Ltd., People’s Republic of China) ซึ่งเป็นบริษัทที่สามารถส่งวัคชีนให้ประเทศไทยได้ภายในเดือน ก.พ.64 ภายใต้การประสานงานจัดหา โดยสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย และมอบให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ดำเนินการนำเข้า ขึ้นทะเบียนยากับ อย.และกระจายไปสู่ประชาชน ฉีดให้กลุ่มเป้าหมายคนละ 2 โดส ห่างกัน 21 วัน และในเดือน มิ.ย.จะได้รับวัคชีนของแอสตราเซนเนกา 61 ล้านโดส เพื่อฉีดให้กับทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทยโดยสมัครใจ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ฟื้นเศรษฐกิจ คืนรอยยิ้มให้กับประเทศไทย

นายหยาง ซิน อุปทูตรักษาการฯ ได้กล่าวในพิธีว่า วันนี้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท ซิโนแวค ได้เดินทางมาถึงไทยอย่างราบรื่น นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของความร่วมมือป้องกันการแพร่ระบาดระหว่างจีนและไทย “วัคซีนโควิด-19 คืนรอยยิ้ม ประเทศไทย”  จำนวน 200,000 โดสที่มาถึงไทยวันนี้ เป็นวัคซีนล็อตแรกที่จีนส่งออกให้ไทย และเป็นวัคซีนล๊อตแรกที่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่รับวัคซีนผ่านช่องทางพาณิชย์ วัคซีนล๊อตนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นของไทย-จีน ตอกย้ำคำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนยืนยันว่า วัคซีนควรเป็นสินค้าสาธารณะที่ประชาชนเข้าถึงได้ เพื่อความปลอดภัยของประชาคมโลก อย่างไรก็ตามโควิด-19 ยังคงระบาดอยู่ทั่วโลก ทำให้ทั่วโลกมีภาระหน้าที่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และต้องร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ขอยืนยันว่ารัฐบาลจีนยินดีที่จะร่วมมือกับไทย เพื่อเอาชนะภาระหน้าที่เหล่านี้ เพื่อคืนรอยยิ้มและความสุขให้กลับมา

นายอนุทิน กล่าวว่า วัคชีนงวดที่ 2 จำนวน 800,000 โดส จะส่งมอบในเดือนมีนาคม และงวดที่ 3 จำนวน 1 ล้านโดสในเดือน เม.ย.64 รวมทั้งสิ้น 2 ล้านโดส โดยองค์กรเภสัชกรรมได้ร่วมมือกับบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการจัดเก็บวัคซีนทั้ง 2 ล้านโดสนี้ภายในห้องจัดเก็บยาเย็น และจะจัดส่งกระจายวัคชีนภายใต้มาตรฐานสากล ควบคุมอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 2 - 8 องศาเชลเซียส ไปยังโรงพยาบาลตามแผนการฉีดให้กับประชาชนที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลไทยในการดำเนินงานด้านการจัดส่งและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด 19 จำนวน 2 ล้านโคสนี้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

สำหรับแผนการฉีดวัคชีนโควิด-19 ระยะแรก ในเดือน มี.ค.-พ.ค.64 จำนวน 2 ล้านโดสนั้น จะฉีดให้กลุ่มป้หมายในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและข้มงวด, พื้นที่ควบคุมสูงสุด, พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมใน 18 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรสคร, กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก), ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, ตาก (แม่สอด), นครปฐม, สมุทรสคราม, ราชบุรี, ชลบุรี, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย), เชียงใหม่, กระบี่, ระยอง, จันทบุรี, ตราด และเพชรบุรี

โดยฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า อสม. บุคลกรด่านหน้า เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย ประชาชนทั่วไป และแรงานที่มีอายุ 18-59 ปี เน้นผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน โดยให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและคัดเลือกจากฐานข้อมูลการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล


          
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วัคซีนนี้ผลิตโดยบริษัทซิโนแวก ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน เชี่ยวชาญการวิจัย พัฒนา ผลิต และจำหน่ายวัคชีนป้องกันโรคระบาด ที่ผ่านมา ซิโนแวกเคยผลิตวัคซีนมาแล้วหลายตัว เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าเปื่อย
          
สำหรับวัคซีนโควิดของซิโนแวก เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีชื่อว่า "โคโรนแวค" (Coronvac) วัคชีนตัวนี้ ทำงานโดยการเหนี่ยวนำระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดีต้านโควิด 19 โดยแอนติบอดีจะยึดติดกับโปรตีนบางส่วนของไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกาย วัคซีนเชื้อตายเป็นเทคโนโลยีตั้งเดิมที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันโรค และสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเชียสได้ วัคซีนดังกล่าวได้มีการศึกษาในคนระยะที่ 1, 2 และ 3 ในประเทศบราชิล ตุรกี อินโดนีเซีย และชิลีแล้ว มีการรายงนผลว่าวัคชีนมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโควิด-19 ทำให้ในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว

ในการฉีดวัคซีนโควิด 19 "CoronaVac" คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มีข้อแนะนำว่า กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ฉีดในประชาชนอายุ 18-59 ปี จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ และมีการติดตามเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีนแต่ละเข็ม เป็นระยะเวลา 30 วันหลังฉีด โดยในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง แนะนำให้ฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์ ห้ามฉีดให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในภาวะควบคุมไม่ได้ ผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาทอย่างรุนแรง หญิงตั้งครรภ์ และควรระวังในการฉีดในกลุ่มหญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้ สามารถให้วัคซีนโควิด 19 ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิดอื่นได้ โดยเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 14 วัน และขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิค-19 สลับชนิดกัน ดังนั้น การฉีดวัดซีนทั้งสองเข็มควรเป็นวัคซีนยี่ห้อเดียวกัน

การบินไทยปฏิบัติการบินขนวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรก

พลอากาศเอกชัยพฤกษ์ดิษยะศรินประธานในที่ประชุมคณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่าในวันนี้(24ก.พ.)เมื่อเวลา05.50น.ตามเวลาท้องถิ่นสาธารณรัฐประชาชนจีนเรืออากาศเอกชาตรีพงษ์ศักดิ์ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการบินปฏิบัติหน้าที่นักบินที่1ได้ทำการบินด้วยเที่ยวบินขนส่งสินค้า(Cargo)ทีจี675เส้นทางปักกิ่ง-กรุงเทพฯขนส่งซีนป้องกันโรคโควิด-19ล๊อตแรกจำนวน200,000โดสจากบริษัทซิโนแวคไบโอเทจำกัด(SINOVACBIOTECHCO.,LTD.)สาธารณรัฐประชาชนจีนถึงประเทศไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเวลา10.05น.ตามเวลาประเทศไทยซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อำนวยความสะดวกให้เที่ยวบินนี้เดินทางมาถึงเร็วกว่าที่กำหนดเพื่อรักษาคุณภาพของวัคซีนและสามารถจัดส่งไปยังคลังโดยเร็วที่สุด
          
ทั้งนี้บริษัทการบินไทยฯได้ทำการบินด้วยเครื่องบินแบบแอร์บัสA350-900ซึ่งมีลำตัวกว้างขนส่งวัคซีนป้องกันโควิด-19ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ชนิดปรับควบคุมอุณหภูมิได้ระหว่าง-20Cถึง+20Cและอุปกรณ์บริการภาคพื้นเพื่อสนับสนุนเที่ยวบินขนส่งวัคซีนรวมถึงรถTruckColdRoomที่สามารถควบคุมความเย็นซึ่งจะช่วยปกป้องวัคซีนไม่ให้สัมผัสกับสภาวะอุณหภูมิสูงในระหว่างการส่งต่อพร้อมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการขนส่งและดูแลผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าประเภทที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าเช่นวัคซีนเวชภัณฑ์เป็นอย่างดีซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานGDP(GoodDistributionPractice)ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกทั้งนี้การบินไทยยืนยันว่ามีความพร้อมในการขนส่งวัคซีนล็อตต่อไปเพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โฆษก พท.ซัดรัฐบาลจัดอีเวนต์ตีปี๊บแห่รับวัคซีน  

น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการจัดอีเวนต์รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล็อตแรกจาก 2 ผู้ผลิตรวม 317,000 โดส ที่จะเดินทางมาถึงประเทศไทย ในวันที่24 กุมภาพันธ์นี้ ว่า เป็นการสร้างภาพให้ดูว่ารัฐบาลได้เร่งรัดการจัดหาวัคซีนให้กับประชาชน แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลไม่มีการวางแผนเร่งรัดการจัดหาวัคซีนมาตั้งแต่ต้น ทำให้ประเทศและประชาชนเสียโอกาส ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนฉีดวัคซีนให้กับประชาชนไปแล้วกว่า 50% ของจำนวนประชากร นอกจากจัดหาวัคซีนช้า ยังนำเข้ามาในจำนวนน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แค่บุคลากรทางการแพทย์ที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดยังไม่ทั่วถึง

ปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มผู้เปราะบางตามเกณฑ์ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อยู่ที่ 13 ล้านคน ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีอยู่กว่า 200,000 คน และ อสม.ทั่วประเทศอีกกว่า 1 ล้านคน แต่วัคซีนในล็อตแรกรองรับได้เพียง 158,500 คนเท่านั้น
          
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วัคซีนที่รัฐบาลอ้างว่ามีแผนในการจัดซื้อเพื่อฉีดให้กับประชาชน โดยจะได้รับในล็อตต่อไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไปจนถึงสิ้นปี 2564 นั้น ยังไม่มีหน่วยงานใดยืนยันได้ว่าวัคซีนจะได้ตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ ขณะที่ประชาชนทุกภาคส่วนรอคอยการเข้ามาของวัคซีน เพราะเชื่อว่าหากประเทศไทยมีวัคซีนฉีดให้ประชาชนได้เกินกว่า 50% ของจำนวนประชากร ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆจะฟื้นกลับมาโดยเฉพาะเศรษฐกิจ แต่ที่ผ่านมารัฐบาลขาดวิสัยทัศน์ทำให้การจัดหาวัคซีนล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์ จนทำให้ประเทศชาติและประชาชน ตกอยู่ในภาวะยากลำบาก

โพลล์เผย ปชช.ส่วนใหญ่อยากฉีแม้กังวลผลกระทบต่อสุขภาพ

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,258 คน เรื่อง "คนไทยกับการฉีดวัคซีนโควิด-19" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 88.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ ว่าตนเองอยู่ในกลุ่มต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ในระยะใดตามนโยบายฉีดวัคซีน ขณะที่ร้อยละ 6.5 อยู่ในกลุ่มนโยบายระยะที่ 1 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และร้อยละ 5.5 อยู่ในกลุ่มนโยบายระยะที่ 2 มิถุนายน-ธันวาคม 2564เมื่อถามว่า หากได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ท่านจะฉีดหรือไม่ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 68.7 คิดว่าจะฉีด 

โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 54.1 จะดูผลข้างเคียงของคนที่ฉีดไปแล้วก่อน ส่วนร้อยละ 14.6 จะฉีดทันทีเพราะกลัวติดโควิด-19 ขณะที่ร้อยละ 31.3 คิดว่าจะไม่ฉีด โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 16.8 ให้เหตุผลว่า กลัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย และร้อยละ 14.5 คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงที่จะติดส่วนความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.1 กังวลว่าผลกระทบหลังการรับวัคซีนต่อภูมิต้านทาน และสุขภาพร่างกาย รองลงมา ร้อยละ 42.8 กังวลว่าวัคซีนผ่านมาตรฐานการรับรองหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ และร้อยละ 27.2 กังวลว่าราคา ค่าใช้จ่ายแพงในการฉีดวัคซีน 

หากไม่มีการควบคุมจากภาครัฐสำหรับความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่า ประชาชนร้อยละ 47.9 หวังว่าวิถีการดำเนินชีวิตประชาชนจะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว รองลงมา ร้อยละ 22.5 หวังว่าจะช่วยปกป้อง/สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับประชาชน และร้อยละ 18.8 หวังว่าจะเกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ปกติเร็วที่สุดสุดท้าย คำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.6 ฝากถามว่ากลุ่มใดบ้างที่ควรฉีดและไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีมีครรภ์ รองลงมา ร้อยละ 23.2 ฝากถามว่าวัคซีนที่ได้รับจะคุ้มครองได้นานแค่ไหน ต้องฉีดเพิ่มหรือไม่ และร้อยละ 19.9 ฝากถามว่า การฉีดวัคซีนมีค่าใช้จ่ายหรือไม่

หน้าแรก » การเมือง