วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 21:16 น.

การเมือง

CCSสร้างต้นแบบนวัตกรรมสร้างชาติ ยึด "บวร" หนุนเด็กเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ลดโรคโลหิตจาง

วันพุธ ที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2564, 20.29 น.

วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ที่ห้อง Hole In One ศูนย์ประชุมโพธาลัย  เลเชอร์ ปาร์ค  นักศึกษา นสช. รุ่น 12 วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา  และเลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดเผยว่า รับฟัง CCS ของรุ่นพี่ นสช. 11 Nation-Building Institute  เป็นงานซึ่งเป็นงานนวัตกรรมผ่านการลงมือทำด้วยการเป็นคนดี คนเก่ง คนกล้า โดยยกระดับการเป็นคนดีในสังคม จึงต้องแสดงความดี ความเก่ง ความกล้า ทุกคนจะต้องตื่นตัวในการขับเคลื่อนร่วมกัน การสร้างให้คนมีความรู้ไม่ยากแต่จะต้องมีทักษะในอนาคต เช่น การทำงานเป็นทีม คำว่า ดี หมายถึง จะต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

ทำอย่างไรคนจะเป็นคนดี ตัดสินใจในการทำความดี เราใช้วิธีการสั่งสอนมานานแล้ว แต่เราจะต้องบอกว่าทำความดีแล้วเกิดความสุข เราจึงต้องมีกิจกรรมให้ลงมือทำ จะต้องออกแบบกิจกรรมให้ลงไปทำมากกว่ามานั่งฟังเท่านั้น ทำกิจกรรมอะไรที่ทำให้คนทำงานเป็นทีม ทำอย่างไรการเรียนรู้จะเกิดการเรียนรู้แบบ Win Win ออกแบบกิจกรรมที่ไม่ใช้ความรุนแรง อย่ามุ่งแต่เอาชนะ คนไทยเก่งทำงานคนเดียวเพราะเราไม่ได้ฝึกให้มีการทำงานเป็นทีม  เราควรบันทึกความดี ความเก่ง ความกล้า จะต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นคนดีคนเก่งคนกล้า ทำอย่างไรจะสามารถสื่อสารบอกว่าเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร   เฟซบุ๊กเกิดจากการทำเล่นๆ ในมหาวิทยาลัย แต่ด้วยการพัฒนาทำให้เกิดการใช้งานทั่วโลก สิ่งที่ทำต้องเปลี่ยนทักษะเปลี่ยนสังคมเปลี่ยนผู้คน เราจึงต้องพัฒนาให้เกิดคุณค่าและเกิดมูลค่า คนดีต้องแสดงตัวให้เกิดการแตกตัว       

มีการพัฒนาเยาวชนด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของเยาวชน โดยมีการสำรวจพื้นที่ของโรงเรียน มีการออกแบบกินกรรมลงไปช่วยขับเคลื่อนให้เยาวชนมีอุดมการณ์ในชีวิต การดูแลสุขภาพกายใจเป็นการขับเคลื่อนเชิงป้องกัน จะต้องทำกลุ่มที่ถาวรมิใช่เพียงชั่วคราว โรงเรียนจะต้องสร้างอาหารที่มีคุณภาพ มีระบบดูแลตนเอง  ในเขตพื้นที่โรงเรียนควรมีอาหารที่มีคุณภาพ สามารถโยงกับชมรมเยาวชนสร้างชาติ โดยเชื่อมโยงการทำวิจัยเพื่อให้มีการรองรับ มีการขยายผลต่อโรงเรียนต่างๆงานเราต้องไม่ขึ้นหิ้งแต่จะขึ้นห้างขยายผลออกไปสู่สังคม มิติด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจจึงเป็นการขับเคลื่อนที่ดีในเด็กเยาวชน  จากโครงการ CCS : Cap-Corner Stone สมุนไพรสร้างชาติ โดยมุ่งส่งเสริมสมุนไพรไทย ที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ โดยใช้ AIMMIในการขับเคลื่อนงานออกไปสู่สังคมให้เกิดสังคมแห่งอารยะแบบยั่งยืน จึงมีการนำทฤษฎีที่ได้ศึกษานำไปใช้อย่างเป็นระบบ แต่เราต้องทำงานวิจัยรองรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นการศึกษาอย่างเป็นระบบ จึงมีการสร้างสังคมอารยะ ภายใต้เกมการ์ดอารยะสนทนา จากบุคคลที่มีความแตกต่างกัน สามารถสลายความขัดแย้ง โดยแต่ละคนมีการแสดงจุดยืนของตนเองฝึกการฟัง ฝึกตั้งคำถาม ฝึกการมองมุมมองที่มีความแตกต่าง ฝึกคิดพิจารณาอย่างครบถ้วน ฝึกการโต้แย้งอย่างอารยะ ฝึกการสนทนาอย่างเข้าใจ ฝึกการยุติร่วมกัน บอร์ดเกมจึงเป็นสลายความขัดแย้งโดยสันติวิธี เมื่อนำมาใช้แล้วได้ผลอย่างไร อนาคตอาจจะนำไปสู่การโค้ชเพื่อการเรียนรู้   
     
รุ่นพี่ นสช. 11 มีการพูดประเด็นเรื่องอาหารสุขภาพ ซึ่งมี อาหาร 4 G ที่ส่งผลต่อสุขภาพ มีความปลอดภัย ด้วย "การกินครบดี  กินปลอดภัย  กินคุ้มค่า และกินอร่อย" ถือว่าเป็นกระบวนการคิดที่เป็นระบบ การทานอาหารจะต้องมีการมีความพอดี จะต้องมีการจัดระดับบุคคลที่เหมาะกับประเภทบุคคล เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ คนใช้แรงงาน คนใช้สมอง จึงต้องมีการแบ่งประเภทคนกี่ประเภท จึงต้องสะท้อนถึงร้านอาหารทั่วประเทศเพราะเราเป็นมะเร็งเป็นจำนวนมาก ใครจะเปิดร้านจะต้องมีตรามาตรฐานของการตรวจสอบอาหารว่ามีความปลอดภัย ถือว่าเป็นงานประโยชน์ต่อคนในชาติ เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพและชาติบ้านเมือง เพราะเรามีของดีและมีความอร่อย อาจจะมีโปรแกรมให้เลือกว่าควรจะทานอาหารประเภทใดที่เหมาะของแต่ละบุคคล จึงสะท้อนถึงหมู่บ้านเกลือสร้างชาติ ซึ่งไม่อยากให้ชุมชนเกลือหายไปจากสมุทรสาคร เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ได้รับที่ดินพระราชทานจาก รัชกาลที่ 5 ชุมชนมีต้นทุนทางสังคม เช่น มีโฮมสเตย์ที่เชื่อมโยงวิถีชุมชน จึงมีการออกแบบนวัตกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 

จึงเกิดนวัตกรรม Model 3T2S ประกอบด้วย Trement  Team  Talent Social Enterprise Sustainable มีการสปาเกลือ ผู้นำสร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมสัมพันธ์คนในชุมชน ต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรม ประเพณี ทำธุรกิจเพื่อสังคมชุมชนคนดี เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เกิดรายได้ สร้างความรักความผูกพันในชุมชน เราจึงเริ่มที่ชุมชนซึ่งฐานรากของชาติ สร้างคนเพื่อชาติ จึงควรมีการบูรณาการเกษตร จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ บูรณาการเมืองเกลือให้มีการบูรณาการครบวงจร อดีตต้องการเกลือมากเพราะเก็บอาหารไว้นานๆ แต่ปัจจุบันเราไม่กินเกลือ กินเกลือขนาดใดจะพอดีต่อร่างกาย เพราะเกี่ยวข้องกับไอโอดีน แปลงอุตสาหกรรมเกลือ นำไปสู่สบู่เกลือ เป็นต้น ในต่างประเทศมีเกลือหลายชนิดและมีราคาแพง เกลือต้องเป็นก้อนอย่าทำแค่เม็ด เราจึงต้องมีการวิจัยเกลืออย่างเป็นระบบ มีการผลิตภัณฑ์ภาชนะจากเกลือ มีการทำบ้านเป็นเกลือ มีการอบเกลือผ่านการบำบัดโรค เราจึงต้องทำหมู่บ้านเกลือสร้างการท่องเที่ยวตามประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดรายได้ที่มากขึ้น ควรทำเกลือให้เป็นเอกลักษณ์โคกขามโมเดล มีที่เดียวของโลกจะเป็นคำตอบของชุมชนที่มีความยั่งยืน แบบกระบวนการครบวงจร ซึ่งอุตสาหกรรมเก่าจะมีสิ่งใหม่มาทดแทน เราจึงต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างคุณค่าและมูลค่าให้เกิดขึ้นภายใต้เกลือ การยกระดับรายได้ต้องไม่พึ่งเกลืออย่างเดียว จะต้องมีการก้าวกระโดด จากเกลือกระโดดไปตรงไหน ทักษะเดิมที่คนในชุมชนมีคืออะไร  จะต้องมีเกษตรอุตสาหกรรมบริการ จะทำให้ยกระดับโมเดล           
     
พ่อแม่ไอดอลสร้าง ในสถานการณ์ปัจจุบันมีการใช้อำนาจในครอบครัว ในมิติของ Gen Z โดยใช้บ้าน ๓ หลัง คือ ความเป็นพ่อแม่ โดยใช้ Model AIMMI เป็นฐานในการทำโครงการ CCS โดยเฉพาะเป้าทยานใจเด็กมองพ่อแม่เป็นไอดอล โดยมีแอป MyIdol พ่อแม่ต้องเป็นไอดอลให้กับวัยรุ่น วัยรุ่นต้องการแรงจูงใจจากพ่อแม่ จะต้อง "ดึงจากภายในออกมาสู่ภายนอก มิใช่ ดันจากภายนอกเข้าไปสู่ภายใน" จึงควรมีการเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นกรุงเทพกับวัยรุ่นขอนแก่น มีมิติต่างหรือเหมือนกันอย่างไร คำถามคือพ่อแม่ควรจะสร้างแรงจูงใจอย่างไร  วัยรุ่นมองพ่อแม่แบบไอดอลอย่างไร  แอปใช้งานได้อย่างไร  ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อไอดอลของพ่อแม่ ประเด็นคือ ทำเล็กให้ได้ใหญ่ ทำน้อยได้มาก มีการเลือกทำที่จังหวัดเชียงราย ในกลุ่มชาติพันธุ์ควรจะมีการสร้างอาชีพให้คนในชุมชน เด็กสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเอง โดยมีฐานความคิดที่ถูกต้อง มีการสอนให้เด็กการขายออนไลน์ เพิ่มมูลค่าของสิ้นค้า ด้วยการปรับ Mindset ที่ถูกต้อง สร้างอาชีพมีวิธีการหาเงินและไม่ทิ้งการศึกษา โจทย์คือ นำสินค้ามาขายเป็นธุรกิจชุมชน ด้วยการนำมาขายบนโลกออนไลน์ ต้องผลิตสิ้นค้าตามความต้องการของตลาด เพิ่มช่องทางการออนไลน์ จะต้องหาความต้องการของลูกค้า จะต้องหารสนิยมให้มีความเหมาะสมในยุคสมัย การเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จควรมีวิธีคิดอย่างไร ทำอย่างไรให้เกิดการเลอค่า จะต้องขายให้ชาวต่างชาติได้ ธุรกิจชุมชนนอกจากจะขายสิ่งที่มีอยู่แล้ว เราควรวิเคราะห์หาเอกลักษณ์ของชุมชนให้เป็นสินค้าบริการ ซึ่งคนจนจะขายให้คนจน คนรวยจะขายให้คนรวย ทำอย่างไรคนจนจะออกแบบขายให้คนรวยได้ จึงต้องเข้าใจการผลิตสินค้า เข้าใจการตลาด เข้าใจเทรนของโลกยุคปัจจุบัน เข้าใจความต้องการของลูกค้า
      
ต้นแบบนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์อัจริยะสร้างชาติ ของโครงการ CCS  ให้ความสำคัญของเกษตรปลอดสารพิษ ไม่ตายผ่อนส่ง เกษตรอินทรีย์จึงมีความสำคัญมาก พยายามเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตรจริงๆ ความมั่นคงทางด้านอาหารจึงมีความสำคัญ ประชากรเยาวชนอายุ 1-19 ปี จะต้องดูแลผู้สูงอายุ โดยผลการศึกษาเยาวชนเกิดโรคโลหิตจางเพราะพร่องธาตุเหล็ก จึงต้องตระหนักเรื่องโภชนาการ เยาวชนจึงต้องมีสุขภาพร่างกายที่ดี โดยยึดหลักบ้านวัดโรงเรียน: บวร เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เป้าหมายคือลดโรคโลหิตจาง เด็กจึงสามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้ 

คำถามคือ กินปริมาณเท่าใดจึงสามารถแก้ปัญหาโรคโลหิตจาง ขนมแบบใดที่เด็กนิยมชอบกินเป็นแบบยอดนิยม แล้วมีการแปรรูปออกมา คำถามคือ มีธาตุใดที่เด็กไทยขาดธาตุอื่นๆ เพื่อจะเป็นโจทย์ในอนาคต จึงควรมีการถอดบทเรียนว่าเด็กไม่ชอบเพราะอะไร อาจจะไปบูรณาการถึงพ่อแม่ของเด็ก  จึงส่งผลอาชีวะสร้างชาติมีการพัฒนาการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก จะต้องมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะภาษา ทักษะการสื่อสาร ซึ่งในภาคตะวันออกถือว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว จึงต้องโฟกัสไปจุดได้เปรียบแต่ละจังหวัดเพื่อจะได้พัฒนาสมรรถนะทักษะแต่ละจังหวัด ถ้าจีนมามากภาษาจีนควรมีทักษะ สามารถสื่อสารภาษาจีนได้ จึงต้องหลักสูตรเร่งรัดภาษาจีนภาษารัสเชีย สร้างภาษาการท่องเที่ยวคำหลัก 500 คำแรก จะต้องทราบ หลักสูตรภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว รายได้หลักของการท่องเที่ยวมาที่ใด เราจะต้องมีการทำวิจัยเพื่อจัดหลักสูตรรองรับ จะต้องมีอัพเดทข้อมูล ทักษะพัฒนาสมรรถนะ มีการวิเคราะห์มาเรียบร้อย จึงต้องมีการวิเคราะห์อนาคต วิทยาลัยการท่องเที่ยวร่วมมือกับเราเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีฐานที่มีความสำคัญ จึงมีคำถามว่า ผู้ประกอบการต้องการผู้มาทำงานที่มีคุณลักษณะอย่างไร จึงมีพัฒนาอาหารสมุนไพรเพื่อการรักษาสุขภาพ เป็นอาหารสุขภาพ มีการพัฒนาเมนูในสมุนไพร เป็นอาหารสร้างชาติ   
      
ดังนั้น  CCS คือการรวมกลุ่มกันของคนดีคือ ผู้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อออกไปสร้างชาติในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาคนคือการพัฒนาชาติ  ภาษาธรรมะคือ เอาธรรมไปทำ : นำทฤษฎีลงไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง สอดรับเครื่องมือทางพระพุทธศาสนาคือภาวนา 4 ประกอบด้วย 1)พัฒนาด้านกาย คือ สิ่งแวดล้อม อาหารปลอดสารพิษ สร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร พัฒนาในด้านเกี่ยวกับอาชีพ การสอนออนไลน์  2)พัฒนาด้านพฤติกรรม คือ พัฒนาพฤติกรรมด้านการบริโภค ครอบครัวสันติสุข การพัฒนาสื่อเพื่อสร้างการพูดคุยกัน 3)พัฒนาด้านจิตใจ คือ การพัฒนาเยาวชนทางด้านจิตใจ สุขภาพทางด้านจิตใจ 4)พัฒนาด้านปัญญา คือ การพัฒนานวัตกรรมในมิติต่างๆ ใช้ภูมิปัญญา มีความอัจริยะในมิติต่างๆ   อันเกิดความยั่งยืนในการพัฒนา   
     
จึงเห็นว่า CCS จะต้องขึ้นห้างมิใช่เพียงขึ้นหิ้งเท่านั้น  เราจึงมีการนิยามของคนดี เราจึงพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่เรายืน เป็นบุคคลผู้เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อมวลมนุษยชาติ ภายใต้ สงบเย็นและเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ จบประโยชน์นึกถึงประโยชน์คนอื่น ร่วมกันทำความดีอย่างมีปัญญา ถึงจะเล็กแต่สร้างการเปลี่ยนแปลง   

หน้าแรก » การเมือง

Top 5 ข่าวการเมือง