วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 13:58 น.

การเมือง

ครม.เห็นชอบ"คนละครึ่งเฟส 3" เคาะจ่ายเพิ่ม 2,000 บาท กลุ่ม "เราชนะ-ม.33เรารักกัน"

วันพุธ ที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 13.32 น.

เมื่อวันพุธที่ 5 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการ "คนละครึ่งเฟส 3" เพื่อจ่าย "เยียวยา" ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกล่าสุด (เมษายน 2564) โดยรัฐบาลจะจ่ายเยียวยาคนละ 3,000 บาท 31 ล้านคน วงเงินกว่า 9 หมื่นล้านบาท ในระยะเวลา 6 เดือน คือ กรกฎาคม-ธันวาคม 2564
          
สำหรับรายละเอียดต่างๆ ของ"คนละครึ่งเฟส 3"  ดังนี้

          1. ใครมีสิทธิ์ในโครงการ "คนละครึ่งเฟส 3" บ้าง?
          สำหรับกลุ่มผู้ที่มีสิทธิ์ลงทะเบียน โครงการ "คนละครึ่งเฟส 3" ต้องมีคุณสมบัติตามนี้ คือ
          เป็นบุคคลสัญชาติไทย ที่มีบัตรประจำตัวประชาชน
อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)

*หมายเหตุ : ผู้ที่ได้รับสิทธิ์และใช้สิทธิ์ในโครงการ "คนละครึ่ง" แล้ว จะไม่ได้รับสิทธิ์ในโครงการ "ช้อปดีมีคืน"

          2. "คนละครึ่งเฟส 3" ใช้วงเงิน 93,000 ล้านบาท
          ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลได้หารือกันและได้ข้อสรุปว่า โครงการ "คนละครึ่งเฟส 3" จะมีการใช้วงเงินทั้งหมดประมาณ93,000 ล้านบาทโดยรัฐบาลจะจ่ายเยียวยาคนละ 3,000 บาท ให้แก่ผู้มีสิทธิ์ราว 31 ล้านคน

          3. ระยะเวลาโครงการ"คนละครึ่งเฟส 3" ยาวนานขึ้น
          รัฐบาลออกแบบโครงการ "คนละครึ่ง" ในระยะ 3 นี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนภายในระยะเวลา 6 เดือน คือ กรกฎาคม-ธันวาคม 2564 หรือช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้

เคาะจ่ายเพิ่ม 2,000 บาท กลุ่ม "เราชนะ-ม.33เรารักกัน" 

แหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แจ้งด้วยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนในระยะเร่งด่วน โครงการ “เราชนะ” จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 32.9 ล้านคน เพิ่มอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท ระยะเวลา 2 สัปดาห์ วงเงิน 6.7 หมื่นล้านบาท โดยให้การใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ นอกจากนี้ โครงการ “ม.33 เรารักกัน” จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 9.27 ล้านคน เพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้ประกันตน ม.33 อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท ระยะเวลา 2 สัปดาห์ วงเงินรวม 18,500 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายนนี้

          
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในระยะต่อไป เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง กรอบวงเงินเบื้องต้น 1.4 แสนล้านบาท โดยใช้เงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ฯ ที่เหลืออยู่ ได้แก่ 1.มาตรการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ในกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 จำนวน 13.65 ล้านคน โดยให้เงินค่าครองชีพแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม – ธันวาคม) และเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจำนวนเป้าหมาย 2.4 ล้านคน เพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม – ธันวาคม)

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า และ 2.มาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 โดยให้ความสำคัญกับการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนกลุ่มรายได้ปานกลาง และรายได้สูง ได้แก่ มาตรการ “คนละครึ่ง” ระยะที่ 3 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 31 ล้านคน ให้สิทธิใช้จ่ายที่รัฐจะสมทบได้วันละไม่เกิน 150 บาท วงเงินคนละ 3,000 บาทต่อคน นอกจากนี้ ยังมี “โครงการยิ่งใช้ยิ่งดี” โดยรัฐสนับสนุน E-Voucher ให้ประชาชน ที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า ค่าอาหารเครื่องดื่ม และค่าบริการ กับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยประชาชนใช้จ่ายจะได้รับการสนับสนุน E-Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน นี้ และสามารถใช้จ่ายในเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2564 คาดว่าประชาชนจะเข้าโครงการประมาณ 31 ล้านคน

 
  

หน้าแรก » การเมือง

Top 5 ข่าวการเมือง