การเมือง
"ธีรรัตน์" ยืนยันการให้สัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ได้เป็นการให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

"ธีรรัตน์" ยืนยันการให้สัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ได้เป็นการให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว หรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วขอสัญชาติ เพื่อแย่งสิทธิคนไทย แต่เป็นการทำให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันมีความชัดเจนตามกฎหมาย
เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2568 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 ซึ่งได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 68 ที่ผ่านมา
การดำเนินการเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติตามมติ ครม. ดังกล่าว ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คือ ชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน และได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติและมีข้อมูลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรไว้แล้ว อาทิ ภาพถ่ายใบหน้า ลายพิมพ์นิ้วมือ ประมาณ 1.4 แสนราย ได้แก่ 1. บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มต่าง ๆ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 6 และเลขหลักที่หกและเจ็ดเป็นเลข 50 ถึงเลข 72 รวมถึงคนถึงคนที่มีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 5 หรือเลข 8 ด้วย
และ 2. บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยมีบิดาหรือมารดาได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2548 รวมถึงชาวมอร์แกน โดยคนกลุ่มนี้จะมีชื่อในทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 1 และเลขหลักที่หลักกและเจ็ดเป็นเลข 89 ซึ่งหมายรวมถึงบิดาหรือมารดาที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติด้วย
น.ส.ธีรรัตน์ เน้นย้ำว่า การดำเนินการในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการให้สัญชาติไทยกับคนต่างด้าวทั่วไปที่มีสัญชาติอื่น หรือที่เป็นแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน หรือผู้หนีภัยการสู้รบที่อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย และไม่มีสิทธิยื่นคำขอตามมติ ครม. นี้ แต่อย่างใด
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ไม่ใช่การให้สัญชาติกับใครก็ได้แบบแจกฟรีอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่เป็นความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน และเป็นปัญหาของผู้คนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานนับสิบปี มีลูกมีหลานที่เกิดและเติบโตที่นี่ ใช้ชีวิตร่วมกับคนไทยอย่างสงบ มีความผูกพันกับแผ่นดินนี้โดยแท้จริง ดังนั้น การให้สถานะหรือสัญชาติกับบุคคลกลุ่มนี้ จึงไม่ใช่การเปิดประตูให้ใครก็ได้เข้ามาแล้วรับสิทธิในทันที แต่ตรงกันข้าม ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวด เช่น ต้องเป็นผู้ที่มีข้อมูลทะเบียนก่อนปี 2542 หรือในรอบปี 2548, 2554 ซึ่งทางกรมการปกครองมีฐานข้อมูลจัดเก็บไว้เป็นระบบ รวมทั้งต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างรอบคอบในระดับพื้นที่ โดยร่วมมือกันระหว่างฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายทะเบียน และฝ่ายปกครอง และหากให้ข้อมูลเท็จหรือมีการสวมสิทธิ จะถูกเพิกถอนสถานะในภายหลัง
ในความเป็นจริง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้เป็น “ต่างด้าวหน้าใหม่” แต่พวกเขาคือ ผู้ที่อยู่ในสังคมไทยมานาน หลายครอบครัวอยู่กันมารุ่นต่อรุ่นโดยไม่มีสถานะทางกฎหมายที่แน่นอน ทั้งที่ใช้ชีวิตร่วมกับคนมีสัญชาติไทย ทำงานในไร่นา ร้านอาหาร ก่อสร้าง หรือแม้แต่ร่วมพัฒนาท้องถิ่นกับชุมชนมาช้านาน บางกลุ่มอยู่มาก่อนที่บรรพบุรุษของเราจะอพยพมาที่ประเทศไทยเสียอีก แต่ด้วยถิ่นฐานที่ห่างไกลทำให้ตกสำรวจในการจัดทำทะเบียนราษฎรยาวนานเรื่อยมา ดังนั้น การให้สถานะจึงไม่ใช่การ “แย่งสิทธิคนไทย” แต่เป็นการทำให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันมีความชัดเจนในกฎหมาย เพื่อให้รัฐสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ ลดช่องโหว่การเอารัดเอาเปรียบ และที่สำคัญคือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันให้เป็นธรรมและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะการมีสถานะที่ชัดเจน ยังช่วยลดปัญหาสังคมในระยะยาว เช่น การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การสาธารณสุข หรือแม้แต่การจดทะเบียนแรงงานอย่างถูกต้อง ซึ่งในทางกลับกันจะช่วยรัฐในการเก็บภาษี สร้างรายได้ และลดความเปราะบางในระบบความมั่นคงของประเทศ และสุดท้าย กลุ่มคนเหล่านี้จำนวนมากมีลูกหลานที่เกิดในไทย ได้รับการศึกษาแบบไทย พูดไทย คิดแบบไทย และมีหัวใจรักแผ่นดินนี้ พวกเขาไม่ได้มาเพื่อแย่ง แต่พร้อมจะร่วมสร้าง และบางคนอาจกลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่จะเข้ามาร่วมเป็นกำลังในการพัฒนาชาติไทยยิ่งกว่าที่เราคาดคิดอีกด้วย ประเทศไทยไม่เคยลืมคนไทย และในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ไม่ทิ้งคนที่อยู่ร่วมแผ่นดินนี้อย่างสงบสุขมานานหลายสิบปีเช่นกัน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- "ภูมิธรรม" รักษาการนายกฯแบ่งงานใหม่ "สุชาติ" ดู "สำนักพุทธฯ-อสมท." 6 ก.ค. 2568
- รักชาติต้องไปชายแดน! "กันจอมพลัง" สวนเสียงวิจารณ์ ปมช่วยทหาร-ตำรวจชายแดน 6 ก.ค. 2568
- “สุรเดช” รองหัวหน้าพลังประชารัฐ ลั่น ไร้นิติสงคราม ชี้ เป็นเพียงวาทกรรม 6 ก.ค. 2568
- กต.ชี้แจงท่าทีเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา จัดระเบียบโลกไซเบอร์ ทำคู่มือแนวตอบโต้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ 6 ก.ค. 2568
- "ธีรรัตน์" ยืนยันการให้สัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ได้เป็นการให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว 6 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
"ดร.มหานิยม" ลงพื้นที่ติดตามข้อพิพาทที่ดินวัดดอยธรรมเจดีย์ ย้ำทุกขั้นตอนต้องชัดตามกฎหมาย – พระสงฆ์สายวิปัสสนาชี้วัดดูแลป่ามาตลอด 20:16 น.
- "อรรรถกร" ลุยสั่งการ ส.ป.ก.สระแก้ว เร่งจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก.แปลงว่างอย่างเป็นธรรม เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ 20:11 น.
- "ประภัตร" ประกาศพร้อมสละเก้าอี้เลขาฯพรรคชาติไทยพัฒนา "อนุชา-วราวุธ" วอนอย่าเพิ่งลาจาก 20:06 น.
- กองทัพภาค 2 ยันไม่ปิดกั้นส่งยา ช่องจอมเดินหน้าช่วยเหลือเพื่อนบ้านตามหลักมนุษยธรรม 19:01 น.
- กต.ยันไทยแจง UN ครบถ้วน ปมกัมพูชาส่งหนังสือฟ้องปมชายแดน 18:29 น.