วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 05:13 น.

ภูมิภาค

ชาวทุ่งสมอ ค้านสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม-วิถีชีวิตชุมชน

วันจันทร์ ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563, 15.30 น.
วันที่ 29 มิถุนายน 2563 ที่ีบริเวณหน้า อบต.ทุ่งสมอ ตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมี นายเพชรายุทธ เพชรวัชรนนท์  ดร.ชรินทร์ ศรีทับทิม นางสาวไข่มุก ศรีทับทิม นางจินตนา สระสำอาง นายวิโรจน์ เพิ่มพงศาเจริญ เป็นแกนนำคัดค้านโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ต.ทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ซึ่งต่อมา นายธนณัฎฐ์ ศรีสันต์ นายอำเภอพนมทวน พร้อมด้วยนายประสานแผลกุม ได้เดินทางมาพประชาชน และได้มีการรับหนังสือร้องคัดค้าน
     
ก่อนที่ชาวทุ่งสมอ จะเดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ได้ยื่นหนังสือคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวลต่อนายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และนายสุเทพ แก้วทอง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับหนังสือร้องค้าน พร้อมจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
         
นางจินตนา สระสำอาง ตัวแทนกลุ่มคนรักทุ่งสมอ กล่าวว่า เนื่องด้วยคณะทำงานของกลุ่มคนรักทุ่งสมอ ได้ทราบว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล  ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงพลังงานได้ให้การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กให้เป็นโรงไฟฟ้าชุมชนที่เน้นเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนโดยใช้ชีวมวลหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงสร้างความมั่นคงทางพลังงานที่เป็นไฟฟ้าสำรองของประเทศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอยู่ระหว่างกว้านซื้อที่ดินข้าพเจ้าในนามของกลุ่ม เห็นว่าโรงไฟฟ้าชีวมวล มีหลักการที่ดี แต่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลในผลดี ผลเสีย อีกทั้งได้ศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ของโรงไฟฟ้าชีวมวลจากแหล่งอื่น เกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อวิถีชีวิตชุมชน สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และด้วยเหตุผลสำคัญที่สุดคือ ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ประมาณ 2-5 กิโลเมตร โดยรอบ ประกอบด้วยตำบลทุ่งสมอ ตำบลหนองโรง และตำบลหนองขาวเป็นที่ราบสูงตันน้ำป่า ซึ่งจะไหลลงสู่ชุมชนทุกปีในฤดูฝน    
     
นางจินตนา สระสำอาง กล่าวอีกว่า จากการประชุมกลุ่มได้ข้อสรุปเป็นเหตุผลสำคัญในการคัดค้าน ดังนี้ 1. ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำจากกากของเสีย ทั้งน้ำบนดินและน้ำซึมลงดินซึ่งจะไหลเข้าชุมชน เกิดผลกระทบทางสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งควบคุมไม่ได้ 2. ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ วัตถุดิบจากชีวมวล จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิต เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กและคนชรา รวมถึงกลิ่นที่ลอยมาในอากาศ 3. ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการตัดต้นไม้ตามหัวไร่ปลายนา เพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบ ซึ่งควบคุมได้ยาก ส่งผลโดยตรงต่อภูมิอากาศ คือ ภาวะโลกร้อนอากาศร้อน แห้งแล้ง 4.มลพิษทางเสียง อันเกิดจากกระบวนการผลิต เทคโนโลยีและเครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง รามถึงผลจากเสียงของรถบรรทุกวัตถุดิบซึ่งต้องวิ่งผ่านชุมชน 5.ผลกระทบต่อวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม เกิดความแตกแยกในหมู่ชาวบ้านความขัดแย้งในผลประโยชน์ การซื้อขายที่ดินและการเปลี่ยนมือการเป็นเจ้าของที่ดินจากชาวบ้านไปเป็นของนายทุน จากเหตุผลดังกล่าว ในฐานะลูกหลานของชาวตำบลทุ่งสมอ เห็นว่า เพื่อประโยชน์สุขของชาวบ้านโดยรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาว เห็นควรระงับยับยั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ดังกล่าว

หน้าแรก » ภูมิภาค