วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 15:51 น.

ภูมิภาค

คึกคัก! งานจุดบั้งไฟบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประเพณีชาวลาวพวน ขอฝนเพื่อทำนา

วันจันทร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 19.39 น.
เมื่อเวลา 17.30 น.วันที่ 16 พ.ค.65   ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี รายงานพบว่า  พบมีโพสต์ – แชร์   ผ่านทางเฟสบุ๊ค,เพจ ของวัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ ระบุข้อความ  เชิญชวนชม  ประเพณีการจุดบั้งไฟ  เพื่อบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ อันเป็นวิถีท้องถิ่นของชาว อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษอันเป็นเชื้อสายชาวลาวพวน ได้ถ่ายทอดประเพณีดังกล่าวไว้รุ่นสู่รุ่น    และ  ล่าสุดเมื่อประมาณ 5 – 6 ปี   ประเพณี “การจุดบั้งไฟ”  บูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ช่วงต้นฤดูไถ-หว่านนาข้าว  ได้ถูกปิดกั้น  “ห้ามจุด”  ตรงกับช่วงยุด  คำสั่ง คสช. ในการป้องกันการชุมนุม   และ  ถูกลากยาว สั่ง   ห้ามทำการจุดบั้งไฟ ต่อเนื่องถึงมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19   ที่  วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี   โดย   การสั่ง  “ ห้ามจุดบั้งไฟ”  ดังกล่าว   ลากยาวคำสั่ง  “ห้ามจุด”  นี้   ตลอดเรื่อยมา   จรดล่าสุด   ถึงสถานการณ์โควิด -19 ที่ยังแพร่ระบาด นี้    
 
จนกระทั่ง  ชาวบ้านกลุ่มเชื้อสายลาวพวน อัดอั้นกันมายาวนาน กระทบความเชื่อ เกี่ยวกับเมื่อถึงหน้าฝนอันเป็นช่วงที่เป็น ต้นฤดูของการไถ – หว่าน  นาข้าวนั้น พวกเขาต้องจุดบั้งไฟ เพื่อบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ให้เกิดความสิริมงคล ในการทำมาหากินโดยเฉพาะ การอาศัยแค่ธรรมชาติเป็นหลัก เรื่องฟ้า-ฝน เลี้ยงนาข้าวให้มีความอุดมสมบูรณ์  เป็นพลัง – กำลังใจห่างไกล-ปลอดภัยศัตรูหมู่มาร เชื้อโรคร้ายทั้งหลาย อาทิ  ไวรัสโคโรน่า (โควิด -19 ) ที่แพร่กำลังระบาด ให้ห่างไกล
 
 
ผู้สื่อข่าว  ลงพื้นที่  มาที่ด้านทิศใต้  ของต้นพระศรีมหาโพธิ์  อันมีความเชื่อว่า  ต้นพระศรีมหาโพธิ์ นำหน่อมาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย ต้นเดียวกันกับสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ อายุมากเกินกว่า2,500 ปี มีขนาดใหญ่ – เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย  กรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน  และเป็นต้นไม้ ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี 
 
พบกลุ่ม  กลุ่มผู้สืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านชาวลาวพวน  ของแต่ละหมู่บ้าน อ.ศรีมโหสถ และ ใกล้เคียง   ต่างกำลัง เตรียม  บั้งไฟ  -  จุดบั้งไฟ  มีรวมตัวกัน  จำนวนมาก  กว่า  150  คน   อยู่ในแต่ละกลุ่มของตนเอง  เตรียม จุดบั้งไฟ  นัดแรกของพวกเขาอยู่  ให้ทะยานราวจรวด  ขึ้นสู่ท้องฟ้าใครจะขึ้นสูงสุด    ท่ามกลางประชาชน ในท้องถิ่นที่ใกล้ ไกล  ทราบข่าว ตลอดจนนักท่องเที่ยว ที่ในวันนี้ เป็นวันหยุดชดเชย  วันสุดท้ายได้มาเที่ยวชมหนาแน่น   “การจุดบ้องไฟใกล้กรุงเทพฯ ที่สุด!!!  บูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ –ขอฝน  นี้    โดยพบ  มีป้ายประกาศ   ห้ามเล่นการพนัน และ มีพนักงานปกครองของท้องถิ่น อ.ศรีมโหสถ คอย ตรวจสอบ
 
พบพ่อค้าแม่ขาย ทำการจำหน่าย อาหาร น้ำดื่ม สินค้าพื้นเมือง เป็นร้านค้าจากชาวบ้าน โดยเฉพาะ บั้งไฟเล็ก หรือ บั้งไปจิ๋ว ในการสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น ระดับหนึ่ง นางพิกุล กีบาง อายุ 82 ปี ชาวบ้านม่วงขาว หมู่ 1 อ.ศรีมโหสถ กล่าวว่า ตนเองมานมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ในงานบุญเดือนหก มาพร้อมลูกหลานที่มาทำการจุดบั้งไฟ เพื่อขอฝนแก้บน กับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ชาวบ้าน   มีความเชื่อว่า ถ้าไม่จุดบั้งไฟ ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะมีเหตุเภทภัยต่าง ๆ เกิดขึ้น
 
 
ปีนี้ ฝนฟ้า ดี   เพราะว่าได้จุด ตามประเพณีทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล    งานประเพณีนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์   จะมีการจัดเป็นประเพณีท้องถิ่น  1ปี มี 2 ครั้ง   คือ  กลางเดือน 5 และ  บุญเดือนหก  และ บุญบั้งไฟ ที่จุด จุดกันในช่วงเดือนหก  ทุก ๆ ปี   อันเป็นการสืบสานประเพณีชาวลาวพวน  ที่ถูกกวาดต้อนมาจากประเทศลาว  ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ  ผสมผสานเป็นวิถีพื้นบ้านแถบนี้ยาวนานจนถึงปัจจุบัน   ตนเองก็เช่นกันเห็นมานับจากรู้ความ  จะเป็นงานท้องถิ่น  ที่ใหญ่มาก   พร้อมมหรสพสมโภช ทั้งหนังกลางแปลง ลิเก ชาวบ้านนำสินค้ามาขายกัน ก่อนจุดบั้งไฟ จะมีขบวนเกวียนแห่บั้งไฟ พร้อมรำเซิ้ง  - เซิ้งขอฝนของแต่ละชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นชื้อสายชาวลาวพวน  เป็นการดีมากที่ทางการอนุญาตให้สืบสานความเชื่อ-ประเพณีนี้อีกครั้ง ” นางพิกุลกล่าว 
 
ด้านนายจำเริญ นำภาว์ อาย59ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านม่วงขาว หมู่ 6 ต.โคกปีบ อ. ศรีมโหสถ กล่าวว่า  “ ตนเองทำนาปรัง  จำนวน140ไร่   ตน ได้บนบานไว้ ที่จะจุดบั้งไฟ  ให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวช้องกับพระพุทธเจ้า   บนบาน เป็น บั้งไฟ  จำนวน 1 ต้น  ขอให้ฝนฟ้าตก ตามฤดูกาล ทำนา ได้ดี  น้ำไม่ท่วม
 
ทั้งนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์  สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง  ได้แก่สิ่งที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่เคารพนับถือร่วมกันของคนหมู่มาก ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น  ระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับชาติ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ ตั้งประดิษย์ฐานอยู่ ภายในวัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ หมู่ 6  ตำบลโคกปีบ  อำเภอ ศรีมโหสถ  จังหวัดปราจีนบุรี 
 
 
ประวัติความเป็นมา ต้นศรีมหาโพธิ์นี้ เชื่อว่าเป็นต้นโพธิ์เก่าแก่  อายุมากเกินกว่าพันปี โดยเป็นพันต้นพระศรีมหาโพธิ์  ซึ่ง  นำหน่อมาจากประเทศศรีลังกา ในสมัยวัฒนธรรม ทราวดี เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่สำคัญจนทำให้บริเวณนี้เรียกว่า ดงศรีมหาโพธิ์ตามต้นโพธิ์เก่าแก่ต้นนี้ ในพระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เรื่อง  เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี ร.ศ. 127 ตรงช่วง  กล่าวถึงต้นโพธิ์ ว่า ดงศรีมหาโพธิ์นี้ ได้ชื่อจากต้นโพธิ์ต้นหนึ่งซึ่งว่าเป็นต้นโพธิ์เก่าแก่ เป็นที่นับถือ สักการบูชา 
 
ต้นศรีมหาโพธิ์  แตกหน่อกิ่งแผ่โดยรอบประมาณ 50 เมตร  ขนาดวัดรอบลำต้นได้  ประมาณ 25 เมตรสูงประมาณ 30 เมตร   ถือ  เป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์   ซึ่งราษฎรทั้งในบริเวณนี้  และ จากถิ่นใกล้เคียงเคารพกราบไหว้บูชา  และมีการนมัสการประจำ ทุกปี  ด้วยเหตุนี้จังหวัดปราจีนบุรี  จึงได้ใช้ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึง  งานนมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ว่า มีพระบาทจำลอง ฤดูเดือน 5 ราษฎรพากันไปไหว้ต้นโพธิ์  และ พระบาท มาแต่ไกล  จากเมืองพนมสารคาม  ท่าประชุม  และ  ที่อื่นๆ เป็นตลาดนัดซื้อขายจอแจกัน 2 วัน 3 วัน และมีดอกไม้เพลิงบั้งไฟเป็นต้น   มาจุดในการนักขัตฤกษ์นี้ กรมศิลปากร   ได้ประกาศขึ้นทะเบียนต้นศรีมหาโพธิ์ขึ้นเป็นโบราณสถานของชาติ   โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478”นายจำเริญ กล่าว   
ขณะที่ นายอวบ  ผิวเยี่ยม อายุ62ปี ชาวบ้าน หมู่บ้านชำหว้า เลขที่187 หมู่ 7 ต.โกปีบ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า  “ ในหมู่บ้านซำหว้า ชาวบ้านได้ร่วมกัน  นำบั้งไฟ รวม 7 ต้น มาจุดเพื่อขอฟ้าฝน – แก้บน กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์  บนเรื่องการทำมาหากิน วันนี้มาแก้บน เรื่องการ ทำนา ประมาณ 50-60 ไร่ ขอให้ฟ้าฝนดี นำ บั้งไฟ มาจุดถวาย จำนวน  6 ต้น ขนาด 2 นิ้ว
 
 
โดย ประเพณีการจุดบั้งไฟ  ในช่วงประเพณีนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือช่วงบุญเดือนหก  ได้มีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ ในทุก ๆ ปี  สืบต่อ ๆ กันมาอย่างยิ่งใหญ่เป็นประเพณี  จนถึงในปัจจุบัน   ยังมีการสืบทอดประเพณีนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ – บุญบั้งไฟ ใกล้กรุงเทพที่สุด จนถึง  สมัย คสช.  ได้ยกเลิกการจุด   และห้ามจุดต่อมาถึงช่วงสถานการณ์โคโรน่า-19  ระบาด   จึง  ไม่สามารถอนุญาตได้  และ  เมื่อ  มาถึง   ในงาน   ประเพณีนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ และ บุญเดือน 6  ปี  2565  ปีนี้   วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์  กำหนดงานระหว่าง 13 -15 พ.ค.65  เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมยังมีร้านค้าจำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน อาหาร เครื่องดื่ม   ต่างรอความหวัง    ในการได้ชมบั้งไฟ ว่าในปี2565 นี้   จะออกมาอย่างไร?  เพราะ  อัดอั้นกันมานาน   กลุ่มผู้สืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำบั้งไฟ-จุดบั้งไฟ แห่งเชื้อสายชาวลาวพวน จะมีการจุดบั้งไฟ ได้หรือไม่ ? ในการต้อนรับต้นฤดูกาลแห่งการต้อนรับ  การไถหว่านของพวกเขา ที่เห็นกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ  ที่งานจุดบั้งไฟจัดยิ่งใหญ่  รวมชาวไทยพวนทั้งอำเภอศรีมโหสถ อ.ศรีมหาโพธิ์ ใกล้เคียง ร่วมงาน  และจุดบั้งไฟ กกก่อนจุดมีขบวนเซิ้ง – แห่บั้งไฟตระการตาและมีมหรสพสมโภชหลายวัน  
 
สำหรับ  ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพที่พระโคดม    พุทธเจ้าเคยประทับและตรัสรู้   ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่า   ต้นโพธิ์เปรียบได้กับ   พุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง   ทำให้  พันธ์ต้นโพ  กลายเป็นพันธ์ไม้   ที่  เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมา   นับแต่สมัยพุทธกาล”นายอวบกล่าว 
 
 
ด้าน นายประจวบ โมกรักอายุ 60 ปี ชาวบ้านอยู่ทางเข้าวัดต้นโพธิ์ กล่าวว่า  ชาวลาวพวน ไม่ได้จุดบั้งไฟ  นานหลายปีๆ  ช่วงแรก คสช.ไม่ให้จุด อันเป็นการรวมกลุ่มคน   ปีต่อมา โควิด -19   ตนเอง มาแก้บนไว้ว่า   ลูกชายทำโรงงาน ขอไม่ให้ติดโควิค -19  ทั้ง 2 รอบ  ก็ไม่ติด   ได้นำบ้องไฟ  ขนาด 3 นิ้วจำนวน1กระบอก  มาแก้บน   นายบุญเลิศกล่าว
 
บรรยากาศ  นอกจากการจุดบั้งไฟ พบเศรษฐกิจ การค้าขาย ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ของฝากต่างขายดิบขายดี ในวันหยุดชดเชยวันสุดท้ายนี้ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากท่องเที่ยวแล้ว พากันเลือกกิน – ซื้อหา และสุดอรรศจรรย์หลังการจุดบั้งไฟแล้ว พบฝนตกลงมาอย่างหนักกระจายทั่วปราจีนบุรี

หน้าแรก » ภูมิภาค