วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 13:54 น.

ภูมิภาค

เกษตรกรสุพรรณบุรี ยื่นหนังสือถึงนายกฯวอนทบทวนโครงการช่วยเหลือชาวนา

วันเสาร์ ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 10.43 น.
ที่จังหวัดสุพรรณบุรี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มอบหมายให้ นายชูชีพ พงษ์ไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี เขต 2 พรรคชาติไทยพัฒนา รับหนังสือจากเกษตรกรชาวนา ซึ่งมีนายวิชัย ภูมิวัฒนาชัย  ส.อบจ.เขต 2 อ.บางปลาม้า นายจตุพร อุ่นวิจิตร ส.อบจ. สุพรรณบุรี เขต 3 อ.บางปลาม้า นายบรรเจิด แก้ววิชิต สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยกลุ่มเกษตรกรชาวนาสุพรรณบุรี ร่วมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ทบทวนโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว  
 
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี เขต 2 พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรชาวนาในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทราบว่ารัฐบาลจะยกเลิกโครงการช่วยเหลือเกษตรชาวนาที่เคยได้เงินจากรัฐบาลไร่ละ1,000บาท จำนวนไม่เกิน 20ไร่ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวรัฐเคยโอนเงินผ่านให้กับชาวนาโดยตรง ผ่านธนาคาร ธ.ก.ส.ซึ่งโครงการดังกล่าวถูกยกเลิก และเปลี่ยนมาใช้โครงการของกรมการข้าว โดยจะไม่โอนเงินให้เกษตรกรชาวนา ซึ่งจะจัดสรรคงบประมาณผ่านชุมชนทั่วประเทศนำไปซื้อครุภัณฑ์เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งตนเองในฐานะประธานกรรมาธิการได้พิจารณาเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง และทุกคนก็ไม่เห็นด้วยเนื่องจากความพร้อมของกรมการข้าวยังไม่มีความพร้อมเลย ทั้งบุคลากร และองค์กร ในการที่จะนำงบประมาณจำนวน15,260 ล้านบาทมาบริหาร 
 
ซึ่งในที่สุดคณะอนุกรรมาธิการพิจารณางบประมาณก็ได้ให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณโดยการโอนเงินให้กับชาวนาโดยตรง ซึ่งจะโอนให้ชาวนาไร่ละ700บาท ไม่เกิน 5ไร่ หรือครัวเรือนละ3,500บาท ขณะที่ชาวนากว่า 4.6ล้านครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรชาวนาเห็นว่าตนเองเคยได้ไร่ละ1พันบาท ลดมาเหลือเพียงแค่700บาท ซึ่งลดมาหลายเท่าตัว ในภาวะที่ต้นทุนสูง ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน แพงทุกอย่าง ต้นทุนก็สูงขึ้นทุกอย่างรวมไปถึงค่าครองชีพ เรียกได้ว่าชาวนาที่อยู่ในห้องไอซียูรัฐบาลยังมาถอดปลั๊กอ๊อกซิเจน ทำให้ชาวนาตาย จึงเป็นเหตุให้ชาวนามารวมตัวเพื่อยืนหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรี 2 เรื่อง 1.ขอให้รัฐบาลยังคงช่วยเหลือเงินเยียวยาไร่ละ1พันบาท ไม่เกิน20ไร่ 2.เรื่องน้ำ พื้นที่ทุ่งเจ้าเจ็ดและทุ่งโพธิ์พระยาขณะนี้มีปัญหาการระบายน้ำลงในพื้นที่นี้จำนวนมาก ซึ่งนาข้าวเมื่อปีที่แล้วน้ำท่วมทุ่งทั้ง2ทุ่งนี้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทัน แต่ปีนี้ฝนตกเร็วน้ำมาเร็วทำให้น้ำจำนวนมากไหลท่วมพื้นที่การทำนาอยุ่ในขณะนี้ ทำให้นาข้าวที่มีอายุตั่งแต่20วัน ไปถึงอายุนาข้าวที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวกำลังเสียหาย ก็ขอให้ส่วนชาชการที่เกี่ยวข้องที่บริหารจัดการน้ำ อย่างให้ข้าวของชาวนาเสียหาย อย่างไรก็ตามตนเองก็ขอวอนให้รัฐบาลชดเชยเกษตรกรชาวนาให้คุ้มกับต้นทุนที่ชาวนาลงทุนลงไป  
 
สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยการสนับสนุนค่าปรับปรุงคุณภาพข้าว ไร่ละ 100,00 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาในสภาวะที่ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งชาวนาก็พอใจกับโครงการดังกล่าว เพราะชาวนาได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก ตลอดจน สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ชาวนามีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่หากเกษตรกรได้รับเงินจากโครงการดังกล่าว ก็จะสามารถนำเงินมาทดแทนส่วนต่างของต้นทุนการผลิตได้ แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทราบว่ากรมการข้าว มีนโยบายดำเนินการโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรผู้ปลูกข้าว เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยการจัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องจักรกลทางการเกษตรให้กับศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 5,000 แห่ง ใช้งบประมาณ 15,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าว จะส่งผลกระทบกับชาวนาผู้ปลูกข้าวเป็นอย่างยิ่ง และหากมีการโยกงบประมาณจริง ชาวนาก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างใดจากโครงการนี้  
 
ทางสภาเกษตรกรฯ เห็นด้วยกับโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรผู้ปลูกข้าว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ช่วยเหลือเกษตรกรโดยการแก้ปัญหาสร้างความยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กับชาวนา แต่รัฐบาลควรจัดหางบประมาณส่วนอื่นที่มิได้กระทบกับชาวนา เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลาในการบริหารจัดการ แต่ ณ ปัจจุบันชาวนาก็ยังคาดหวังกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่สร้างความมั่นคงของรายได้และเป็นหลักประกันรายได้ขั้นต่ำในการประกอบอาชีพการเกษตร รวมทั้ง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมขังซ้ำซากมาตลอดทุกปี การทำนาต้องพักช่วงจากฤดูน้ำท่วม อย่างน้อย 4 เดือน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม ของทุกปี ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันก็ย่ำแย่ เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูง แต่รายได้ของชาวนายังคงตกต่ำ ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สิน ทั้งในระบบและนอกระบบเพิ่มขึ้นจึงขอความอนุเคราะห์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (นบข.) พิจารณาขยายโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อไปอย่างต่อเนื่องทุกปี จนกว่าสภาพเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพื่อชาวนาจะได้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป

หน้าแรก » ภูมิภาค