วันพุธ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 09:00 น.

ภูมิภาค

วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มข. คว้าถ้วยพระราชทานฯ พร้อมกวาดอีก 6 รางวัล

วันพุธ ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 20.52 น.

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น ได้รับรายงานว่าจากการที่ วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้าถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จากการประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทานฯ รุ่น อายุไม่เกิน 25 ปี ในงานมหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน จัดโดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา ณ โคราช ฮอลล์ ชั้น 4 เซ็นทรัล โคราช จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 12-14 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
 

 

สำหรับการประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทานฯ รุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ในครั้งนี้ นับเป็นที่น่ายินดีที่วงโปงลางสินไซ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถป้องกันแชมป์ ชนะใจคณะกรรมการผู้ตัดสินรับรางวัลชนะเลิศ คว้ารางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาครองต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 พร้อมรับเงินรางวัล 100,000 บาท

 

 

นอกจากนี้ยังกวาดรางวัลอันทรงเกียรติในเวทีเดียวกัน กว่า 6 รางวัล ประกอบไปด้วย1.รางวัลบรรเลงซออีสานดีเด่น2.รางวัลบรรเลงโปงลางดีเด่น3.รางวัลบรรเลงกลองดีเด่น4.รางวัลบรรเลงแคนดีเด่น5.รางวัลขับร้อง ลำ ดีเด่น6.รางวัลแสดงชุดเทิดพระเกียรติ ฯ ดีเด่น
  

 

ด้านอาจารย์อาทิตย์ กระจ่างศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในผู้ควบคุมทีม ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แนวคิดของชุดการจัดแสดงครั้งนี้เป็นการเป็นการแสดงเพื่อเทิดพระเกียรติฯสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครบรอบ 90 พรรษา โดยมีการร้อยเรื่องนำเอาเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.2498 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระราชินีได้เสด็จเยือนอีสานเป็นครั้งแรก
 

 

อาจารย์อาทิตย์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เลือกเรื่องราวของจังหวัดนครพนมเป็นร้อยเรื่องของการแสดงนั้น เป็นเพราะท่านได้ทรงเสด็จและประทับแรมที่จวนผู้ว่าหลังเก่าซึ่งเป็นจวนผู้ว่าหลังแรกของจังหวัดนครพนม เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส (ศิลปะโคโลเนียล) ในครั้งนั้นได้รับอิทธิพลการแต่งการแฟชั่นนิยมจากวัฒนธรรมตะวันตก เมื่อพระองค์ท่านได้ทำภารกิจเสร็จเรียบร้อย ในตอนเย็นได้ทรงเยี่ยมชมงานไหลเรือไฟ จึงเป็นแรงบันดาลใจถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวผ่านการแสดงเหตุการทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์ นอกจากนี้ส่วนเชื่อมโยงของจังหวัดนครพนมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้นำพระธาตุพนมมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย.

 

หน้าแรก » ภูมิภาค