วันศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 04:30 น.

ภูมิภาค

เดินหน้าพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษสายอีสานเชื่อมจีนและสสป.ลาว

วันอังคาร ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566, 15.17 น.

ห้องประชาสโมสร 1 ชั้น 2 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์  นายชาญชัย  ศรีศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ โครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศณษฐกิจ  จีน – ลาว - ไทย : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นโครงการจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ลาว)  และมหาวิทยาลัยหัวจงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (จีน) ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท)  โดยมีผู้บริหาร ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ทั้งในระเบียงเศรษฐกิจนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย และนครสวรรค์ และผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน 

นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัด  กล่าวว่า  การดำเนินกิจกรรมและโครงการฯ เป็นความร่วมมือกันระหว่างประเทศ จีน ไทย ลาว เพื่อสร้างเศรษฐกิจบนพื้นที่ระเบียงอีสาน ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม  ที่จะสร้างเส้นทางสู่ความเป็นเมืองเศรษฐกิจและพัฒนาการค้าโดยคาดหวังจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจในภาพรวมในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่จะได้รับประโยชน์กับการเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในอนาคตที่จะถึงนี้

ดร.สราวุธ  สัตยากวี รองผู้อำนวยการสำนักงานกลยุทธ์และพัฒนากองทุน (สกสว.)      กล่าวว่า การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการวิจัยนี้ และเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันและอนาคต

รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ความสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจทั้งภายในและการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจต่างประเทศ ที่จะเป็นกำลังสำคัญ ในการเชื่อมโยงผู้คน การค้าและการลงทุน ผ่านการศึกษาและการวิจัยนี้ ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อไป 

ศาสตราจารย์ ดร. รุธิร์ พนมยงค์ บรรยายพิเศษ ความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสต์ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ พร้อมทิ้งท้ายประเด็นความร่วมกันในการพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพและแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” 

Professor Li Wei, Ph.D. ASEAN Research Center, Huazhong University of Science and Technology  ได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณะและแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทยและอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน” และสิ่งสำคัญคือเรื่องของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ ดร. อรรฆพร ก๊กค้างพลู (หัวหน้าโครงการ) ได้กล่าวถึง ผลการวิจัยเบื้องต้นในรอบสามเดือนที่ผ่านมา และมีประเด็นเชื่อมโยงการพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือ ผ่านการตั้งคำถามการวิจัยว่า อะไรคือ โอกาส และความท้าทาย ของระเบียงเศรษฐกิจ รวมทั้งความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องมีกลไกสำคัญอะไรบ้าง โดยการนำเสนอผ่านโครงการวิจัย   ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการเสวนา การพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือ โอกาส ความท้าทาย ความร่วมมือการค้าการลงทุนบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย  Assoc. Prof. Dr. Sithixay XAYAVONG (Director of research and academic service office and Director of Chinese Studies Center) , Dr. Wang Yujiao (Manager of general office of Laos Vientiane Saysettha Operation Management Co., Ltd) , คุณบัญชา อาศัยราช (ประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดหนองคาย) , คุณกังวาน เหล่าวิโรจน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท พัฒนาเมืองขอนแก่น (เคเคทีที) จำกัด , คุณนายนาวิน โสภาภูมิ นักวิจัย บพท. ปี 2565   รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นร่วมกับผู้ประกอบการ นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อจำกัด และปัจจัยหนุนเสริมที่จะช่วยขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ และสรา้งความร่วมมือกันทั้งในและต่างประเทศ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างเข้มข้น นักวิจัย นักวิชาการและหน่วยงานภาคเอกชน และภาครัฐ ได้แก่   สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมเกษตรกรโคกระบือภาคอีสาน สภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยจังหวัดขอนแก่น  สภาอุตสาหกรรม 4 จังหวัด (ขอนแก่น / นครราชสีมา / อุดรธานี / หนองคาย) หอการค้า 4 จังหวัด (ขอนแก่น / นครราชสีมา / อุดรธานี / หนองคาย)  ผู้ประกอบการ (นักลงทุน) ไทยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น  ผู้ประกอบการ (นักลงทุน) จีนในพื้นที่ สปป. ลาว  ผู้ประกอบการ (นักลงทุน) ลาวในพื้นที่เวียงจันทร์  มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า  ที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

อย่างไรก็ตามในการเปิดตัวโครงการวิจัยเปิดตัว (Kick off) ”โครงการการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างการรับรู้ เพิ่มเติมความเข้าใจ และประสานความร่วมมือให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค