วันอังคาร ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 00:24 น.

ภูมิภาค

บุรีรัมย์ เปิดโครงการพาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติพร้อมเตือนลมแดด

วันเสาร์ ที่ 06 เมษายน พ.ศ. 2567, 19.57 น.

อำเภอสตึก / ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเปิด“โครงการพาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ ยืนยันจะยกระดับระบบบริการสาธารณสุข พร้อมเตือนทุกอาชีพโดยเฉพาะก่อสร้างไม่ควรตากแดดนานอาจถึงชีวิต ควรเบรกพักครึ่งชั่วโมงเป็นระยะเพราะเสี่ยงชีวิตช่วงสภาพอากาศร้อนนี้


วันที่ 6 เม.ย.67 ที่โรงพยาบาลสตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานโครงการพาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

 


ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ และภาพอนาคตระบบสาธารณสุขไทย ยกระดับระบบบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของรัฐบาล และความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในการรับบริการ ความแออัด และระยะเวลารอคอยการรักษา โดยเฉพาะโรงพยาบาลในเขตเมือง ตลอดจนโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และคุณภาพการบริการที่ประชาชนได้รับ


ภายในงานยังมีการให้บริการให้กับผู้ป่วยเช่นการรับบริการขาเทียม ผู้มีปัญหาสายตา มีประชาชนเข้ามาร่วมงานและใช้บริการเป็นจำนวนมาก


ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวด้วยว่า ในปี พ.ศ. 2567 กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายขับเคลื่อน “โครงการพาหมอไปหาประชาชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ” ในวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ต่อเนื่องตลอดปี พ.ศ. 2567

 

 

จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งโรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตัวแทนพื้นที่ในการดำเนินงานโครงการตามนโยบายดังกล่าวด้วย  โดยเฉพาะคนไข้ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ทำไมจะมีโอกาสได้พบหมอเฉพาะทางได้ เช่นโรคมะเร็งต่างๆ รวมถึงการผ่าตัดเล็กใหญ่ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้เปิดแล้ว 35 ครั้งและตั้งใจจะเปิดให้ครบ 73 ครั้งเพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัว


ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังออกมาแจ้งเตือนประชาชนทั่วไปว่า ในช่วงฤดูร้อนประชาชนจะต้องระวังเรื่องแสงแดด เป็นอาการรุนแรงทางการแพทย์เรียกว่า”ฮีทโตรก”ภาษาชาวบ้านเรียกว่าโรคลมแดด มีโอกาสเสียชีวิตได้


 ก่อนจะเป็นโรคชนิดนี้จะต้องมีอาการก่อนคือการเพลียแดด ถ้าเราไปตากแดดในที่อากาศร้อนนานๆ ร่างกายก็จะเสียน้ำจะทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเริ่มต้นของเพลียแดดคือ อ่อนเพลีย วิงเวียน เหมือนจะเป็นลม

 


แต่ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นร่างกายปรับตัวไม่ได้ก็จะมีอาการทางสมอง เช่นจะเป็นลม หมดสติ ชัก หรือมีอาการหัวใจล้มเหลว มีอาการไตวายเฉียบพลัน และถึงขั้นเสียชีวิตได้

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า มาตรการสำคัญคือเบื้องต้นประชาชนต้องมีความรู้ ไม่ควรจะไปอยู่ในที่อากาศร้อนหรือกลางแดดเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเช่นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจหลอดเลือด หรือเด็กเล็ก กลุ่มเหล่านี้ไม่ควรจะไปอยู่ในที่อากาศร้อนจัดหรือแดดมากเกินไป


โรคลมแดด จะไม่เว้นแม้กระทั่วคนหนุ่มคนสาว ถ้าทำงานในกลางแดด หรือในสถานที่ที่มีอากาศร้อนนานหลายชั่วโมง ที่ผ่านมามักจะเกิดขึ้นได้ในการฝึกทหารซึ่งอยู่ในที่แดดมากเกินไป ส่วนหนึ่งการสวมใส่เสื้อผ้าก็เป็นสิ่งสำคัญ เสื้อผ้าที่มีสีเข้มจะรับแสงแดด ได้ดีกว่า


อีกส่วนหนึ่งที่ต้องควรระวังคือกลุ่มคนทำงานก่อสร้าง ที่จำเป็นจะต้องไปอยู่กลางแดดนานๆจะต้องพักบ่อยๆ มาอยู่ในที่ร่มเพื่อให้ร่างกายปรับอุณภูมิ แล้วมาดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญไป โดยเฉพาะหากมีการเพลียและวิงเวียน จะต้องหยุดทันที ปลัดกระทรวงสาธารณสุข...กล่าว

 

 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค