วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:13 น.

ภูมิภาค

แนวคิดใหม่! ปลูกฝ้ายแก้ปัญหาช้างป่าภูหลวงบุกรุกพื้นที่ชาวบ้าน ส่งเสริมผู้สูงอายุยามว่าง

วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 12.13 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  นายประยูร อรัญรุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ลงพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน บานาน่าแลนด์ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย โดยมีนางสาวลักขณา แสนบุ่งค้อ และสมาชิกในพื้นที่ จำนวน 10 คน ที่มีกิจกรรมของผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมสร้างงาน สร้างรายได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาส่งเสริม พัฒนากิจกรรมกลุ่มให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยมีแนวคิดมุ่งสร้างรายได้ ช้างกับคนอยู่กันได้ 

จังหวัดเลย ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกฝ้ายแหล่งใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดเลยมีอากาศหนาวเย็น ส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกฝ้ายมาทอเป็นผ้าห่ม ทั้งแบบยัดไส้ฝ้ายและเป็นผืนธรรมดา เอาไว้ใช้เองในครัวเรือน แต่การเข้ามาของพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ทำให้พื้นที่ปลูกฝ้ายลดน้อยลง 

ปัจจุบันทางกลุ่ม เริ่มทำโครงการเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน (ฝ้ายกันชนช้าง) โดยค้นหาของดีที่เป็นจุดเด่นในด้านต่าง ๆ รวมถึงการทอผ้า การปลูกฝ้าย ซึ่งมีทั้งฝ้ายขาว ฝ้ายเขียว ฝ้ายตุ่ย ซึ่งสนับสนุนให้คนในชุมชนมีการดำเนินการตั้งแต่ต้นทาง มีการปลูกฝ้ายพันธ์ดั้งเดิมประมาณเกือบ 100 ไร่ โดยใช้หลักแนวคิดว่า "คนสามารถอยู่กับช้างได้" รอบๆหมู่บ้าน ด้วยการปรับวิธีปลูกพืชที่ช้างไม่กินก็คือ ปลูกฝ้าย เนื่องจากช้างไม่กินฝ้าย กลางทาง โดยการสร้างงาน สร้างอาชีพผู้สูงวัยและให้เด็กได้มาเรียนรู้เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดในการเข็นฝ้าย การนำฝ้ายมาทำเป็นเส้นด้ายเพื่อนำไปทำเป็นเสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ตุงฝ้ายและผลิตภัณท์ต่างๆจากฝ้าย และปลายทาง การจำหน่าย ในรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน การจำหน่ายออนไลน์  อ๊อฟไลน์ 

สำหรับพื้นที่ปลูกฝ้ายกันช้างนั้นจะปลูกแทนพื้นที่เดิมที่เกษตรกรปลูกพืชอย่างกล้วย สับปะรดและพืชที่ช้างกิน แทนด้วยฝ้ายไปเรื่องๆ และเพิ่มจำนวนพื้นที่ไปเรื่อยๆในรอบๆหมู่บ้าน และพื้นที่ช้างผ่าน เส้นทางช้าง  

นายประยูร  อรัญรุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า ในเรื่องของการแก้ปัญหาเรื่องช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ภูหอ ภูกระดึง ลงจากภูเขาไปกินพืชผลทางการเกษตร ด้านล่างในตำบลภูหอ ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง อำเภอหนองหิน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย จนทำให้เกิดปัญหาระหว่าง ช้างกับคน ในพื้นที่มาเป็นระยะเวลานานพอสมควร บ้างครั้งช้างทำร้ายคนจนตาย และบางครั้ง คนก็ทำร้ายช้างตายเช่นกัน เป็นปัญหาที่ไม่มีทางแก้ในปัจจุบัน  

การปลูกฝ้ายในพื้นที่กันช้างนั้น มันได้ประโยชน์ทั้ง 2-3 อย่าง ประเด็นแรกก็คือเรื่องของเปลี่ยนในเรื่องของการปลูกพืชที่ช้างไม่กิน เมื่อช้างเดินผ่านมาทางที่ปลูกฝ้ายนั้น ช้างก็แค่เดินผ่านไป ช้างไม่กิน พืชผลก็ไม่เสียหาย แต่ก่อนนี้ชาวบ้านปลูกพืชที่ช้างกินได้ เช่นกล้วย พืชผลต่างๆ สับปะรด โดยจะช้างเมื่อได้กลิ่นก็จะเดินไปหา ไปบุกรุก พืชสวน พื้นที่เกษตรและพื้นที่ทำกินรวมไปถึงบ้านพี่พักของชาวบ้านจนเสียหาย ซึ่งฝ้ายนั้นเป็นพืชพื้นบ้านของทางอำเภอภูหลวงอยู่แล้ว ถ้าเรามีการปลูกฝ้ายเยอะเยอะ มันก็จะส่งเสริมเรื่องของการแปรรูปฝ้าย ไม่ว่าเรื่องทําผ้าห่ม สมัยแต่เดิมที่เราเคยทำฝ้ายเอาไปทำผ้าห่ม แปรรูปเป็นเป็นเสื้อผ้าต่างๆ คาดว่าจะช่วยลดปัญหาของการที่ช้างบุกรุกพื้นที่ชาวบ้าน หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่เรียกช้างเข้ามาในหมู่บ้านในพื้นที่ เพราะหากปลูกฝ้ายช้างเข้ามาก็จะแค่เดินผ่านไปแค่นั้นเอง ซึ่งหากทำแบบนี้คาดว่าช้างจะเข้ามาทำร้ายคนและเข้ามาในพื้นที่น้อยลงและหายไป เพราะก่อนนี้ชาวบ้านนั้นเองปลูกแต่พืชผลทางการเกษตรที่เป็นการดึงดูดช้างเข้าพื้นที่ ภูหอและเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง ต่อไปคาดว่าการปลูกฝ้ายในพื้นที่ จะช่วยในการแก้ปัญหาระหว่างคนกับช้าง  ได้อย่างน้อย 50 เปอร์เซน และอยู่กันได้ระหว่างคนกับช้าง ช้างก็จะหายไป ไม่มารบกวนชาวบ้าน หากได้รับความร่วมมือกับคนในพื้นที่ ล่าสุดสามารถปลูกฝ้ายแทนพื้นที่เดิมไปแล้วกว่า 50 ไร่ 

หน้าแรก » ภูมิภาค