อื่นๆ » คอลัมน์
ฮวงจุ้ยพารวย
วรธนัส อัศกุลโกวิท : วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560, 08.30 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

รู้จักพลิกแพลงในการเรียน นำไปสู่การประยุกต์ที่ใช้ได้จริงของฮวงจุ้ย ตอนที่ 28
รู้จักพลิกแพลงในการเรียน นำไปสู่การประยุกต์ที่ใช้ได้จริงของฮวงจุ้ย
ตอนที่ 28
ตารางระบบประเภท 5 ธาตุ
5 ธาตุ |
ไม้ |
ไฟ |
ดิน |
ทอง |
น้ำ |
ทิศทาง |
ตะวันออก |
ใต้ |
กลาง |
ตะวันตก |
เหนือ |
ฤดูกาล |
ใบไม้ผลิ |
ร้อน |
ปลายร้อน |
ใบไม้ร่วง |
หนาว |
อากาศ |
ลม |
แห้ง |
ชื้น |
แห้ง |
เย็น |
ขั้นตอนการเกิน |
กำเนิด |
ยาว |
ละลาย |
เก็บ |
ซ่อน |
5 ธาตุ |
ไม้ |
ไฟ |
ดิน |
ทอง |
น้ำ |
อวัยวะตัน |
ตับ |
หัวใจ |
ม้าม |
ปอด |
ไต |
อวัยวะกลวง |
ถุงน้ำดี |
ลำไส้เล็ก |
กระเพาะ |
ลำไส้ใหญ่ |
กระเพาะปัสสาวะ |
อวัยวะรับรู้ |
ตา |
ลิ้น |
ปาก |
จมูก |
หู |
เนื้อเยื่อ |
เอ็น |
หลอดเลือด |
กล้ามเนื้อ |
ผิวหนัง ขน |
กระดูก |
อารมณ์ |
โกรธ |
ดีใจ |
กังวล |
เศร้า |
กลัว |
สี |
เขียว |
แดง |
เหลือง |
ขาว |
ดำ |
รส |
เปรี้ยว |
ขม |
หวาน |
เผ็ด |
เค็ม |
โน๊ต |
เจี๋ย(角) |
จื่อ(徵) |
กง(宫) |
ซาง(商) |
ยวี่(羽) |
อารมณ์ |
ร้องเรียง |
หัวเราะ |
ร้องเพลง |
ร้องไห้ |
ตระโกน |
ในการปะทะกันของ 5 ธาตุ เช่นเดียวกันที่ก็ไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ในการปะทะกันจะต้องมีการกำเนิดซึ่งกันและกันอยู่ภายใน มิเช่นนั้นแล้ว สรรพสิ่งก็จะกำเนิดไม่ได้
- เทียนกันตี้จือ(天干地支)และเจี่ยจึน่าอิน(甲子纳音)
จากการบันทึกไว้ของตำราความหมาย 5 ธาตุ กันจือคือ สิ่งที่ต้าหนาว(大撓)สร้างขึ้น ต้าหนาวนั้นเป็นการเริ่มต้นของเจี่ยอี่(甲乙)เป็นอาทิตย์ มีจึโฉ่ว(子丑)เป็นเดือน เรียกว่า จือ(支)สัมพันธ์กับฟ้าก็จะใช้อาทิตย์ สัมพันธ์กับดินก็จะใช้จันทร์ ความแตกต่างของหยินหยางก็คือกันจือนั่นเอง
สือเทียนกัน(十天干)เจี่ย(甲)อี่(乙)ปิ่ง(丙)ติง(丁)อู้(戊)จี่(己)เกิง(庚)ซิน(辛)เหริน(壬)กุ่ย(癸)
1.ความหมายของเทียนกันตี้จือ
เจี่ย คือ การแยก หมายถึง การแยกออกของสรรพสิ่ง
อี่ คือ การเบียด หมายถึง การกำเนิดขึ้นมาของสรรพสิ่ง
ติง หมายถึง แกร่ง หมายถึง ความแข็งแกร่งของสรรพสิ่ง
ปิ่ง หมายถึง ความสดใส หมายถึง การมองเห็นของสรรพสิ่ง
อู้ หมายถึง ความรุ่งเรือง หมายถึง ความรุ่งเรืองของสรรพสิ่ง
จี่ หมายถึง การบันทึก หมายถึง การมีรูปลักษณ์ของสรรพสิ่งที่รู้จักได้
เกิง หมายถึง เปลี่ยน หมายถึง การที่สรรพสิ่งสามารถเก็บและปรากฎได้
เหริน หมายถึง เชื่อ หมายถึง พลังชี่หยางหล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง
กุ่ย หมายถึง คาดหมาย หมายถึง สรรพสิ่งสามารถคาดหมายได้
จากนี้ทราบได้ว่า สือเทียนกันและการที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นสัมพันธ์กัน ส่วนการหมุนเวียนของดวงอาทิตย์ก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสรรพสิ่ง
2.ความหมายของสือเอ้อตี้จือ
จึ คือการหล่อเลี้ยง หมายถึงสรรพสิ่งเติบโตภายใต้พลังชี่หยาง
โฉ่ว คือ ความรุ่งเรือง หมายถึง สรรพสิ่งเติบโตและรุ่งเรือง
หยิน คือ การเคลื่อนย้าย หมายถึง สรรพสิ่งแตกหน่อและย้ายลงไปในดิน
เหม่า คือ การผุดขึ้น หมายถึง การที่สรรพสิ่งผุดขึ้นมาจากดิน
เฉิน คือ การสั่น หมายถึง สรรพสิ่งมักจะสั่นและโตขึ้น
ซื่อ คือ การเริ่ม หมายถึง สรรพสิ่งเริ่มโตขึ้นมาแล้ว
อู่ คือ ชิ้น หมายถึง การที่สรรพสิ่งงอกกิ่งก้านออกมา
เว่ย คือ ความอุ่น หมายถึง พลังชี่หยินเพิ่มขึ้น สรรพสิ่งตกต่ำ อุ่นขึ้นเล็กน้อย
เซิน คือ ร่าง หมายถึง ร่างของสรรพสิ่งต่างสำเร็จแล้ว
โหย่ว คือ แก่ หมายถึง สิ่งโตมาแล้ว
ซวี คือ ลด หมายถึง สรรพสิ่งต่างก็ลดและตกอับ
ไห้ คือ ใจกลาง หมายถึง สรรพสิ่งต่างเก็บอยู่ที่ใจกลาง
3.60 เจี่ยจี
สือเทียนกันและสือเอ้อตี้จือคู่กันตามลำดับ ตั้งแต่เจี่ยจึถึงกุ่ยไห้ รวมเป็น 60 กลุ่ม จึงเรียกว่า 60 เจี่ยจึ และทุก 2 กลุ่มก็ยังแบ่งเป็นหนึ่งการรับเสียง 5 ธาตุ
ตารางรับเสียงเจี่ยจึ
- ความหมายของ 24 ภูเขา
การวิจัยฮวงจุ้ยจะต้องเข้าใจในทิศทาง ตำแหน่งงวังของปากว้าและชื่อของปากว้านั้นหมายถึงทิศตะวันออก ใต้ ตะวันตก เหนือ ฯลฯ โดย
เจิ้น(震) ทิศตะวันออก
สวิ้น(巽) ทิศตะวันออกเฉียงใต้
หลี(离) ทิศใต้
คุน(坤) ทิศตะวันตกเฉียงใต้
ตุ้ย(兑) ทิศตะวันตก
เฉียน(乾) ทิศตะวันเฉียงเหนือ
ข่าน(坎) ทิศเหนือ
เกิ้น(艮) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
หากขณะที่มีผู้ช่วยดูฮวงจุ้ยให้ท่านกล่าวว่า “วังเจิ้นในปีนี้มี 5 เหลืองบินมาถึง และบ้านของท่านก็เปิดประตูเจิ้นบริวารในปีนี้จะได้รับอันตราย” นั้นหมายความว่าประตูเจิ้นนี้ก็คือประตูตะวันออก
นอกจากทิศทางของ 8 วังแล้ว ซินแสฮวงจุ้ยยังตัดสินความดีร้ายจาก 24 ทิศทางอีกด้วย โดยแต่ละทิศทางจะมี 15 องศา ทางฮวงจุ้ยเรียกว่า 24 ภูเขา ซึ่งคือ
เจี่ย(甲) เหม่า(卯) อี่(乙)
เฉิน(辰) สวิ้น(巽) ซื่อ(巳)
ปิ่ง(丙) อู่(午) ติง(丁)
เว่ย(未) คุน(坤) เซิน(申)
เกิง(庚) โหย่ว(酉) ซิน(辛)
ซวี(戌) เฉียน(乾) ไห้(亥)
เหริน(任) จึ(子) กุ่ย(癸)
โฉ่ว(丑) เกิ้น(艮) หยิน(寅)
เข็มทิศจะใช้ เหม่าเป็นทิศตะวันออกเฉียงใต้ อู่ทิศใต้ โหย่วทิศตะวันตก จึทิศเหนือ สวิ้นทิศตะวันออกเฉียงใต้ คุนทิศตะวันตกเฉียงใต้ เฉียนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เกิ้นทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
นี่คือภูเขาหลักของแต่ละกว้า ส่วนทั้งสองฝั่งของมันก็คือทิศทางที่เอนมาอีกฝั่งหนึ่ง เช่น เจิ้น สวิ้น ซื่อคือทิศตะวันออกเฉียงใต้ สวิ้นคือทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนเฉินคือทิศตะวันออกในทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่าตะวันออกเฉียงใต้เอนตะวันออก ส่วนซื่อคือทิศใต้ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่าทิศตะวันออกเฉียงใต้เอนทิศใต้ ส่วนภูเขาที่เหลือก็จะเป็นเช่นนี้เช่นกัน
เมื่อทราบทิศทางของ 24 ภูเขา ค้นหาตำแหน่งลี่จี๋(立极)ก็วาดเส้นทิศทางภูเขา 24 ลงในจุดลี่จี๋ โดยสามารถใช้ลี่จี๋เสริมได้ ไม่ว่าจะเป็นการขายอพาร์ทเม้นต์หรือจะเป็นการออกแบบภายในบ้านก็ล้วนแล้วแต่สามารถใช้วิธีนี้ได้ทั้งสิ้น
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับฮวงจุ้ยผ่านทางเฟซบุคได้ที่ เพจฮวงจุ้ยอาจารย์หม่า
https://www.facebook.com/pages/ฮวงจุ้ยอาจารย์หม่า และสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการเรียนฮวงจุ้ยฟรี ได้ที่ อาคารอาจารย์หม่า โทร. 088-2774051-60
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » คอลัมน์
Top 5 คอลัมน์อื่นๆ
- พระเด่นคนดังบ้านเมือง (18 พ.ค.68) 18 พ.ค. 2568
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
“บ้านเมืองพระเครื่อง” โดย อ.เจษ เมืองนนท์
บ้านเมืองพระเครื่อง- “ISPAH 2016 Congress” สร้างเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน 09:53 น.
- บ้านเมืองพระเครื่อง วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2559 09:42 น.
- จัดแสดง วันเดอร์ฟรุ๊ต ไลฟ์สไตล์ ดนตรี และศิลปะ 07:12 น.
- แวะชิม...ก๋วยเตี๋ยวเนื้อนครพนม-ไข่กระทะ-ขนมปังเวียดนาม 08:12 น.