วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 16:06 น.

อื่นๆ » คอลัมน์

บ้านเมืองพระเครื่อง

อ. วันชัย : วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563, 14.25 น.

ตรุษจีนปีนี้ท่องเทียวไหว้พระวัดตะเคียน BABY BUDDA พระพุทธเจ้าน้อย


        

 

♦♦♦  พระครูธรรมธรสงบ กิตติญาโณ เจ้อาวาสวัดตะเคียน ต.บาคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ได้ไปอัญเชิญ “พระมหาโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมารปางประสูติ”  ที่ชาวบ้านเรียกขานติดปากกันไปแล้วว่า “พระพุทธเจ้าน้อย” ( BABY BUDDA) จากวัดมงคลแก้วเกศหรือวัดตะเคียนสอง ต.แม่วะ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 เป็นปางประสูติของพระพุทธเจ้า เพื่อให้รำลึกพุทธประวัติเป็นการยกย่องสรรเสริญเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร เมื่อครั้งประสูติจากพระครรภ์มารดาการเรียกศรัทธาชาวพุทธเทิดทูลองค์พระศาสดาเอกของโลก พุทธ แปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แม้คัมภีร์พุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่าพระนางสิริมาหมายาทรงประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ทันทีเจ้าชายน้อยสิทธัตถะราชกุมารก้าวย่างลงดินมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นดอกบัวบานผุดขึ้นมารองรับให้ก้าวเดินบนดอกบัว 7 ดอก 7 ก้าว เป็นบุคคลาธิษฐานว่า พระพุทธองค์จะทรงประกาศ ศาสนธรรมไปทั้งจักรวาล ทรงชี้ฟ้าชี้ดินพร้อมเดินย่างกว้าวให้ฟ้าดินรับรู้เป็นสักขีพยานว่า เราคือมหาบุรุษเป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว วัดตะเคียนได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดตะเคียนเป็นปางประสูติของพระโพธิสัตว์ แกะด้วยไม้สักสูง 2 เมตรกว่า มีฐานเป็นดอกบัวปิดทองเดิมงดงามเชิญสาธุชนไปกราบไหว้ขอพรกันได้แล้ว ทางวัดกำลังจัดทำฐานยกสูงประดับกระจกลงสีทองแบบโบราณ

 

           

 

♦♦♦ ผู้ที่ได้ไปสักการะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ลุมพินีสถาน ก็จะเห็นพระมาหโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมาร ประดิษฐานอยู่วงเวียนกลางเมือง BHAJRAHAWA  ฝรั่งจะเรียกกันว่า BABY BUDDA   แปลเป็นภาษาไทยก็คือ “พระพุทธเจ้าน้อย” แทนคำว่า พระมาหาโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมารซึ่งเรียกยาก จึงมองเป็นเรื่องประชาสัมพันธ์ในโอกาสบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน เป็นการการยกย่องเทิดทูลมากกว่าสิ่งอื่น ซึ่งผู้จัดสร้างครั้งแรกก็เพียงประสงค์เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาลซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวไทยทั้งประเทศหลอมรวมพลังใจพลังทรัพย์จัดสร้างซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

           

 

♦♦♦ วัดตะเคียน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมี “ตลาดน้ำที่ขึ้นชื่อ” ได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นตลาดต้องชมอันดับต้นๆ ผู้คนแวะเวียนไปช็อบปิ้ง ชิมอาหารกันแน่นหนาตาโดยเฉพาะในวันเสาร์และอาทิตย์ สถานที่ร่มเย็นเป็นระเบียบไม่ต้องเดินตากแดด พระครูธรรมธรสงบ กิตติญาโณ เจ้าอาวาสพระนักพัฒนาได้จัดทำให้วัดตะเคียนทันยุคทันสมัยทั้งเด็กผู้ใหญ่ไปได้ไม่มีตู้บอกบุญให้บริจาคเงินใดๆทั้งสิ้น ท่านบอกว่าวัดต้องเป็นที่พึ่งของชาวบ้านการมาขอพระหลวงพ่อทันใจ หรือมาขอพรหลวงสรีระสังขารหลวงปู่แย้มอดีตเจ้าอาวาสที่ล่วงลับไปแล้วท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีมีเมตตาหรือมากราบไหว้สิ่งศักดิสิทธิ์ต่างๆในวัดตะเคียน ชาวบ้านหวังจะได้รับสิ่งดีงามกลับไปนั่นคือความสุขใจเท่ากับได้บุญแล้ว ใครไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียวก็ยินดีต้อนรับ พระครูธรรมธรสงบกล่าว เข้ามาวัดนี้ได้เลยโยมอาตมาประสงค์สนองพระเดชพระคุณหลวงปู่แย้มทำให้วัดเป็นที่พักพิงแก้ทุกข์ให้โยมได้ ปีนี้คนเกิดปีมะเมียทุกคนกังวลเรื่องปีชงจะมีอุปสรรค์ในการประกอบสัมมาชีพจึงทุกข์ใจในเรื่องปีชง วัดตะเคียนยินดีจัดให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นกอบเป็นกำก็ทำได้ เสริมดวงชะตาตำรับหลวงปู่แย้มรับปีชงยังคงอยู่คู่กับวัดนี้ทำแล้วสบายใจเหมือนไปชุบชีวิตใหม่จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน การค้าขาย ได้ลาภทรัพย์ไหลนองทองไหลมา ไปสักหนแล้วจะรู้ว่าทำไมผู้คนถึงล้นวัดศรัทธากันเยี่ยงนี้ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์มาดูกันได้โยมพระครูธรรมธรสงบเจ้าอาวาสวัดตะเคียนเรียนเชิญมา ไปไม่ถูกสอบถามเส้นทางได้ที่ 081 – 9210946 หรือ 02 – 5951851 จึงขอเชิญสาธุชนผู้มีศรัทธาไปนมัสการขอพร “พระพุทธเจ้าน้อย” พระโพธิสัตว์สิทธัตถะราชกุมารปางประสูติแกะด้วยไม้สักทั้งต้นสูง 2 เมตรมีฐานบัว 7 กลีบชมศิลปะการแกะที่งดงามยิ่งได้ที่วัดตะเคียน