วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 16:44 น.

อื่นๆ » คอลัมน์

บ้านเมืองพระเครื่อง

อ. วันชัย : วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 10.31 น.

พระเด่นคนดังบ้านเมือง (28 พ.ค.66)

“พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย”

 

 

พระสมเด็จทั้งวัดระฆังและบางขุนพรหมที่ขายได้มีราคานับวันจะหาชมยากต้องดูและจดจำกันไว้ แต่ที่ดูกันแล้วยกนิ้วให้ สวย ดี แท้ แต่เซียนพระไม่ซื้อ ออกบัตรรับรองจากองค์กรไหนก็ไม่ผ่าน “จบ” ก็เช่นเดียวกันผู้เขียนไม่มีความรู้ ไม่เล่นพระจึงไม่รู้ว่าพระองค์ไหนที่ส่งมาให้ลงขายได้ไม่ได้ แท้หรือเก๊ ก็ต้องขออภัยไว้ด้วยอย่าเลิกคบกันนะครับเอาผมไว้ใช้เถอะ บางท่านเก่งเป็นเซียนพระไม่ว่าจะอายุน้อยกว่าผม ผมต้องยกมือไหว้ท่านก่อนเสมอครับนี่คือสิ่งที่ผมให้เกียรติผู้รู้นับถือในความสารมารถ  วันนี้ขอบคุณท่านกำนันมานะ คงวุฒิปัญญา เมตตาส่งพระองค์ใหม่ที่เพิ่งซื้อได้มาให้ลง “พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย”


        

“พระสมเด็จสองคลองพิมพ์ทรงเจดีย์” คิง พรหมมณี

 

 

เจ้าของพระสมเด็จองค์งามบอกว่า องค์นี้เป็น พระสมเด็จวัดระฆังฝากกรุบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์ คนโบราณเรียกว่า “พระสองคลอง” หลายคนคงเคยได้ยิน  พิมพ์เป็นวัดระฆังแต่มีคราบฝ้าขาวให้เห็นรำไรๆและเนื้อหาไม่หนึกนุ่ม ผู้รู้สายตรงพระเบญจภาคีจึงตีเป็นพระวัดระฆังฝากกรุบางขุนพรหมหรือพระสองคลอง ขอเพียงเป็นพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ท่านสร้างไว้ในยุคสมัยนั้นก็สุดแสนดีใจและภาคภูมิใจที่ได้ครอบครอง ยินดีกับน้อง คิง พรหมมณีด้วยครับที่มีพระสมเด็จวัดระฆังฝากกรุบางขุนพรหม หรือพระสองคลอง พิมพ์ทรงเจดี องค์งามไว้ครอบครองเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตสืบไป


           

“นี่คือลายมือสักของหลวงพ่อกวยวัดโฆสิตาราม” ดร.สุรเชษฐ์ เชื้อศรี

 

 

เจ้าของบริษัทเครื่องสำอาง ลาชูเล่ คอสเมติคส์ มีคำตอบ ผมคือลูกศิษย์ที่หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม(วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท สักให้กับมือคนสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2521 ตอนนั้นผมอายุ 19 ปี ที่กุฎีไม้ทรงไทยโบราณของท่าน  แล้วท่านหักก้านร่มทิ้ง(เหล็กสัก) แล้วท่านก็บอกว่า กูสักให้มึงเป็นคนสุดท้ายจะไม่สักให้ใครอีกแล้ว  ตากูมองไม่ค่อยเห็น  ท่านยังยุหมากับแมวให้กัดผม หลังจากนั้นท่านอาบน้ำมนต์ให้ผม โชคดีมากครับผมไม่เคยบอกใคร ดีใจมากๆเลยที่ท่านโด่งดังมากๆในยุคนี้ ผมศรัทธาท่านมานานแล้วครับ นี่คือพระที่ผมใช้ติดตัว ลุงผมเสือพัน อายุ 91 ปี ยังมีชีวิตอยู่ยืนยันได้ครับ ท่านขี่จักรยาน 50 กิโลเมตรไปหาหลวงพ่อกวยเมื่อ 60 ปีก่อนให้หลวงพ่อสักโดนยิงโดนแทงไม่ระคายผิว พระเครื่องที่ท่านสร้างท่านเสกเอง ผมยังเก็บสะสมพระเครื่องที่ท่านสร้างและเสกในวัดนอกวัดจากมือท่านเป็นพันองค์


           

“กะลา พระราหูอมจันทร์ อาจารย์ปิ่น ยุคแรก”

 

 

อาจารย์ปิ่นเป็นศิษย์คนสำคัญของหลวง พ่อน้อย วัดศีรษะทอง แกะพระราหูด้วยกะลาตาเดียว ท่านได้สร้างและปลุกเสกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อน้อย และเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อน้อยได้สร้างพระราหูกะลาแกะสืบต่อมาหลายครั้ง ผู้รู้กล่าวว่า ยุคแรกประมาณปี พ.ศ.2490 ยุคกลางปลายปี พ.ศ.2490 และยุคปลายประมาณต้นปี พ.ศ.2500 เท่าที่พบมีเนื้อกะลาตาเดียวเท่านั้น ปัจจุบันเป็นที่นิยมแสวงหาในวงการพระเครื่องจัดเป็นสุดยอดเครื่องราง พระราหูอมจันทร์ อ.ปิ่น ยุคต้นที่ลงให้ชมนี้ อ้วน นครปฐม ใช้ติดตัวตลอดมา สนใจอยากมีไว้บูชาเตรียมพระส่งเข้าประกวด วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 66 ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน  อ้วน นครปฐม จัดพิธีปลุกเสกพระราหูอมจันทร์ รุ่น ราชาโชค ที่วัดศีรษะทองมอบเป็นรางวัลติดตามบ้านเมืองอาทิตย์ต่อไป


           

พระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ พิมพ์ป้อมเล็ก”

 

 

พระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูง  วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม  หลวงปู่บุญผู้สร้างเหรียญเจ้าสัวที่โด่งดังสะท้านเมืองไทย มีเรื่องเล่าขานกันว่า สมเด็จพระสังฆราชแพสมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพโมฬี เสด็จมาวัดกลางบางแก้วหลายครั้งจึงมีความสนิทใกล้ชิดกันมากสันนิษฐานได้ว่าการสร้างพระชัยวัฒน์หลวงปู่บุณ สมเด็จพระสังฆราชแพน่าจะมีส่วนร่วมในการสร้างและปลุกเสกพระชัยวัฒน์ด้วย  พระชัยวัฒน์พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูงเป็นพระทองเหลืองผสมมีวรรณะเหลืองอมเขียว บางองค์ทาด้วยหรดาลสีเหลืองทับมีบางองค์ลงรักปิดทองเก่า มีบัตรรับรองพระแท้จากสมาคมฯผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย องค์นี้อยู่ในความครอบครองของ คุณ KP แห่งแกลอรี่  พระกฤตาภินิหาร โทร.083-7342514


           

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ครุฑใหญ่

 

 

พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑใหญ่ได้รับความนิยมสูงสุด ในบรรดาพิมพ์ครุฑด้วยกัน พิมพ์ครุฑใหญ่องค์นี้เป็นพระสภาพสมบูรณ์คมลึก  เท่าที่พบจะมีสีอิฐ สีเหลืองอมน้ำตาล  สีเหลือนวลอมขาว ด้านข้างมีรอยปาดแต่ง ถ้าไม่ปาดแต่งองค์พระจะผายกว้างออกด้านหลัง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อปานที่ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทพุทธคุณอันสูงล้ำเลิศในทุกด้านรวมไว้ในองค์พระ เชื่อกันว่าพิมพ์ครุฑเปี่ยมด้วยพลังบุญญาบารมี เป็นอำนาจ มหานิยมแก่ผู้บูชา จึงเป็นที่ต้องการของทั้งคนไทยและต่างชาติ องค์นี้เป็นพิมพ์ครุฑใหญ่เหมาแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจและผู้ทำงานปกครองคนหมู่มากอยู่ในความครอบครองของ บั้ม สุพรรณ ร้านชั้น 3 พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน


           

พระพุทธชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ ปี 85”

 

 

พระพุทธชินราชอินโดจีนจัดสร้างที่วัดสุทัน์เทพวราราม และปลุกเสกในพระอุโบสถวันเสาร์ ๕ ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม 2485 (วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕) ออกแบบโดยกรมศิลปากร มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ)เป็นองค์ประธาน  ท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ  ทำตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังยุคนั้นปลุกเสก 108 รูปจัดเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง  องค์นี้เป็นพระชินราชอินโดจีน ปี 85 พิมพ์แต่งเก่า เป็นพระเดิมจากวัดมีการตอก ขุดเซาะ เกาด้วยอุปกรณ์โบราณของช่างชาวบ้านรุ่นนั้น สมเด็จพระสังฆราชแพท่านดำริว่าให้แต่งน้อยที่สุดให้คงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุดจึงเป็นที่มาของคำว่าแต่งเก่า องค์นี้เนื้อจัดครบถ้วนงานศิลป์ช่างโบราณแท้ ของ ฤทธิ์ หล่มสักประธานชมรมพระเครื่องหลวงพ่อทบและพระเครื่อง เครื่องรางไทย โทร.064-5369953


           

พระหูยานลพบุรี เนื้อชินเงิน”

 

 

พระหูยาน พิมพ์ใหญ่พระพิมพ์นั่งของเมืองลพบุรี เป็นพระอันดับหนึ่งของเมืองลพบุรี สร้างสมัยขอมเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ใช้เมืองละโว้เป็นศูนย์กลางของศาสนา ศิลปะรวมทั้งวิทยาการทั้งหลายของขอมล้วนมีกำเนิดที่เมืองละโว้ทั้งนั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ประทับนั่งบนกลีบบัวเล็บช้างมีทั้งชั้นเดียวและสองชั้น  พระเกศเป็นบัวตูมมีลักษณะเคร่งขรึมเป็นเอกลักษณ์ศิลปะขอม พระกรรณยาวจรดพระอังสา วงการพระเครื่องจึงขนานนามว่า “พระหูยาน” มีอายุการสร้างกว่า 700-800 ปี องค์นี้ของ ดร.ประเสริฐ ฉัตรตระกูล


        

“พระร่วงหลังรางปืน สนิมแดง สุโขทัย”

 

 

พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระยืนปางประทานพร อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว  สมัยก่อนเรียกพระร่วงหลังกาบหมาก  พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระมีอายุราว 800 ปี เกิดสนิมแดงแตกกรุออกมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระศิลปะเขมรยุคบายน  ด้านหลังองค์พระกดลึกเป็นร่องยาวจัดอยู่ในพระชุดยอดขุนพลหนึ่งในห้าอันดับยอดเยี่ยมของพระประเภทเนื้อชิน นอกจากจัดเป็นจักรพรรดิพระเครื่องเนื้อชินแล้ว เป็นพระที่หาชมของแท้ยากยิ่ง ท่านที่มีอยู่จงหวงแหนไว้ด้วยราคาที่เล่นหาแพงมาแต่ในอดีต พระร่วงหลังรางปืนองค์นี้ของ อ.สรวิชญ์ ทรัพย์สุขสำราญ


           

“พระกริ่ง ๗๙ สมเด็จพระสังฆราชแพ”

 

 

พระกริ่ง ๗๙ วัดสุทัศน์ สมเด็จพระสังฆราชแพสร้างไว้ในขณะที่พระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต ในปี พ.ศ.2479  ด้วยพระเมตตาอนุญาตให้รอ.ขุนอนุการบรรณกิจ ร.น.ศิษย์ผู้ใกล้ชิด และศิษย์จำนวนมากที่มีความประสงค์ต้องการไว้สักการบูชา ให้จองคนละองค์ นำเงินพดด้วงตรายันต์มาคนละ ๑ บาท ค่าจ้างช่างอีกคนละ ๑ บาท  ส่วนชนวนค่าใช้จ่ายในพิธีทรงเมตตาออกให้ เทหล่อเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2479 วันครบรอบพระชนมายุของท่าน ช่างอินทร์ วัดคอกหมูเป็นช่างหล่อ  แต่งโดยช่างประสาร ศรีไทย จำนวนการสร้าง 464 องค์ หนึ่งองค์ในจำนวนนี้อยู่กับ โต๊ด นาฬิกามือสอง โทร.088-8628888


           

พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน พิมพ์กลักไม้ขีด”

 

 

พระหลวงพ่อทวดพิมพ์กลักไม้ขีด เนื้อว่าน ปี 97 เป็นพระที่หาชมได้ยาก เป็นพระที่สร้างแจกในกลุ่มกรรมการไม่มีผู้ใดทราบชัดเจน สร้างกี่องค์ พระสร้างด้วยว่าน ดินดำผสมกากยายักษ์ ท่านที่เคยเห็นองค์จริงของพระเนื้อว่านพิมพ์ต่างๆปี 97 ก็จะพอเข้าใจเช่นมีไขขาวออกจากเนื้อพระ  เนื้อว่านฟู มีคราบน้ำว่าน มีรอยรานแบบธรรมชาติ เป็นเสน่ห์ของพระพิมพ์นี้ องค์พระมีขนากว้าง 2.8 ซ.ม.สูง 4.5 ซ.ม.หนา 1ซ.ม. ด้านหลังรูปสถูปเจดีย์ พิมพ์คมลึกเห็นองค์หลวงพ่อทวดนั่งในซุ้ม องค์พระโดยรวมแห้งของว่านบ่งบอกถึงความเก่า พระหลวงพ่อทวด กลักไม้ขีด ปี 97 องค์นี้ของ ดร.คมสัน สุวรรณรุจิ


           

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ เพชรเมืองกาญจน์”

 

 

พระท่ากระดาน 1 ใน 5 พระยอดขุนพลยอดนิยม ของประเทศไทยมาแต่อดีต มีคำถามว่าใครตั้งชื่อพระท่ากระดาน อ.โกร่ง ศรีสวัสดิ์ เจ้ากรมพระท่ากระดานบอกว่า ชื่อนี้เรียกขานกันมาแต่โบราณตามชื่อวัดที่พบพระครับ  วัดกลางหรือวัดท่ากระดาน ท่านยังย้ำเสมอว่าให้ดูพุทธลักษณะขององค์พระเหมือนพระยุคอู่ทอง ก็เป็นเช่นนั้นแหละครับสร้างในสมัยอู่ทอง ราว ปี พ.ศ.1800-2031เป็นพระมีหน้าเดียวหลังแบนเรียบ ให้พิจารณาจดจำพุทธลักษณะเป็นปติมากรรมแบบนูนสูง ฐานสำเภา เค้าหน้าเคร่งขรึม น่าเกรงขาม จมูกใหญ่เข่าแหลมยื่นออกมาเลยฐานชั้นล่าง พระถูกทับถมพระเกศจึงมีทั้งตรง คด งอ หักด้วนเป็นแบบเกศบัวตูม ทุกองค์ต้องมีสนิมแดงเกิดจากกาลเวลาทำปฏิกริยากับอากาศในกรุ และต้องมีสนิมไขด้วย  พุทธคุณดีทางแคล้วคลาดและคงกระพัน วงการพระเครื่องจึงยกย่องให้เป็น “ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง”