อื่นๆ » คอลัมน์
บ้านเมืองพระเครื่อง
เจษ เมืองนนท์ : วันศุกร์ ที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2567, 15.38 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

พระสมเด็จวัดระฆังมีน้อย จริงหรือ ?
พระสมเด็จวัดระฆังมีน้อย จริงหรือ ? EP 2 “บ้านเมืองพระเครื่อง” คอลัมน์ “สืบสานพระสมเด็จ” โดย..อ.เจษ เมืองนนท์
บนโลกใบนี้ มีความจริงอยู่ข้อหนึ่งคือ “การทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จะสง่างามกว่าการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง” อยู่ที่ว่าใครจะเลือกทำแบบไหน
มีคำพูดหนึ่งในวงการพระเครื่องที่ว่า “พระสมเด็จวัดระฆังมีน้อย ไม่เกิน 200 องค์” ย่อมมีร่องรอยบางอย่างที่น่าวิเคราะห์อย่างยิ่งว่าเป็นคำพูดเพื่อส่วนรวมหรือเพื่อส่วนตัว
จริงหรือที่พระสมเด็จวัดระฆังมีแค่ 200 องค์ ตอนที่แล้วเราวิเคราะห์ด้วยเหตุผลใน 5 ข้อไปแล้ว เราลองใช้ “เหตุผล” มาวิเคราะห์ในตอนที่ 2 กันครับ
6. สมเด็จพุฒาจารย์(โต) ชอบสร้างพระพุทธรูปและเจดีย์ใหญ่ๆ โตๆ ให้สมนาม “โต” ของท่านไว้ 6 แห่ง คือ
- พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา
- พระพุทธรูปยืนสูงที่สุดที่วัดอินทรวิหารบางขุนพรหม
- พระเจดีย์นอนจำนวน 2 องค์ หันฐานเข้าหากันที่วัดละครทำ ธนบุรี
- พระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ วัดกุฏิทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
- พระพุทธรูปยืน ที่วัดกลาง ต.คลองข่อย จ.ราชบุรี
งานประติมากรรมที่ท่านสร้างไว้มีขนาดใหญ่โตทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญชี้ให้เห็นว่า การสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง องค์ขนาดชิ้นฟักเล็กๆ มีขนาดเพียง 2 x 3 ซม.เศษ ท่านคงสร้างสำเร็จไม่ยาก
7. เนื่องด้วยพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นพระเนื้อผง คนสมัยนั้นไม่มีสิ่งห่อหุ้มอย่างดีเหมือนสมัยนี้ ทำให้เนื้อพระสึกกร่อนแตกหัก แต่สมเด็จพุฒาจารย์(โต) มีวิธีการชาญฉลาดในการรักษาเนื้อพระ โดยการนำพระสมเด็จไปลงรัก เคลือบรักษาเนื้อพระไว้เป็นอย่างดี จึงมีสภาพดีจนถึงปัจจุบัน
8.ในผนังพระอุโบสถวัดอินทรวิหารหรือวัดบางขุนพรหมนั้น มีภาพวาดที่มีการตีความโดยท่านอาจารย์ สืบสาน พรหมรังสี ผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นแหล่งบรรจุพระสมเด็จของท่านเอาไว้ ซึ่งมีทั้งพระนอนวัดสะตือ พระโตวัดเกศไชโย พระยืนวัดอินทรวิหาร พระยืนวัดกลางคลองข่อย พระปรางค์วัดระฆัง และยังมีอีกหลายภาพที่รอการเฉลย ซึ่งอาจจะเป็นภาพของวัดปากบาง วัดพิตเพียน วัดขุนอินท์ วัดละครทำ ซึ่งภาพสถานที่เหล่านี้ ล้วนพบพระกรุเป็นพระสมเด็จตามภาพวาดแทบทั้งสิ้น คำถามก็คือ ทำไมภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นในพระอุโบสถวัดอินทรวิหารที่เกี่ยวพันกับสมเด็จโต และทำไมจึงพบพระสมเด็จตามกรุในภาพแทบทั้งสิ้น หรือเป็นลายแทงที่เป็นเจตนาของท่านที่ต้องการบอกกล่าวเอาไว้
แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ตลอดสิบปีที่ผ่านมา บรรดาสมาคมเล็กสมาคมใหญ่ที่อ้างว่าเป็นผู้นำวงการนั้น กลับฟันธงว่า พระกรุต่างๆเหล่านั้น ไม่ทันยุคสมเด็จโต
คำถามก็คือ ได้มีการตรวจสอบหรือไม่ ตรวจสอบโดยใคร ตรวจสอบอย่างไร เชื่อถือได้หรือไม่ และได้ผลลัพท์เป็นเช่นไร เปิดเผยได้หรือไม่ ก่อนที่จะประกาศไม่รับรอง
หากเราศึกษาข้อมูลหลายด้าน นำมาวิเคราะห์ด้วยเหตุผลด้วยใจที่บริสุทธิ์ จะพบความจริงที่เชื่อได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) สร้างพระสมเด็จมีจำนวนมากพอควร แต่เนื่องด้วยเพราะสมเด็จเป็นสิ่งมหัศจรรย์ล้ำค่ายิ่ง จึงมีการเก็บรักษาไว้และเป็นมรดกให้แก่คนรุ่นหลัง รวมทั้งยังมีการค้นพบใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งคงจะเป็นเรื่องที่ดีมาก หากสมาคมเล็กและสมาคมใหญ่ที่ประกาศตัวเป็นผู้นำวงการพระเครื่องทั้งหลาย จะมีการแต่งตั้ง “ฝ่ายวิชาการประจำสมาคม” เพื่อคอยค้นคว้าตรวจสอบให้เกิดความแน่นอนชัดเจนก่อนที่จะฟันธงว่าพระกรุนั้นกรุนี้ไม่ทันยุค หรือระบุว่ามีพระแค่ 200 องค์ เพราะคำพูดนี้ มันไม่ใช่การสร้างสรรค์วงการพระเครื่องแต่อย่างใด
เลิกพูดเถอะครับว่ามีแค่ 200 องค์ แล้วหันมาช่วยกันเพื่อพัฒนาวงการพระเครื่องไทยอย่างสร้างสรรค์ เพราะมัน “สง่างาม”กว่ากันเยอะเลย!!!
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
“บ้านเมืองพระเครื่อง” โดย อ.เจษ เมืองนนท์
บ้านเมืองพระเครื่อง- “ISPAH 2016 Congress” สร้างเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน 09:53 น.
- บ้านเมืองพระเครื่อง วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2559 09:42 น.
- จัดแสดง วันเดอร์ฟรุ๊ต ไลฟ์สไตล์ ดนตรี และศิลปะ 07:12 น.
- แวะชิม...ก๋วยเตี๋ยวเนื้อนครพนม-ไข่กระทะ-ขนมปังเวียดนาม 08:12 น.