วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 09:52 น.

กทม-สาธารณสุข

รัฐหวังลดใช้งบประมาณดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ขับเคลื่อนการดูแลเบาหวานในประเทศไทย ด้วยดิจิทัลโซลูชัน

วันพฤหัสบดี ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 11.26 น.

รัฐหวังลดใช้งบประมาณดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ขับเคลื่อนการดูแลเบาหวานในประเทศไทย ด้วยดิจิทัลโซลูชัน


นายมิไฮ อีริเมสซู  กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัดเปิดเผยว่าโรคเบาหวานยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญที่สุด ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จากข้อมูล Diabetes Atlas 2025 โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF) ระบุว่า ประมาณ 11.1% ของผู้ใหญ่ชาวไทยอายุ 20 ถึง 79 ปี หรือราว 6.5 ล้านคน  กำลังเผชิญกับโรคเบาหวาน โดยน่าเป็นห่วงว่าเกือบ 40% ยังไม่ทราบว่าตนเองป่วย และในกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว หลายคนยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม เฉพาะในประเทศไทย กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) รวมถึงเบาหวาน ก่อให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจสูงถึงเกือบ 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 9.7% ของ GDP ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่เพียงสถิติ แต่สะท้อนถึงชีวิตจริงของผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในแต่ละวัน ที่โรช ไดแอกโนสติกส์ เราเชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสในการเข้าถึงสุขภาพที่ดี และมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองอย่างมีข้อมูลและความมั่นใจในทุกช่วงชีวิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีประชากรถึง 60% ของโลก หรือประมาณ 4.8 พันล้านคน การวินิจฉัยโรคมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการแพทย์มากถึง 70% แต่กลับได้รับงบประมาณเพียง 2–3% ของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เราจึงมุ่งมั่นผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญนี้

 

 

โรชมีพันธกิจในการส่งมอบโซลูชันการวินิจฉัยที่มีความสำคัญ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจคัดกรองเบื้องต้น ไปจนถึงการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง เราเชื่อว่าการดูแลผู้ป่วยจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อแพทย์เข้าใจผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และเป็นรายบุคคล แนวทางสำคัญของเราคือ การจัดการเบาหวานแบบเฉพาะบุคคลอย่างบูรณาการ (iPDM) ซึ่งรวมเอาอุปกรณ์ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (BGM) แอปพลิเคชันดิจิทัล สำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และทีมดูแลสุขภาพแบบสหสาขาเข้าด้วยกันในระบบที่มีโครงสร้างและนำไปใช้ได้จริง

 

 

ข้อดีของโมเดลนี้ได้แก่:

●     การเฝ้าติดตามค่าน้ำตาลในเลือด BGM (Blood Glucose Monitoring) เป็นวิธีที่ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร ช่วยให้การดูแลเบาหวานในชีวิตประจำวันมีประสิทธิภาพ และลดภาระต่อระบบสุขภาพ

●     การใช้ BGM ร่วมกับแอปดิจิทัล ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่มีค่าใช้จ่ายสูง

●     ด้วยอุปกรณ์และโซลูชันดิจิทัลของโรช ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถมีส่วนร่วมในแผนการรักษาที่เฉพาะบุคคล มีโครงสร้าง และอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

 

 

ในการสนทนาวันนี้ เราจะได้ร่วมสำรวจว่าเครื่องมือดิจิทัล เช่น การตรวจน้ำตาลอย่างมีโครงสร้าง แอปพลิเคชันมือถือ CGM แบบเรียลไทม์ และระบบติดตามทางไกล กำลังพลิกโฉมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยอย่างไร ทำให้สามารถตรวจพบปัญหาได้เร็วขึ้น ตอบสนองได้ไวขึ้น และรักษาได้ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น

 

เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการทางการแพทย์ ภาครัฐ และชุมชนทางการแพทย์ในวงกว้าง เพื่อร่วมกันผลักดันอนาคตของการดูแลโรคเบาหวานแบบดิจิทัลที่มีความทันสมัย เฉพาะบุคคล และเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

 

 

ขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งสำหรับการเข้าร่วม ความร่วมมือ และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังแห่งความร่วมมือ และนวัตกรรม เราจะทำให้แน่ใจว่า "ไม่มีใครมองข้ามเบาหวานได้อีกต่อไป"

 

 

รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลายประเทศ รวมถึงไทย กำลังเผชิญวิกฤตเบาหวาน มีผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลหรือกลุ่มเปราะบาง การขาดแคลนเครื่องมือและยาใหม่ๆ เป็นอุปสรรคสำคัญ โครงการนำร่องแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีอย่าง CGM และแอปการจัดการภาวะเบาหวานสามารถยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและควบคุมโรคได้ดีขึ้น หากเราเร่งลงทุนและขยายการเข้าถึง เทคโนโลยีเหล่านี้จะเชื่อมโยงความรู้ทางการแพทย์กับชีวิตจริง ทำให้ผู้ป่วยจัดการโรคได้ด้วยตนเองและมีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

อีกกรณีศึกษาจากอินเดียที่ Jothydev’s Diabetes Research Centre ได้ใช้ระบบดูแลเบาหวานทางไกล (DTMS) ด้วยการติดตามระดับน้ำตาลและการโค้ชแบบเฉพาะบุคคล โดยใช้งบเพียงเดือนละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการดูแลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และคุ้มค่าต่อการลงทุน

 

 

ศาสตราจารย์จูเลียนา ชาน ผู้อำนวยการสถาบันโรคเบาหวานและโรคอ้วนแห่งมหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง กล่าวว่า CGM ได้ปฏิวัติการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แต่ในประเทศรายได้ต่ำยังมีปัญหาในการเข้าถึงเครื่องมือ ความรู้ และการสนับสนุนที่จำเป็น หากจะอุดช่องว่างนี้ เราต้องสร้างความตระหนัก ส่งเสริมการคัดกรองเชิงรุก และดูแลผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคล โดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับการรักษาจริง

 

บางโครงการนำร่องในประเทศ LMICs พบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถลดช่องว่างของความรู้และการนำไปใช้ได้จริง ทำให้การประสานงานด้านการรักษาระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังประหยัดงบประมาณอีกด้วย ตัวอย่างในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ศึกษาประสิทธิภาพของการดูแลผ่านระบบทางไกล พบว่าผู้ป่วยที่ใช้เทคโนโลยีสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่ากลุ่มที่จดบันทึกด้วยกระดาษ ทั้งในระยะ 12 และ 24 สัปดาห์

 

นพ.โจธีเดฟ เคซาวาเดฟ ประธานศูนย์เบาหวานในรัฐเกรละ กล่าวว่า เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการดูแลเบาหวาน คือสิ่งที่มีอยู่ในวันนี้ หากเราบูรณาการเครื่องมือที่ชาญฉลาดเข้ากับระบบสุขภาพ จะช่วยให้ดูแลโรคเบาหวานได้อย่างคุ้มค่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร


เมื่อภาระโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก การสร้างโมเดลการดูแลที่ขยายได้ มีข้อมูลเป็นฐาน และยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ผลลัพธ์ที่น่าพอใจจากประเทศไทยและอินเดียแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมดิจิทัลสามารถปิดช่องว่างในการดูแลในพื้นที่ทรัพยากรจำกัดได้ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ทั้งผู้ป่วย ระบบสุขภาพ และผู้ให้บริการ iPDM จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีเครื่องมือ ความรู้ และการสนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถจัดการโรคเบาหวานได้อย่างมั่นใจในทุกวัน

 

สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในปัจจุบัน

 

โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของทั่วโลกและมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากการดำเนินชีวิตและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ข้อมูลจาก Diabetes Atlas ฉบับที่ 11 ของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) ล่าสุดพบว่า ทั่วโลกมีผู้ใหญ่เกือบ 1 ใน 9 ราย (หรือ 589 ล้านคน) กำลังใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน โดยในจำนวนนี้ มีประมาณ 252 ล้านคนที่ยังไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะเบาหวาน ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และหลายคนมักจะได้รับการวินิจฉัยเมื่อพวกเขาเกิดอาการจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยหนึ่งอย่างไปแล้ว และทำให้พลาดโอกาสในการป้องกันหรือชะลอการเกิดโรค

 

ข้อมูลประมาณการผู้ป่วยโรคเบาหวานครั้งล่าสุดที่น่าตกใจจาก IDF แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ 589 ล้านคน (อายุระหว่าง 20-79 ปี) ทั่วโลกกำลังใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรของสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก และแคริบเบียนรวมกัน  จำนวนผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานโดยประมาณ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึง 853 ล้านคนภายในปี 2593 ผู้ใหญ่ 3 ใน 4 รายที่เป็นเบาหวานอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) โรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนกว่า 3.4 ล้านรายต่อปี  ผู้ใหญ่ 1 ใน 8 รายมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1.8 ล้านคน กำลังใช้ชีวิตอยู่กับเบาหวานชนิดที่ 1

สถิติที่น่าสนใจ: โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสุขภาพที่เร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน
ภายในปี 2050 สมาคมเบาหวานนานาชาติ (IDF) คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเกือบ 853 ล้านคน โดยมากกว่า 20% มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คาดว่าร้อยละ 95 ของการเพิ่มขึ้นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง
จากจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกในปัจจุบันที่มี 589 ล้านคน มีถึงร้อยละ 40 ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาโรคเบาหวานทั่วโลกเกินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 ซึ่งสร้าง ภาระทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
ยังคงมีภารกิจสำคัญอีกมากในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน เพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาและการดูแลที่เป็นธรรม ครอบคลุม ราคาไม่แพง และมีคุณภาพ จะพร้อมสำหรับทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยโรค

สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย

โรคเบาหวานจัดเป็นหนึ่งในห้าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในประเทศไทย มีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 1 ใน 10 คน หรือประมาณ 6.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และ 40% ไม่ทราบว่าตัวเองป่วย สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการคัดกรองเบื้องต้น การติดตามผล และการเข้าถึงการรักษาที่เท่าเทียมและทันสมัย และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไทยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม เนื่องจาก ช่องว่างในการคัดกรองและการรักษา ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศไทยเผชิญความท้าทายในการเข้าถึงยารักษาและเทคโนโลยีติดตามอาการใหม่ๆ อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท 


วิวัฒนาการของการจัดการโรคเบาหวาน

การจัดการโรคเบาหวานมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดจากการตรวจปัสสาวะในยุคเริ่มต้น ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันดิจิทัลใหม่ๆ ทำให้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) ผ่านการเจาะนิ้ว เป็นวิธีที่ได้รับคำแนะนำและแพร่หลายที่สุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการใช้งานร่วมกับแอปสุขภาพบนมือถือช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น การฉีดอินซูลิน การรับประทานยา และมื้ออาหาร และสามารถแชร์กับแพทย์ได้แบบเรียลไทม์

อย่างไรก็ตาม ระบบตรวจน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง (CGM) ได้กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการจัดการโรคเบาหวาน ด้วยความสามารถในการให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างทันท่วงที แต่ถึงกระนั้น การควบคุมน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพก็ยังเป็นช่องว่างสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยอาจยังมีภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะแทรกซ้อน และคุณภาพชีวิตที่ถดถอยจากการขาดความรู้ การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือการไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม

 

แนวคิด Integrated Personalised Diabetes Management (iPDM) หรือ การบริหารจัดการโรคเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุคคล จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยผู้ป่วยควบคุมชีวิตประจำวันด้วยการจัดการแบบครบวงจร ตั้งแต่การวัดระดับน้ำตาล การจดบันทึกดิจิทัล ไปจนถึงการออกแบบแผนการรักษาเฉพาะตัว ซึ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และช่วยให้ตัดสินใจในการรักษาได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

สถิติที่น่าสนใจ: วิวัฒนาการของการจัดการโรคเบาหวาน


การจัดการโรคเบาหวานได้พัฒนาอย่างมากจากการทดสอบน้ำปัสสาวะ ไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง การตรวจวัดน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) และการตรวจวัดน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (rtCGM)
การใช้ rtCGM ร่วมกับระบบการจัดการเบาหวานแบบเฉพาะบุคคลแบบบูรณาการ (iPDM) ช่วยให้ การจัดการการรักษาครอบคลุมมากขึ้น เพิ่มพูนอำนาจการดูแลตนเองของผู้ป่วย และผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น
รูปแบบและข้อมูลแบบเรียลไทม์ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคได้ดีขึ้น และสามารถจัดการโรคได้เชิงรุก มีหลักฐานชี้ว่า iPDM และเครื่องมือดิจิทัลช่วยปรับปรุงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดน้ำตาลต่ำ และยกระดับคุณภาพการดูแล
ในประเทศรายได้น้อยและปานกลาง (LMICs) โซลูชันดิจิทัลช่วยลดช่องว่างด้านทรัพยากรและความรู้ ปรับปรุงการประสานงานการดูแล และเพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
การนำของเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด (Glucose Meters) มาใช้ถือเป็นก้าวสำคัญในการตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเองอย่างมีโครงสร้าง (Self-Monitoring of Blood Glucose – SMBG) ยังคงเป็นมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

 

 

การใช้ SMBG ร่วมกับแอปพลิเคชันสุขภาพบนมือถือ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบันทึกการใช้ยา การรับประทานอาหาร และการใช้อินซูลิน พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลให้กับผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้จากระยะไกล
การติดตามระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องเรียลไทม์ (Real-time Continuous Glucose Monitoring – rtCGM) ให้ข้อมูลแบบทันทีและมีประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำตาลดีกว่าการใช้ SMBG เพียงอย่างเดียว
การจัดการโรคเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุคคล (Integrated Personalised Diabetes Management – iPDM) เป็นแนวทางการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยผสานการสนับสนุนทางคลินิกเข้ากับ การตัดสินใจของผู้ป่วยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึางถือเป็นเครื่องมือขั้นสูงสามารถวิเคราะห์รูปแบบของระดับน้ำตาล ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจแนวโน้ม และจัดการโรค ได้อย่างเชิงรุก
เทคโนโลยีดิจิทัลที่สนับสนุน iPDM ช่วยยกระดับคุณภาพการดูแล ส่งเสริมความร่วมมือข้ามสาขาวิชาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ รายได้ปานกลางและต่ำ (LMICs)

ประโยชน์ที่พิสูจน์ได้ของ iPDM และเทคโนโลยีดิจิทัลด้านเบาหวาน
iPDM และ CGM ช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถเชื่อมโยงการสนับสนุนจากแพทย์เข้ากับการจัดการในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยมีเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงที่ปลอดภัยมากขึ้น ลดเวลาที่น้ำตาลต่ำ และลดโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำรุนแรง แต่ในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) การนำ iPDM มาใช้ยังถูกจำกัดจากทรัพยากรที่จำกัด บุคลากรผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอ และขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติในระบบสุขภาพจริง

หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข

ข่าวในหมวดกทม-สาธารณสุข