กทม-สาธารณสุข
สุดเจ๋ง !! นิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเด็กเกิดทักษะฉลาดรู้ทันสื่อ-รู้โทษอันตราย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

สุดเจ๋ง!! นิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า “เด็กปลอดพอด” ช่วยเด็กเกิดทักษะฉลาดรู้ทันสื่อ รู้โทษอันตราย แผนงานฯ การอ่านสสส. แถลงผลหนังสือนิทานทรงพลังเข้าถึงหัวใจเด็ก บ่มเพาะพฤติกรรมสุขภาพตั้งแต่เด็กเล็ก ติดตัวไปจนโต
เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2568 ที่โรงแรมแม่น้ำ รามาดา พลาซ่า กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านและ 23 องค์กร จัดงานแถลงข่าว “พลังเด็ก พลังเครือข่ายรู้ทันทอยพอด” เปิดผลสำรวจทักษะพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy : MIDL) และพฤติกรรมสุขภาพจากการใช้ชุดนิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า “เด็กปลอดพอด” พร้อมสานพลังภาคี ประกาศมาตรการ “หยุดบุหรี่ไฟฟ้า ภัยร้ายทำลายเด็กไทย“
อาจารย์วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร คณะที่ 8 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า “เป้าหมายพิเศษ ระยะ 10 ปี ( พ.ศ.2565-2574) สสส. ให้ความสำคัญในด้านการสร้างเสริมเสริมสุขภาพทุกด้านและการลดปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะประเด็นภัยที่คุกคามเด็ก แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เป็นหนึ่งในภาคีสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) ได้บูรณาการร่วมกับสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) เครือข่ายอ่านยกกำลังสุข เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ พื้นที่ปฏิบัติการเด็กปลอดพอดกว่า 233 พื้นที่ ใช้นิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า “เด็กปลอดพอด” เป็นเครื่องมือสร้างภูมิคุ้มกัน ให้รู้เท่าทันภัยและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งการติดตามผลของ We are happy ใน 16 พื้นที่ นำร่อง เด็ก 576 คน พบว่า เด็กกลุ่มวัยอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้น มีทักษะเท่าทันสื่อ โดยรู้จักแยกแยะระหว่างทอยพอดและของเล่นเข้าใจรู้ถึงภัยของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลกับตนเองและครอบครัว เด็กหลายคนร้องขอให้พ่อแม่เลิกบุหรี่ - บุหรี่ไฟฟ้า เพราะอยากให้พ่อแม่อยู่กับลูกไปนานๆ ฯลฯ โดยจากระดับ 3 คะแนน มีระดับค่าคะแนน ถึง 2.45, 2.83 และ 2.87 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมาก หากทุกๆ องค์กรนำไปเผยแพร่อย่างกว้างขวาง จะได้ร่วมกันปกป้องลูกหลานของเรา
นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. และกลุ่ม We are happy นำเสนอผลการศึกษาทักษะพื้นฐาน MIDL และพฤติกรรมสุขภาพ ชุดนิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า “เด็กปลอดพอด” โดยกล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยถึงอนุบาล เป็นประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไขและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ข้อมูลที่น่าตกใจชี้ว่า ผู้ปกครองจำนวนมาก ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้บุตรหลานตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว ยิ่งไปกว่านั้นคือ บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เด็กเสพติดได้ในเวลารวดเร็วเพียง 3-4 ครั้ง ซึ่งเร็วกว่าบุหรี่ทั่วไป นอกจากนี้ คุณสมบัติเฉพาะที่ไม่มีกลิ่นเหมือนบุหรี่ทั่วไป แต่กลับมีกลิ่นหอม อาจทำให้เด็กหลงเสพหลายครั้ง ไม่รู้ว่ากำลังทำลายปอด และอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้”
ทางแผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. และภาคีเครือข่ายฯ จึงได้พัฒนาหนังสือภาพสำหรับเด็กและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสาร ซึ่งได้รับการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญงานสร้างสรรค์เด็กระดับแถวหน้าของเมืองไทยเพื่อให้เด็กเล็กสามารถรับรู้เรื่องราวและเข้าใจเนื้อหาได้โดยมีผู้ใหญ่ คุณครู พ่อแม่ ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ทำให้เด็กเรียนรู้เข้าใจ และป้องกันภัยให้ตนเองได้ ที่สำคัญคือ มีข้อมูลสำหรับผู้ใหญ่ที่อยู่ด้านหลังของหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองหรือครูได้เข้าใจถึงที่มาและความสำคัญของหนังสือ รวมถึงวิธีที่จะช่วยปกป้องเด็ก
“นิทานชุดนี้ ได้ถูกนำไป ทดลองใช้ในพื้นที่ต้นแบบ 233 แห่ง และเก็บข้อมูลเชิงลึกใน 16 พื้นที่ โดยกลุ่ม We are happy พบว่า ชุดหนังสือสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความตระหนักรู้ โดยเฉพาะจากกิจกรรม "พี่สอนน้องอ่าน" ที่ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาอ่านนิทานให้รุ่นน้องอนุบาลฟังในโรงเรียน นอกจากน้องเล็กจะรู้จักทอยพอดแล้ว นักเรียนรุ่นพี่บางคนถึงกับตกใจและหวาดกลัวมาก เมื่อได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ ผู้ปกครองและครูยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เด็กอาจมาสารภาพการใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ เราคาดว่า หนังสือนิทานนี้จะช่วยให้ ครอบครัวที่ไม่รู้จักอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าหันมาระมัดระวัง ตระหนักถึงความเสี่ยง หยุดพฤติกรรมดังกล่าว และดูแลสุขภาพปอดและร่างกายมากขึ้น นี่เป็นการตอกย้ำถึง "พลังของหนังสือ พลังของเด็ก" ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นผู้รับสารเท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และป้องกันภัยให้ตนเองได้อีกด้วย”
นางสุดใจ กล่าวต่อว่า “หนังสือนิทานชุด "เด็กปลอดพอด" ได้ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้กับเด็ก โดยมีพื้นฐานมาจากความสำเร็จของหนังสือชุดที่เคยจัดทำมาแล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีกับทั้งเด็กทั่วไปและเด็กออทิสติก งานวิจัยสถาบันราชานุกูล ยังพบว่า หนังสือสำหรับเด็กออทิสติกสามารถเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กได้เกือบเทียบเท่าเด็กปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์ มีการออกแบบนิทาน “อานีสเป็นหัด” เผยแพร่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็สามารถหยุดภัยคุกคาม การเสียชีวิตของเด็กได้เช่นกัน จึงเป็นที่มาของการผลิตหนังสือชุดนี้ นอกจากนี้เราได้เชิญ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ สพฐ. ซึ่งกำกับดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนทั่วประเทศ สป.สช., สช. ฯลฯ มาร่วมและพิจารณานำหนังสือนิทานเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ถือเป็นกลยุทธ์เชิงรุก ที่สำคัญในการขยายผลงานที่มีคุณค่าออกไปในวงกว้าง แม้ว่าหน่วยงานจะมีงบประมาณที่จำกัดก็ตาม”
นางสุดใจ กล่าวเน้นย้ำความสำคัญเพิ่มเติมว่า "นิทานเล่มเล็กๆ แต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างยิ่งใหญ่ หากผู้ใหญ่มีความเข้าใจจะสามารถส่งมอบเรื่องราวเหล่านี้ไปถึงมือและหัวใจของเด็กได้ การกระทำเช่นนี้จะช่วย สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพบ่มเพาะได้ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย (0-8 ปี) สิ่งนี้จะคงอยู่ ติดตัวไปจนโต ทั้งนี้ ในส่วนของการเข้าถึงหนังสือ ทาง SOOK Publishing ได้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายในราคาพิเศษ และแผนงานฯ การอ่าน สสส. ยังให้บริการดาวน์โหลดฟรี ผ่านช่องทางออนไลน์ www.happyreading.in.th และเว็บไซต์ธนาคารหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มพื้นที่ห่างไกลหรือเปราะบาง
ขณะที่ นางสาวสายใจ คงทน จากกลุ่ม We are happy ร่วมศึกษาผลสำรวจฯ กล่าวว่า “ผลการศึกษาเผยว่า “เด็กในระดับเตรียมอนุบาลก็สามารถตัดสินใจและแยกแยะได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าแตกต่างจากของเล่นตุ๊กตาธรรมดาอย่างไร โดย เด็กอนุบาล (4-5 ขวบ) สามารถสื่อสารและเล่าเรื่องราวจากหนังสือนิทานได้ ส่วนเด็กประถมศึกษาตอนต้น มีทักษะการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น สำหรับหนังสือนิทานยอดนิยมจากหนังสือทั้ง 7 เล่ม พบว่าบางเล่มเป็นที่นิยมเป็นพิเศษ เช่น กลุ่มเด็กผู้ชาย ชื่นชอบนิทานที่มีลักษณะเป็นฮีโร่ มีการ์ตูน และกิจกรรมให้ทำ เช่น เรื่อง "ขบวนการปราบทอยพอด" และ"มาร์สแมนกับยายเช้า" ซึ่งมีตัวละครที่เด็กคุ้นเคยอยู่แล้ว การมีกิจกรรมช่วยให้เด็กจดจำเนื้อหาได้ดี ส่วนนิทานรองลงมาที่ได้รับความนิยม คือ "อีเล้งเค้งโค้ง พับปลอดพอด" เด็กคุ้นเคยกับตัวละคร และจดจำวลีเด็ดติดปากว่า "อีเล้งเค้งโค้ง ไม่เอาทอยพอด" ซึ่งเด็กหลายคนจะพูดตามว่า "หนูก็ไม่เอาทอยพอดเหมือนกัน"
นางสาวสายใจ กล่าวต่อว่า “นิทานเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความรู้ความเข้าใจในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังส่งผลในวงกว้างสู่ครอบครัวและชุมชน เด็กๆ ได้กลายเป็น "นักสื่อสารสุขภาวะตัวน้อย" พวกเขานำเรื่องราวจากนิทานไปเล่าให้พ่อแม่ผู้ปกครองฟังที่บ้าน รวมถึงนำกิจกรรม เช่น การวาดรูประบายสี "บ้านปลอดบุหรี่" กลับไปทำด้วย” มีคุณครูสะท้อนว่า “ผู้ปกครองบมาบอกว่า เด็กๆ ที่บ้านพูดว่า “ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” และแสดงความห่วงใยต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง เช่น การเตือนว่า "อย่าสูบนะ มันอันตรายนะ" นอกจากนี้ ครูยังให้พ่อแม่ผู้ปกครองยืมหนังสือนิทานกลับไปเล่าให้ลูกฟังที่บ้านด้วย แสดงให้เห็นว่า เด็กอยากฟังเรื่องราวเหล่านี้”
ดังนั้น การศึกษานี้ ยืนยันได้ว่ากระบวนการเรียนรู้ของเด็กสามารถเกิดขึ้นและเรียนรู้เท่าทันได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาในหนังสือ ผ่านผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคุณครูหรือผู้ปกครอง ที่นำไปอ่านให้เด็กฟัง นิทาน จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ เข้าใจ และแยกแยะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข
Top 5 ข่าวกทม-สาธารณสุข ![]()
- รัฐหวังลดใช้งบประมาณดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ขับเคลื่อนการดูแลเบาหวานในประเทศไทย ด้วยดิจิทัลโซลูชัน 17 ก.ค. 2568
- “RANGNAM LOCALICIOUS ตามหาความอร่อยในย่านรางน้ำ” 17 ก.ค. 2568
- “สมศักดิ์” อัพเดทยอดฉีดวัคซีน HPV - ไข้หวัดใหญ่ เกิน 65 เปอร์เซ็นต์จากเป้าหมาย เชิญชวนให้เข้ารับวัคซีน เพื่อลดเจ็บป่วย เสียชีวิต 17 ก.ค. 2568
- สุดเจ๋ง !! นิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเด็กเกิดทักษะฉลาดรู้ทันสื่อ-รู้โทษอันตราย 17 ก.ค. 2568
- รพ.พญาไท 2 ฉลอง 38 ปี พลิกโฉมสู่ Well-Life Ecosystem 17 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดกทม-สาธารณสุข ![]()
๒๔ ปีแห่งพระกรุณาธิคุณ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรงปลุกชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง 17:49 น.
- ความสำเร็จครั้งสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ไทย ธรรมชาติ จัดการ ธรรมชาติมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วย “มังคุดเสริมฤทธิ์” 17:48 น.
- “สมศักดิ์” สั่งการเจ้าหน้าที่ สธ. ดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย “อุตรดิตถ์” และพื้นที่อื่น เตรียมเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ 12:52 น.
- ดูแลหัวใจของคุณ.. ก่อนเกิดภาวะฉุกเฉิน ด้วยการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ 09:40 น.
- “สมศักดิ์” เดินหน้าพัฒนาระบบดูแลสุขภาพประชาชน เผย เตรียมคิกออฟ “ฝากครรภ์ดิจิทัล” ใน “วันแม่แห่งชาติ” ปีนี้ 11:23 น.