วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 08:09 น.

การศึกษา

คณะจิตอาสา 904 ศึกษาโมเดลโคกหนองนา ศรีสะเกษ ต่อยอดกสิกรรมธรรมชาติ

วันอาทิตย์ ที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 19.07 น.

เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ อ.ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ ต้อนรับคณะจิตอาสา 904 (ส่วนกลาง) ศึกษาดูงานโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568  พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส)  เจ้าอาวาสวัดใหม่ กรุงเทพมหานคร  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ ร่วมต้อนรับ น.ส.สุกฤตา สิริภัคดี หัวหน้าคณะจิตอาสา 904 (ส่วนกลาง) จำนวน 10 ท่าน โดยมี น.ส.ชื่นกมล มีศิลป์ เป็นผู้ประสานงาน เข้าพื้นที่เพือศึกษาดูงาน และรับฟังการบรรยายสรุป


 
สาระสำคัญของประเด็นการศึกษาดูงานประกอบด้วยวัตถุประสงค์ และแรงจูงใจในการพัฒนาโครงการที่สอดรับกับโครงการโคกหนองแห่งน้ำใจและความหวัง โดยมีรากฐานมาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้วสืบสานรักษาต่อยอดมาถึงอารยเกษตรของในหลวงรัชกาลที่ 10 
 
นอกจากนี้ เครือข่ายในพื้นที่นำโดยร้อยตำรวจตรีวิชัย สุริยุทธ ได้ผนึกกำลังกันนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาโครงการพืชสวนนาป่า คันนาทองคำ และโครงการอีสานบ้านแตก จนกลายเป็นแรงบันดาลให้เกิดกลุ่มเครือข่ายกสิกรรมชาติในพื้นที่กว่า 30 แห่ง จนพลิกฟื้นให้พื้นอำเภอปรางค์กู่ที่เคยเป็นพื้นที่แห่งมีความชุ่มชื้น มีพืชพันธุ์ และป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


 
พร้อมกันนี้ ได้ขยายประเด็นในการนำคณาจารย์ และนิสิตในหลักสูตรสตินวัตกรรม และสันติศึกษา มจร มาพัฒนางานวิจัยแบบ Action Research หรืองานวิจัยเชิงปฏืบัติการในพื้นที่ จนทำกลายเป็นห้องปฏิบัติการสันติภาพ หรือ Peace Lab ให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ มาศึกษาดูงาน และนำไปขยายผลต่อยอดเป็นกสิกรรมธรรมชาติ และโคกหนองนาที่ตอบโจทย์ชุมชน


 
ช่วงท้ายการศึกษาดูงานได้บรรยายธรรมสรุปในหัวข้อ ผู้เป็นจิตอาสาด้วยจิตโพธิสัตว์  เพื่อย้ำวิถีการทำงานพัฒนาดิน น้ำ ลม ป่า และอาหารบนอุดมการณ์แห่งวิถีโพธิสัตว์ ทั้ง 4 ประเด็น คือ สุทธิ ปัญญา เมตตา และขันติ เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อันเป็นการส่งมอบลมหายใจที่บริสุทธิ์แก่โลกใบนึ้ตลอดไป
 

หน้าแรก » การศึกษา