วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 04:59 น.

การเมือง

กมธ.เทคโนโลยีสารสนเทศฯวุฒิสภาศึกษา"Data Center"เมืองอัจฉริยะอมตะซิตี้

วันอังคาร ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563, 21.41 น.

วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2563 เวลา 11.30 - 17.30 น. คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา นำโดย พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานกรรมาธิการ ได้เดินทางไปรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบบ Data Center ของนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  โดยมีผู้ร่วมงาน ดังนี้ นายกำจร วรวงศากุล Executive Advisor ดร. วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ Senior Vice President and Acting Chief Engineering Officer และนายพงศกร ลิมปกาญจน์เวช ผจก.อาวุโสแผนกพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

โดยรับฟังทั้งแผนการดำเนินงานภาพรวมของการดำเนินการ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการระบบ Data Center และประวัติโดยย่อของ Amata Smart City ซึ่ง Amata Smart City เป็นการพลิกโฉมรูปแบบพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี จากเดิมที่เน้นสายการผลิต  สู่การเป็นเมืองสมบูรณ์แบบที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  Low  Carbon  City  รองรับอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม  ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่

ในโครงการประกอบไปด้วย สำนักงาน อาคารพาณิชยกรรม ห้างสรรพสินค้า สถานที่จัดประชุมธุรกิจ (MICE) พื้นที่แสดงงานศิลปะ แหล่งบันเทิงและนันทนาการ โดยจะสร้างเป็นโยโกฮามาแห่งที่ 2 ภายใต้ชื่อโครงการ “Sabai District” บนพื้นที่ 100 ไร่ บริเวณด้านหน้าของนิคม และตามรูปแบบของการเป็น smart city  นอกจากความร่วมมือกับเมืองโยโกฮามาแล้ว ทางอมตะยังร่วมกับทางเมืองหนานจิง ประเทศจีน พัฒนาพื้นที่เฟสใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ขนาดประมาณ 10 ตร.กม. เพิ่ม เพื่อตั้งโครงการอมตะ-หนานจิง สมาร์ทซิตี้ โดยจะแบ่งเป็นส่วนของการตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงชิ้นส่วนยานยนต์แห่งอนาคต ในรูปแบบอาคารสูง เพื่อรองรับนักลงทุนจีน

สำหรับ Amata Smart City ได้ดำเนินงานมาระยะหนึ่ง และได้เริ่มอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (smart environment) แล้วด้วยการสร้างถนนพลาสติกรีไซเคิลเส้นแรกในนิคมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และกำลังจะเริ่มพลังงานอัจฉริยะ (smart energy) ในส่วนของ Data Center ได้รับฟังข้อมูลจากบริษัท NTT Communications โดยปัจจุบันทางบริษัทได้เปิดตัว Nexcenter หรือ Thailand Bangkok 2 Data Center ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 3,800 ตารางเมตร ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รองรับตู้แร็คได้มากถึง 1,400 ตู้ โดยลงทุนไปกว่า 32 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1,120 ล้านบาท โดย Data Center แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ได้รับการรองรับจาก BOI ทำให้ทาง NTT พร้อมที่จะให้บริการ Nexcenter ซึ่งเป็นบริการ Next-generation Data Center ให้แก่ลูกค้าทั่วโลก และมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

1.ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมต่ำ โดยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4 เมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครออกไปถึง 70 กิโลเมตร 2. มีความทนทานระดับ 99.9999% ทั้งอุณภูมิและความชื้น  3. มีพื้นที่สำนักงานภายใน พร้อมให้บริการ Business Continuity Plan (BCP) ได้ทันที

หลังจากนั้นคณะกรรมาธิการได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ศูนย์อมตะ Data Center เพื่อศึกษาระบบ Data Centerในพื้นที่จริง และพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นผู้ใช้บริการ ณ ศูนย์อมตะ Data Center ผลจากที่กรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้จากการเดินทางไปศึกษาดูงานในครั้งนี้คือทำให้ได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง สภาพปัญหาการปฏิบัติงานและแนวทางการแก้ไข ของ ระบบ Data Center ทั้งนี้เพื่อการประสานความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจซึ่งกันและกันตลอดจนเพิ่มพูนข้อมูลและองค์ความรู้เชิงลึกให้กับคณะกรรมาธิการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมาธิการต่อไป

หน้าแรก » การเมือง