วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 20:49 น.

ภูมิภาค

วันวาเลนไทน์ อบต.สังขะ จดทะเบียนสมรส 14 คู่รัก กลางทุ่งทานตะวัน

วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 14.56 น.
วันที่ 14 ก.พ.63 ที่สวนสาธารณะองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ บ้านแบกจาน ต.สังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ นายเรืองยศ ลิ้มนุกูลเจริญ นายอำเภอสังขะ เป็นประธานการจัดงานเทศกาลวันแห่งความรัก “วันวาเลนไทน์”โดยมีนายณัฐวัฒน์ สมบูรณ์เทอดธนา นายก อบต.สังขะ อ.สังขะ ได้จัดงานจดทะเบียนสมรสทุ่งทานตะวัน ท่ามกลางธรรมชาติ  หรือ Unsee@sangkha โดยมีคู่บ่าวสาว เข้าร่วมในพิธีจดทะเบียนสมรสทุ่งทานตะวัน จำนวน 14 คู่ ซึ่งทุกคู่บ่าว ได้จดทะเบียนสมรสที่ทุ่งทานตะวันแหล่งเที่ยวแห่งใหม่ ที่มีชื่อเสียงของอำเภอสังขะ โดยคู่บ่าวสาว ทั้ง 14 คู่ ได้รับทะเบียนสมรส จากนายเรวัฒน์ เครือบุตรดีมหาโชค ปลัดอาวุโสอำเภอสังขะ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ได้จัดงานจดทะเบียนสมรสทุ่งทานตะวัน เพื่อให้คู่บ่าวตระหนักถึงความสำคัญของความรัก สถาบันครอบครัว ความรักที่มีในครอบครัว ความรักที่มีกับญาติพี่น้องและความรักต่อสังคม
 
หลังจากคู่บ่าวสาว ได้รับใบทะเบียนสมรส แล้ว ยังได้รับของที่ละลึกจากองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ทุกคู่ จากนั้น ก็ได้นำเอาต้นกุหลาบที่ทาง อบต.สังขะ ได้จัดเตรียมไว้ให้ นำไปปลูกเพื่อยืนยันถึงความรักแท้ ที่บริเวณพื้นที่ปลูกผักปลอดสารเคมี ปลูกผักอินทรีย์ คู่บ่าวสาวได้เดินชมสวนผัก โดยมีกระดาษตัดเป็นรูปหัวใจสีแดง แขวนไว้เต็มพื้นที่ภายในแปลงผัก จากนั้นคู่บ้านสาว ทั้ง 14 คู่ ได้รับน้ำสังข์ อวยพร จาก นายเรืองยศ ลิ้มนุกูลเจริญ นายอำเภอสังขะ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่คู่บ่าวสาว ที่จดทะเบียนสมรสในวันวาเลนไทน์ ให้มีความรัก ความเจริญรุ่งเรือง ครองรักครองเรือนชีวิตคู่ยืนยาวตลอดไป
 
สำหรับทุ่งทานตะวัน บ้านแบกจาน หมู่ที่ 6 ถนนสายสุรินทร์ – สังขะ  ต.สังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เป็นจุดเช็คอิน แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกแห่งของจังหวัดสุรินทร์  ซึ่งทาง อบต.สังขะได้ปลูกไว้  ในพื้นที่กว่าสามไร่ ตลอด สองเอนที่ผ่านมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสังขะ แม้ว่าช่วงนี้ ดอกทานตะวันจะเริ่มเฉาลงไปตามอายุแล้ว แก็ยังมีธนาคารผักปลอดสารพิษ ซึ่งมีแปลงผักปลอดสารพิษอยู่จำนวนนับร้อยไร่ ที่ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ในการเพาะปลูก ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ  ได้จัดสรรให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ  ได้เข้ามาทำการปลูกผัดปลอดสารพิษกัน   ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง1 ปี 2559 ใน “โครงการปลูกผักเกษตรอินทรีย์” ด้วยเทคโนโลยีแสงอาทิตย์   ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 1,099,800 บาท ในการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จากสำนักงานพลังงานจังหวัดสุรินทร์  ซึ่งภายหลังจากที่ได้ผลผลิต ชาวบ้านก็ได้นำผลผลิตออกมาวางจำหน่ายในราคาถูก อยู่ที่ริมถนนหน้าโครงการให้กับผู้ที่สัญจรผ่านเส้นทางนี้ ได้จับจ่ายซื้อหากัน โดยจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง  ซึ่งในบางวันก็ได้มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงสวนเพื่อไปจำหน่ายต่ออีกด้วย

หน้าแรก » ภูมิภาค