วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:55 น.

ภูมิภาค

ตั้งเป้า 1 ล้านไร่ไถกลบตอซังข้าวเปลี่ยนฟางเป็นปุ๋ยกว่า 2 หมื่นตัน

วันพุธ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565, 19.25 น.

เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ เดินหน้ารณรงค์ต่อเนื่อง 17 ปี ให้เกษตรกรไถกลบตอซังข้าว แทนการเผาทิ้ง ได้ประโยชน์ 3 ต่อ ได้ปุ๋ยเพิ่ม ,ได้ดินดีขึ้น และได้อากาศบริสุทธิ์ เผยถ้าไถกลบตอซังข้าว 1 ไร่ จะได้มูลค่าปุ๋ยไร่ละ 600 บาท 1 ล้านไร่จะได้ปุ๋ยถึง 2.5 หมื่นตัน คิดเป็นเงินกว่า 600 ล้านบาท ต่อปี

 

 

วันที่ 26 ม.ค.65 ที่บ้านปรือ ต.บ้านปรือ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ นางดำรง ปลั่งกลาง เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรนาแปลงใหญ่ของ อ.กระสัง


ได้ร่วมกันรณรงค์ไถกลบตอซังข้าวเป็นปีที่ 18 หลังจากเริ่มรณรงค์มาตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยปีนี้ตั้งเป้าจะให้เกษตรกรไถกลบตอซังข้าวให้ได้ 1 ล้านไร่ จากพื้นที่ทำนาข้าวประมาณ 3 ล้านไร่

 


การรณงค์ดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนัก ลดการเผาตอซังข้าว เพราะสร้างมลพิษทางอากาศ ทำให้หน้าดินเสียหาย และยังสูญเสียฟางข้าวที่สามารถแปรมาเป็นปุ๋ยทางธรรมชาติอีกด้วย


นางดำรง ปลั่งกลาง เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการส่งเสริมการไถกลบตอซังข้าวมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อต้องการให้เกษตรกรรู้คุณค่าของตอซังข้าว ที่สามารถกลายเป็นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี วิธีการไม่ยุ่งยากซับซ้อน หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ให้ทำการหว่านปุ๋ยพืชสด แล้วไถกลบ เป็นเสร็จพิธี

 


จากการวิเคราะห์แล้ว ตอซังข้าวที่เหลืออยู่ในที่นา จำนวน 1 ไร่ สำหรับข้าวหอมมะลิ จะมีน้ำหนักฟางข้าวประมาณ 800 กก.ในจำนวนนี้เกษตรกรนำไปอัดฟางก้อนได้ประมาณ 400 กก.ที่เหลือเป็นตอซังข้าวอีกประมาณ 400 กก.ถ้าไถกลบตอซังข้าวจำนวนนี้จะได้ประโยชน์ดังนี้

              1.ไนโตรเจน    0.59 % หรือเท่ากับ   2.36 กิโลกรัม
              2.ฟอสฟอรัส    0.14%  หรือเท่ากับ   0.65 กิโลกรัม
              3.โปแตสเซียม 1.56 % หรือประมาณ 6.24 กิโลกรัม
              4.แคลเซียม     0.38%  หรือประมาณ 1.52 กิโลกรัม
              5.แมคนีเซียม   0.23%   หรือประมาณ 0.92 กิโลกรัม
              6.ซัลเฟอร์       0.06%    หรือประมาณ 0.32 กิโลกรัม
              7.ซิลิกา          77.0%    หรือประมาณ 308 กิโลกรัม        

 


เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวด้วยว่า ทั้งหมดเป็นแร่ธาตุสำคัญ โดยเฉพาะซิลิกา มีความจำเป็นในการเพาะปลูกข้าวเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง ต้านทานต่อการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว และช่วยให้เมล็ดข้าวมีความแข็งแกร่ง ทำให้ข้าวเปลือกมีคุณภาพดี มีเปอร์เซ็นต์กรัมข้าวสูงจำหน่ายก็จะได้ราคาสูงตามมา

 

 


สารที่ได้จากตอซังข้าวจากการไถกลบ 1 ไร่ หากเอาไปเปรียบเทียบมูลค่ากับปุ๋ยเคมี จะได้ปุ๋ยเคมี 25 กก.คิดเป็นเงินประมาณ 600 บาทต่อ 1 ไร่ หากเกษตรกรไถกลบตอซังข้าวครบ 1 ล้านไร่ตามเป้าที่ตั้งไว้ เกษตรกรจะประหยัดเงินค่าปุ๋ยไปกว่า 600 ล้านบาทต่อไปเลยทีเดียว ..นายดำรง...กล่าว

 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค