ภูมิภาค
สาวงามผู้ไทเรณูร่วมรำบวงสรวงถวายองค์พญานาค โชว์เอกลักษณ์ประจำชนเผ่าส่งเสริม-กระตุ้นเศรษฐกิจ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เข้าสู่วันที่ห้าของงานสมโภชพญาศรีสัตตนาคราช ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม รวม 7 วัน 7 คืนยังคงคึกคักไปด้วยประชาชนทั้งชาวไทย ชาวลาว และนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ ที่ยังคงเดินทางมาทำบุญกราบไหว้ขอพร องค์นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล ริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร เขตเทศบาลเมืองนครพนม ถือเป็นที่ประดิษฐานพญานาคศักดิ์สิทธิ์ โดยตั้งตระหง่านมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อเกี่ยวต่อเรื่องพญานาคของชาวไทยและชาวลาว ที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อีกทั้งยังต้องการยกระดับ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าจังหวัดชายแดน จึงได้มีการจัดงานสมโภชและพิธีบวงสรวงขึ้นทุกวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
ในทุกวันระหว่างจัดงาน จะมีการจัดรำบวงสรวงของนางรำจาก 9 ชนเผ่าหรือ 9 ชาติพันธุ์ ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารนานนับร้อยปี ซึ่งแต่ละชนเผ่าต่างมีประเพณี วัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเชื่อความศรัทธาต่อพญานาคผู้ปกปักษ์รักษาในลุ่มแม่น้ำโขง ได้พร้อมใจกันแต่งชุดประจำเผ่า โชว์ความโดดเด่นของวัฒนธรรมประเพณีตลอดทั้ง 7 วัน โดยผลัดเปลี่ยนมารำบวงสรวงตามพระธาตุประจำวันเกิด ที่ประดิษฐานในพื้นที่ชนเผ่า
ซึ่งวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นวันจันทร์ พระธาตุประจำวันเกิดคือ พระธาตุเรณูนคร อ.เรณูนคร เป็นอำเภอที่มีชนเผ่าผู้ไทหรือผู้ไทยอยู่หนาแน่น ถือเป็น 1 ใน 9 ชนเผ่า ที่ขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่น มีชุดพื้นเมือง รวมถึงภาษาเป็นของตัวเอง มีประวัติบันทึกไว้ว่ามีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และอาณาจักรล้านช้าง มีการเคลื่อนย้ายอยพยพข้ามแม่น้ำโขง ปักหลักอยู่ในพื้นที่ อ.เรณูนครเป็นส่วนใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ชนเผ่าภูไทได้รับคำร่ำลือว่าเป็นชาติพันธุ์มีสาวสวยประทับใจแก่ผู้พบเห็น เพราะสาวผู้ไทยจะมีผิวพรรณงาม อีกทั้งมีการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีมาจากอดีตถึงปัจจุบัน จึงกลายเป็นเสน่ห์ที่ถูกนำไปอยู่ในบทเพลงดังคือหนาวลมที่เรณู และเป็นอำเภอท่องเที่ยวสำคัญของ จ.นครพนม ในเวลาต่อมา
โดยในงานบวงสรวงองค์พญาศรีสัตตนาคราช กลุ่มชาติพันธุ์ภูไทนับเป็น 1 ใน 9 ชนเผ่า ที่ได้ร่วมรำบวงสรวง และโชว์การแสดงฟ้อนรำผู้ไทย ถือเป็นการรำที่มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษ รวมถึงสอดแทรกวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าอยู่ในการละเล่น โดยการร่ายรำจะจับคู่หนุ่มสาว คล้ายการรำเกี้ยวสาว โดยฝ่ายชายจะมีท่วงท่าลีลาที่เลียนแบบมาจากลีลาท่ารำมวย อาทิ ท่าเสือลากหาง จระเข้ฟาดหาง ถวายพระยาแถน เป็นต้น โดยมีกฎสำคัญระหว่างร่ายรำว่า ห้ามถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงเด็ดขาด มิเช่นนั้นฝ่ายชายจะต้องถูกปรับเรียกว่าเสียผี โดยท่ารำดังกล่าวนี้มีเฉพาะในกลุ่มชนผ่าผู้ไทยเท่านั้น ถือเป็นหนึ่งเดียวของ จ.นครพนม นับเป็นการสร้างสีสัน ความสนุกสนาน รวมถึงโชว์ถึงความอ่อนช้อยสวยงามของสาวงามชนเผ่าผู้ไท ที่สร้างความประทับใจให้กับประชาชน นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- ราชบุรีวุ่น! พบ “บัตรเขย่ง” ส่อเลือกตั้งใหม่ 2 เทศบาล 20 พ.ค. 2568
- หวิดสยอง 18 ล้อพุ่งชนเกาะกลางถนนหวิดคว่ำ เหตุถนนมืดไร้แสงไฟ 20 พ.ค. 2568
- ผู้สมัครนายก ทต.ธัญบุรี ร้อง กกต. อดีตนายกเบี้ยวชู 4 นิ้วหาเสียงในหน่วยเลือกตั้ง ชี้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 20 พ.ค. 2568
- โคราชจุดไฟฝันวอลเลย์เยาวชน! ดึงนักกีฬาสอนทักษะ สร้างแรงบันดาลใจ 20 พ.ค. 2568
- โคราชไข้เลือดออกพุ่ง 184 ราย สคร.9 เตือนภัยหน้าฝน 20 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
พะเยา จัดยิ่งใหญ่! เทศกาลงานลิ้นจี่ของดีอำเภอแม่ใจ ปี 68 21:26 น.
- ชาวกาฬสินธุ์เฮ! รมช.คมนาคมลงพื้นที่เล็งพัฒนาเส้นทาง 3 อำเภอ มุ่งสู่เมืองแหล่งท่องเที่ยว 20:59 น.
- หนองคาย ขนส่งเคาะประมูลเลขสวยหมวด กท 20:33 น.
- แฉทำกันเป็นขบวนการใหญ่ นายทุน ผู้มีอิทธิพล จนท.รัฐ เก็บปาล์มน้ำมันในป่าสงวนพื้นที่หมดสัมปทานกว่า 2 หมื่นไร่ 20:26 น.
- อาถรรพ์เชือกแดง! ดช.วัย 11 ปี แกล้งคล้องเล่นสุดท้ายตายจริงคาบ้าน 20:06 น.