วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 11:47 น.

ภูมิภาค

ชาวละแมน้ำตาตก นายทุนจากหัวหินเอารถแม็คโครกวาดรื้อถอนต้นโกงกาง ผืนป่าสุดท้ายปากน้ำละแมทิ้ง

วันจันทร์ ที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 20.49 น.

วันที่ 7 ส.ค.66 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวประมงที่ต้องอาศัยการเดินเรือบริเวณปากน้ำละแม ว่า  มีนายทุน ได้เข้ามาในพื้นที่ปากน้ำละแม ซึ่งเป็นผืนป่โกงกางผืนเดียวและเป็นผืนสุดท้ายของปากน้ำละแมที่ชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ ใช้อิทธิพลนำรถแบคโฮไถปรับพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณท้องที่ ม. 3 บ้านหาดสูง ต.ละแม จ.ชุมพร ซึ่งเป็นป่าผืนสุดท้าย ของบ้านหาดสูง โดยมีการปรับไถพื้นที่ อย่างไม่เกรงกลัวหรือละอายสายตาของชาวบ้านชุมชนหรือชาวประมงที่ต้องนำเรือเขาออกบริเวณดังกล่าวที่เคยมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ไว้ พืชพันธุ์ไม้ป่าชายเลนชนิดต่างๆ เช่นโกงกางใบเล็ก แสม โปรง ตาตุ่ม ถูกโค่นล้ม จำนวนมากท่ามกลาง หยดน้ำตาของชาวบ้าน

จากการสืบทราบพบว่ามีนายทุน อ้างว่า มาจากอำเภอหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ และที่ดินบริเวณดังกล่าวตนได้รับมอบหน้าที่ให้มาดำเนินการ อย่างไรก็ดีชาวละแม ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศ ย้อนหลังไปเมื่อหลายสิบปีก่อนหลายๆ ปี เพื่อดูความแตกต่าง และ ภาพถ่ายทางอากาศในปัจจุบัน ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปมากน้อย เพียงใด เพราะปัจจุบันป่าโกงกางลดน้อยหายไปทุกที ทำให้แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนเริ่มหมดไป ทรัพยากรใน ทะเลสัตว์น้ำต่างๆเริ่มมีจำนวนลดลง เนื่องจากแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำถูกทำลาย

จากข้อมูลของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ป่าชายเลนนั้น ประกอบด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น จึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ และรอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ป่าโกงกาง ในระบบนิเวศ  ป่าชายเลนประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ประกอบไปด้วย พวกธาตุอาหาร เกลือแร่ น้ำ พวกซาก-พืช ซากสัตว์ ยังรวมไปถึงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ แสง ฝน ความชื้น เป็นต้น และ สิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ผู้ผลิตในที่นี้หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ สามารถสังเคราะห์แสงเองได้ ได้แก่ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ในป่าชายเลน รวมไปถึง ไดอะตอม แพลงก์ตอนพืช และสาหร่าย ผู้บริโภค คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่น ได้แก่ พวกสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอนสัตว์ ปู ไส้เดือนทะเล และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ เช่น ปลา กุ้ง ปู รวมไปถึง นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งบางชนิดเป็นพวกกินอินทรีย์สารบางชนิดเป็นพวกกินพืช บางชนิดเป็นพวกกินสัตว์และบางชนิดเป็นพวกที่กินทั้งพืชและสัตว์ ส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลนอีกอย่าง คือ ผู้ย่อยสลาย ซึ่งหมายถึง พวกจุลินทรีย์ทั้งหลายที่ช่วยในการทำลายหรือย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ให้เน่าเปื่อย ผุพัง จน ในที่สุดจะสลายตัวเป็นธาตุอาหารและปุ๋ย ซึ่งสะสมเป็นแหล่งอาหารในดินเพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ผลิตต่อไป ซึ่งได้แก่ รา แบคทีเรีย ในป่าชายเลนผู้ย่อยสลายยังรวมถึง ปูและหอยบางชนิดด้วย

ในระบบนิเวศป่าชายเลน สิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างซับซ้อน ทั้งในแง่การหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน แต่สามารถอธิบายง่ายๆ ได้ว่าเมื่อผู้ผลิต คือ พันธุ์พืช เจริญเติบโตจากสังเคราะห์แสง ส่วนของต้นไม้ โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้และเศษไม้ จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน และถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อย สลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุอาหารของผู้บริโภคพวกกินอินทรีย์สาร พวกกินอินทรีย์สารนี้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกลายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำกร่อยและน้ำทะเล ทั้งสัตว์น้ำเล็กๆ และสัตว์เล็กๆ เหล่านี้จะเจริญเติบโตขึ้นกลายเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลา ขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ หรือบางส่วนก็จะตายและผุพังสลายตัวเป็นธาตุอาหารสะสมอยู่ในป่านั่นเอง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้จะถูกปรับให้เป็นไปอย่างสมดุลภายในระบบ ถ้าไม่ถูกรบกวนจากภายนอก
 

หน้าแรก » ภูมิภาค